วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 14

จาก ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของระบบเครือข่ายสื่อสารไร้สายทำให้มีการคาดหมาย ไว้ว่า ระบบเครือข่ายไร้สายในยุคที่ 4 จะเข้ามาในอีกไม่เกิน 8-10 ปี ซึ่งจะเป็นวิวัฒนาการที่แตกต่างไปจากการพัฒนาในยุค 2.5G และ 3G โดยจะเน้นไปที่การรวมเอาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าด้วยกัน อย่างลงตัวไม่ว่าจะเป็น GSM แลนไร้สาย บลูทูธ หรือแม้กระทั่ง RFID
ถ้า จะเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีในยุค 3G ที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนามาตรฐานใหม่และวิวัฒนาการด้านฮาร์ดแวร์ของเครื่อง โทรศัพท์มือถือแล้วนั้นเทคโนโลยีในยุค 4G จะเน้นทางด้านการใช้งานและรูปแบบบริการส่วนบุคคลรวมถึงความเสถียรและคุณภาพ ในการให้บริการเป็นหลักแต่อย่างไรก็ตามเส้นทางในการก้าวไปสู่ยุค 4G นั้นก็ยังมีความท้าทายที่รออยู่หลายด้านอันจะได้กล่าวถึงต่อไป

ใน ช่วงสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความสำเร็จของระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 2G ที่ได้ขยายตัวไปทั่วทุกมุมโลกอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นเหตุให้มีการพัฒนา เทคโนโลยีสำหรับยุค 3G ตามมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยตัวอย่างเทคโนโลยียุค 2G ที่เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายนั้นได้แก่ GSM, IS-95 และ cdmaOne ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการสื่อสารด้านเสียงและการส่ง ข้อมูลแบบ low-bit-rate ส่วนระบบในยุค 3G นั้นได้ถูกออกแบบมาให้รองรับบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงสำหรับการรับ -ส่งข้อมูลและวิดีโอ

และในช่วงกลางระหว่างการเปลี่ยนแปลงจากยุค 2G ไปเป็นยุค 3G นั้นก็ได้มีวิวัฒนาการด้านระบบสื่อสารไร้สายมากมายหรือที่เรามักจะเรียกกัน ว่าเป็นเทคโนโลยีในยุค 2.5G ซึ่งมีความสามารถในการรองรับการสื่อสารและบริการด้านข้อมูลมากขึ้น เช่น GPRS, IMT-2000, บูลทูธ, แลนไร้สาย IEEE 802.11, ไฮเปอร์แลน และ ไวแม็ก (WIMAX) โดยแต่ละเทคโนโลยีนั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีความสามารถเฉพาะเจาะจงกับการ ใช้งานและการบริการเฉพาะทาง ซึ่งต่างก็มีจุดเด่นที่ไม่สามารถที่จะหาเอาเทคโนโลยีอันหนึ่งอันใดมาแทนการ ใช้งานของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้

ดังนั้น สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีในยุค 4G นั้นแทนที่จะมุ่งพัฒนาในด้านเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุอย่างที่เคยทำมาทั้ง กับเทคโนโลยีในยุค 2.5G และ 3G ก็ได้มีแนวคิดใหม่สำหรับระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 4G ซึ่งน่าจะเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีไร้สายต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นระบบเดียวและน่าจะเป็นวิธีที่มีความเป็นไปได้มาก ที่สุดโดยในปัจจุบันนี้ทีมวิจัยของบริษัทชั้นนำอย่าง NTT DoCoMo ก็กำลังดำเนินการวางกรอบของเทคโนโลยียุค 4G ในอนาคตอยู่เช่นกันแต่สุดท้ายแล้วจะออกมาเป็นแบบใดก็คงต้องติดตามกัน

ถ้า จะลองนึกภาพของเทคโนโลยียุค 4G นั้นก็น่าจะเป็นระบบเครือข่ายที่เป็น IP-based ทั้งหมดซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงระบบได้ทุกที่ทุกเวลาโดยอาศัย เครื่องโทรศัพท์ที่สามารถใช้งานได้กับทุกเทคโนโลยีและแอพพลิเคชันต่างๆบน โครงข่ายไร้สายทุกประเภทเหมือนๆ กับแนวคิดของโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานได้แบบ Quad-Band ในปัจจุบัน แต่จะมีความสามารถมากกว่าในการรวมเอาหลากหลายเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน

นอก จากนี้ เทคโนโลยียุค 4G นั้นควรที่จะเน้นในการให้บริการด้านโทรคมนาคมรวมถึงการสื่อสารข้อมูลและ มัลติมีเดียด้วยโดยมีปัจจัยหลักในการให้บริการมัลติมีเดียที่ต้องการบริการ สื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านระบบที่มีความเสถียรรวมทั้งการบริการด้านเสียง และแอพพิเคชันแบบ low-bit-rate ที่จะต้องทำงานไปด้วยกันได้อย่างปกติด้วย

ทุก วันนี้จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากและถ้าคิด ไปถึงอีก 5 ปีข้างหน้าก็เป็นไปได้ว่าคงจะมีอัตราการใช้งานมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่จะมีโทรศัพท์แบบพกพาใช้กัน ซึ่งนี่จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่เทคโนโลยีในยุค 4G ต้องมีการเตรียมการสำหรับรูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมของผู้ใช้แต่ละบุคคล คือ จะเป็นการสร้างรูปแบบบริการต่างๆ ให้กับกลุ่มผู้ใช้แบบเฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า Personalized Service

ทั้ง นี้ เนื่องจากว่าเมื่อฐานผู้ใช้บริการกว้างขึ้นก็จะทำให้เกิดความหลากหลายของวัย อาชีพ รสนิยม วิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ให้บริการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างรูปแบบบริการที่สามารถสนองตอบต่อ ความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มให้ได้

ลองจินตนาการดูว่าถ้าผู้ใช้ โทรศัพท์ยุค 4G ที่กำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับตารางเวลาภาพยนตร์จากโรงภาพยนตร์ที่ใกล้ที่สุด ซึ่งผู้ใช้นั้นสามารถที่จะใช้โทรศัพท์มือถือทำการเชื่อมต่อกับระบบไร้สายภาย นอกหลายๆ ระบบได้ ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยระบบพิกัดสถานที่ (Global Positioning System, GPS) สำหรับระบุตำแหน่งของผู้ใช้ในการเลือกโรงภาพยนตร์ที่ใกล้ที่สุด และระบบแลนไร้สายที่สามารถเชื่อมต่อกับฮอตสปอตที่ใกล้ที่สุดในการโหลด ตัวอย่างภาพยนตร์ และตารางฉายขึ้นมาดูรวมไปถึงระบบโทรศัพท์มือถือแบบซีดีเอ็มเอ (Code-Division Multiple Access, CDMA) สำหรับการโทรศัพท์ไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับโรงภาพยนตร์นั้นๆ

ตัวอย่าง การใช้งานที่ได้กล่าวไปนั้นแท้จริงแล้วเป็นการใช้บริการต่างๆ จากหลากหลายผู้ให้บริการซึ่งแอพพลิเคชั่นแต่ละอย่างก็มีความแตกต่างทั้งใน ส่วนของระดับความปลอดภัยของข้อมูล การตั้งค่าของเครื่องลูกข่าย วิธีการคิดค่าใช้บริการซึ่งจริงๆ แล้วก็น่าจะเป็นการดีถ้าทุกสิ่งทุกอย่างนี้สามารถรวมกันได้ในแอพพลิเคชั่น ของเทคโนโลยีในยุค 4G แต่ก็ต้องรอให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถสื่อสารได้กับทุกเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น GSM GPRS CDMA UMTS หรือ แลนไร้สาย ตลอดจนต้องมีส่วนเชื่อมต่อที่สามารถใช้งานได้กับ สมาร์ตการ์ดหรือการ์ดหน่วยความจำต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คงต้องมีการใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมการทำงานที่สามารถปรับ ให้เครื่องลูกข่ายสื่อสารกับทุกๆ เทคโนโลยีให้ได้

การโรมมิ่ง ระหว่างเครือข่ายผู้ให้บริการต่างๆ เช่น จากแลนไร้สายภายในอาคารสำนักงานออกไปสู่ระบบ GSM เมื่อก้าวออกนอกสำนักงานและผ่านระบบแลนไร้สายอีกครั้งเมื่อนั่งอยู่ใน รถไฟฟ้าใต้ดินโดยทั้งหมดนี้จะต้องมีการกำหนดวิธีการส่งต่อ (hand-off) ระหว่างโครงข่ายต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยีเครือข่ายที่ได้มีการพัฒนามาช่วยในเรื่องนี้ก็คือ Mobile IPv6 (MIPv6) โดยนับได้ว่าเป็นมาตรฐานโพรโตคอลสำหรับ IP-Based ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้หลักการมาตรฐานของ IP version 6 (IPv6) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีการใช้งานใช้เชิงพาณิชย์ภายในไม่เกิน 1-2 ปีข้างหน้า

ส่วน ระบบการเรียกเก็บค่าบริการของผู้ให้บริการที่หลากหลายนั้นก็ต้องมีการเตรียม การล่วงหน้า ซึ่งดูแล้วคงจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างในปัจจุบันที่จะคิดค่าบริการแบบเหมาจ่าย คิดตามจำนวนเวลาหรือปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง เพราะเมื่อมีบริการมากมายจากหลากหลายผู้ให้บริการแล้วความซับซ้อนของระบบ Billing System ที่อยู่เบื้องหลังนั้นคงจะเป็นเรื่องปวดหัวไม่เบาสำหรับนักการตลาดและนัก พัฒนาโปรแกรม

ทั้งนี้ เนื่องจากว่าผู้ใช้บริการไม่ได้ผูกติดอยู่กับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง อย่างในปัจจุบันแต่จะเป็นลูกค้าของผู้ให้บริการทุกรายที่รวมอยู่ในระบบ 4G และแนวทางหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือต้องมีบริษัทกลางที่ทำหน้าที่เป็น Broker ในการรับชำระค่าใช้บริการและนำไปแบ่งจ่ายให้กับผู้ให้บริการแต่ละรายต่อไป ซึ่งก็คงจะคล้ายๆ กับบริษัท Broker ในการซื้อ-ขายหุ้นในปัจจุบันนั่นเอง

สำหรับ อัตราค่าใช้บริการนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความซับซ้อนและอ่อนไหวมาก เพราะจะต้องเหมาะสมในด้านธุรกิจ การตลาดและระบบ Billing System ที่จะต้องมีความคล่องตัวมากพอในการปรับแต่งค่าต่างๆ ตามโปรโมชั่นและแผนการตลาดของผู้ให้บริการแต่ละราย นอกจากนี้ยังมีอีกแนวความคิดหนึ่งที่เทคโนโลยีในยุค 4G น่าจะมีออกมาให้บริการได้ซึ่งนั่นก็คือ Personal Mobility ที่การสื่อสารไม่ได้ยึดติดอยู่กับอุปกรณ์ PDA โน้ตบุ๊ก หรือโทรศัพท์มือถือแต่จะเป็นการติดตามตัวผู้ใช้บริการเอง

เช่น ถ้ามีการส่งวิดีโอเมล์ไปให้ผู้รับตัวระบบจะตรวจสอบว่าในเวลานั้นๆ ผู้ใช้กำลังทำอะไรและอยู่ที่ใดแล้วจึงค่อยส่งวิดีโอเมล์นั้นไปยังอุปกรณ์ที่ กำลังทำงานอยู่ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ใดหรือกำลังใช้อุปกรณ์อะไรอยู่ก็ ตามข้อความก็จะสามารถส่งถึงผู้รับได้อย่างถูกต้อง

ถึงจุดนี้ก็น่า ที่จะสรุปได้ว่าการพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีเครือข่ายในยุค 4G นั้นต้องมีการศึกษาและพัฒนาในด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มใหญ่คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ของเครื่อง โทรศัพท์มือถือที่จะต้องมีความสามารถในการเลือกสื่อสารกับระบบไร้สายต่าง ได้ และสำหรับในส่วนที่สองคือ ด้านระบบที่จะต้องมีการส่งต่อการให้บริการ (hand-off) ระหว่างโครงข่ายตลอดจนสามารถรักษาระดับคุณภาพของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ไม่ว่าจะมีการส่งต่อการให้บริการไปอย่างไร

ในส่วนสุดท้ายก็คือ ระบบ Billing System และบริการติดตามผู้ใช้ Personal Mobility ที่จะต้องอาศัยความสามารถของซอฟต์แวร์ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกชิ้น ในระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถบรรลุจุดประสงค์ในการสร้างบริการรูปแบบใหม่ๆ ต่อไปได้

ที่มา:http://www.ecommerce-magazine.com/index.php?option=com_content&task=view&id=328&Itemid=37

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 13

สุดยอดสมรรถนะกับระบบสื่อสารยุค 4G


จากความสำเร็จในการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 3G ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายระบบตามคุณสมบัติทางเทคนิคที่แตกต่างกันไปภายใต้กลุ้ม IMT-2000 (International Mobile Telecommunications for the yeer 2000) ทำให้บริษัทผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มีรูปแบบบริการใหม่ ๆ เสนอต่อผู้ใช้ได้หลากหลาย ดังที่เราจะเห็นบริการใหม่ ๆ ที่มีในโฆษณาต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทผู้ให้บริการได้ทำการพัฒนา หรืออัปเกรดโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือไม่

ขณะเดียวกันเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้ก็ต้องมีคุณสมบัติรองรับการ ใช้บริการต่าง ๆ จึงจะสามารถใช้บริการนั้น ๆ ได้ และในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ บริษัทชั้นนำต่าง ๆ ที่ทำธุรกิจด้านระบบสื่อสารทั่วไป มีทั้งบริษัทที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ และบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ ได้มีการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อจากยุค 3G อย่างต่อเนื่อง จนเข้าสู่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สี่หรือระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G เพื่อให้โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น

ที่มา:http://kmcenter.rid.go.th/kcitc/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=174:-4g&catid=22:2009-09-03-06-53-44&Itemid=15

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 12

ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ของ GSM กับ CDMA นั้น ยังคงแข่งขันกันอยู่ต่อไป กล่าวคือ

GSM จะพัฒนาสู่ 4G โดยใช้รูปแบบการเข้าถึง (access type) เป็น UMTS LTE (Universal Mobile Telephone System – Long term Evaluation) คาดหมายว่า จะสามารถทำความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ได้ที่ 100 mbps / 50 mbps

ในขณะที่ CDMA ใช้รูปแบบการเข้าถึงเป็น CDMA EV-DO Rev.C (กล่าวคือ เป็น UMB หรือ Ultra-mobile broadband) และมีความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ที่ 129 mbps / 75.6 mbps

ตัวเลขความเร็วของทั้งสองค่ายจะเป็นราคาคุยหรือไม่คงต้องติดตามผลกันต่อไป

หาก 4G จะเกิดจากการรวม WiMax เข้ากับ 3G

ท่ามกลางกระแสการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย

นัก วิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงขนาดที่ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาด ส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการไวแมกซ์เกิดขึ้น ในตลาดได้ง่ายๆ ประกอบกับบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการไวแมกซ์ เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการไวแมกซ์ กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็นธรรม และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น

หากจะรวมกันจริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังมีความเชื่อว่า 3G คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็วอิเธอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN – local area network) กับแวน (WAN – wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และ WiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน

โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps

สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มี หลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับ หนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนัก การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย) การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มีปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น

จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าในขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3G และ WiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4G หากกลุ่มที่พัฒนา 4G ไม่รีบชิงพัฒนา 4G หนีการรวมตัวกับ WiMAX ไปเสียก่อน


ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24248

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 11

แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่ หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps

ทำไมจึงอยากได้ 4G

เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้

1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น

2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G

3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability

4. ค่าใช้จ่ายถูกลง

5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย

พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ

หาก พิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิ ทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้างล่างนี้


ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24248

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 10

4G ( Forth Generation )

เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีก เครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที

ลักษณะเด่นของ 4G

4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ “ดิจิตอลคอนเทนต์” เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ ดังนั้น การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3G ก่อนคู่แข่ง น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด

ความ โดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็น เครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่ เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ

อย่าง ไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้

ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น “interim 4G” หรือ 4G เฉพาะกิจ เพื่อไปเร่งพัฒนา “4G ตัวจริง (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน

ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24248

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 9

WCDMA
วายแบนด์ซีดีเอ็มเอ - Wideband Code-Division Multiple Access

เป็นเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่มีมาตรฐานตามข้อ กำหนดของไอทียู และเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อว่า IMT-2000 WCDMA เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระบบไร้สายในยุคที่ 3 และมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแบบไร้สายผ่านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ ไร้สายความเร็วสูง โดยมีประสิทธิภาพการทำงานเหนือกว่าเทคโนโลยีทั่วไปที่ใช้ในตลาดในปัจจุบัน

วายแบนด์ซีดีเอ็มเอมีประสิทธิภาพในการสื่อ สารรับส่งสัญญาณเสียงภาพข้อมูลและภาพวิดีโอด้วย ความเร็วสูงถึง 2 เมกกะบิตต่อวินาที แต่สำหรับการให้บริการในปัจจุบันความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 384 กิโลบิตต่อวินาที (แนวกว้าง wide area access) โดยสัญญาณขาเข้าจะถูกแปรเป็นสัญญาณดิจิตอลและส่งไปเป็นรหัสผ่านแถบคลื่น สัญญาณกระจายไปสู่คลื่นความถี่ต่างๆ
ผู้ให้บริการเทคโนโลยีนี้จะใช้แถบ คลื่นสัญญาณที่ 5 MHz ซึ่งต่างจากผู้ให้บริการที่ให้บริการเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอในย่านความถี่แคบ ที่ใช้ช่องสัญญาณที่ 1.25 MHz

NTT DoLoMo เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการ WCDMA ในเชิงพาณิชย์ ในปี 2001 จนในปัจจุบันมีผู้ให้บริการถึง 65 รายทั่วโลก

พัฒนาการก้าวต่อไปของเทคโนโลยี WCDMA จะนำไปสู่ความสามารถในการส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงขึ้น ซึ่งเรียกว่า HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 1.8 - 14.4 Mbps


การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี GSM

WCDMA เป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM การพัฒนาสู่ 3G ของระบบ GSM นั้นจะต้อง "เปลี่ยน" ระบบไปเป็น WCDMA

และเพราะ WCDMA เป็นการพัฒนาเข้าสู่ 3G ของระบบ GSM นี่เอง ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งหลาย กำหนดให้ระบบ GSM สามารถ ทำงานร่วมกับระบบ WCDMA ได้ ในช่วงที่กำลังเกิด "รอยต่อ" หรือ ช่วง "พลัดเปลี่ยน" เทคฯ และเหตุนี้เองจึงทำได้เกิดมือถือแบบ Dual Mode (GSM/WCDMA) ขึ้นมาอย่างที่เราเห็นๆกันอยู่

"เราจึงเรียก WCDMA ว่าเป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM"


ส่วนระบบ cdma2000 มันพัฒนามาจาก cdmaOne <หรือ cdma ธรรมดา (IS-95)>
และการพัฒนาสู่ 3G ของเจ้า cdma นี้ "ไม่ต้อง" เปลี่ยนเทคฯ การพัฒนาจึงแค่ "อัพเกรด" ไปตามสเตปของมันดังนี้...

cdma > cdma2000 1x > cdma2000 1xEV-DO ฯลฯ


...พูดง่ายๆก็คือเทคโนโลยีมันมาคนสายกันเรียกว่า "ฝั่งใครฝั่งมัน"


ภาพนี้เป็น Road Map ของการพัฒนาจาก 2G สู่ 3G
ของทั้ง 2 ฝั่งเทคโนโลยี


ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24247

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 8

CDMA2000 1xEV-DO

ย่อมาจาก First Evolution, Data Optimized

โดยระบบ 1x EV-DO เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่มีระบบการส่งสัญญาณข้อมูลแบบแพคเก็ต ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง ต้นทุนต่ำเหมาะสำหรับผู้บริโภคทั่วไปรวมถึงผู้ใช้ที่ต้องการรับ - ส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ อินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ได้ครอบคลุมพื้นที่กว้างไกล

1xEV-DO เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี CDMA 2000 และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล CDMA 2000 ที่ได้รับการยอมรับจากสมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( ITU ) ให้เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน การสื่อสารไร้สาย ยุค 3 G

CDMA 20001xEV-DO ให้บริการรับ-ส่งข้อมูลไร้สาย ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง พร้อมด้วยรูปแบบการใช้งานที่ง่ายโดยมีลักษณะการทำงาน ที่ใกล้เคียงกับการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย อุปกรณ์การสื่อสารที่รองรับระบบ ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ การสื่อสารไร้สายประเภทอื่น ๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ เครื่องพีดีเอที่รองรับการทำงานทั้งข้อมูลและเสียง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค รวมถึงโมเด็มสำหรับรับ -ส่งข้อมูลได้แก่ การ์ด PCMCIA และโมเด็มแบบ stand-alone

การ ใช้งานเทคโนโลยี 1xEV-DO เชิงพาณิชย์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2545 จวบจนกระทั่งในปัจจุบัน มีผู้ใช้ บริการการสื่อสารเคลื่อนที่ระบบ 1xEV-DO มากกว่า9 ล้านคน และคาดว่าจะผู้เปิดให้บริการระบบนี้ อีกหลายเครือข่ายภายในปีนี้ และปีหน้า

สำหรับผู้ที่ต้องการบริการส่งข้อมูลความเร็วสูง หรือต้องการเพิ่ม ประสิทธิภาพการส่งข้อมูล ระบบ CDMA2000 1xEV-DO จะ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่า Mbps โดยมีค่า เฉลี่ยความเร็วมากกว่า 700 kbps เทียบเท่ากับการส่งสัญญาณ ด้วยสายแบบ DSL และมีความเร็วเพียงพอที่จะรองรับการใช้งาน ที่ต้องการประสิทธิภาพ ในการส่งข้อมูลความเร็วสูง อาทิ ภาพ วิดีโอ และการดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งนี้ การส่งข้อมูลด้วย ระบบ CDMA20001xEV-DO นับเป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูล ที่มีต้นทุนต่ำสุด เมื่อคิดเป็นต้นทุนต่อเมกะไบต์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายเป็นที่แพร่หลาย อย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ 1xEV-DO ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบ แพคเก็ท "always-on" ซึ่งช่วยให้การใช้ระบบไร้สาย มีความ สะดวกรวดเร็ว และเกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา

ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24246


เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 7

CDMA2000 1X

เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่มีอยู่ในเมืองไทยและ ผู้บริโภคสามารถใช้บริการได้แล้วในขณะนี้คือ CDMA2000 1X ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่สามารถให้บริการทั้งทางเสียงและข้อมูล ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดบริการหนึ่งในขณะน

เทคโนโลยี CDMA2000 1X

รองรับให้บริการทั้งทางเสียงและข้อมูล โดยอาศัยเพียงแถบความถี่ ขนาด 1.25 เมกกะเฮิร์ตซ นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพรองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่าระบบ cdmaOne ถึง 2 เท่าและมากกว่าเทคโนโลยีจีเอสเอ็มหลายเท่าตัว ด้วยความสามารถ ดังกล่าว จึงพร้อมจะให้บริการทางเสียง ขณะเดียวกัน CDMA20001X ยังเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย บริการมัลติมีเดีย และบริการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจ รวมทั้งประชาชนทั่วไป เนื่องจากสามารถส่งความเร็วที่สูงกว่าระบบอื่น

เทคโนโลยี CDMA2000 1X สามารถให้บริการข้อมูลไร้สายด้วยความเร็วเฉลี่ย 50 - 90 กิโลบิตต์ต่อวินาที โดยมีอัตราสูงสุดถึง 153 กิโลบิตต์ต่อวินาที ปัจจุบันมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA2000 1X มากกว่า 524 รุ่นจำหน่ายทั่วโลก โดยมีทั้งโทรศัพท์หลากหลายรูปแบบ อุปกรณ์รับส่งข้อมูลไร้สาย และโมเด็มไร้สาย ผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในระดับโลก ได้แก่ พานาโซนิค ซัมซุง ซันโย อีริคสัน โมโตโรล่า แอลจี เคียวเซร่า และโนเกีย เป็นต้น

นอกจาก นี้ยังมีบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ผลิต อุปกรณ์สำหรับรับส่งข้อมูลไร้สายโดยเฉพาะ เช่น Sanyo, Samsung, LG, GTRAN และเซียร์ร่า ไวล์เลส เป็นต้น


ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24244

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 6

เทคโนโลยี 3G คืออะไร…?

  • 3G หรือ Third Generation
  • เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3
  • ยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยี ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน
  • ใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

ลักษณะการทำงานของ 3G…

  • ช่องสัญญาณความถี่,ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า
  • ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น
  • สามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น
  • บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ, รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ

เทคโนโลยี 3G น่าสนใจอย่างไร

  • สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น
  • สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ
  • สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น
  • ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่อง ตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา ,วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป
  • ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
  • ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว
  • คุณสมบัติหลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล
  • การเสียค่าบริการ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย

อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G

  • mobile phone
  • PDA (Personal Digital Assistant )
  • Laptop
  • Palmtop
  • PC (Personal Computer)
ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24212

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 5

รูปการเปรียบเทียบอัตราเร็วในการรับส่ง ข้อมูล จะเห็นว่า EDGE มีความสามารถที่เทียบเท่ากับ ระบบ W-CDMA ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐาน UMTS แต่ใช้เงินลงทุนที่น้อยกว่ามาก

ด้วยอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้น ผู้ให้บริการเครือข่ายจึงสามารถให้บริการรายงานข่าว, การรับส่งไฟล์รูปภาพและเสียงเพลง, พาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ที่มีสีสันมากขึ้น ไปจนถึงการเปิดให้บริการสนทนาโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากัน (Video Telephony)

ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G
เกิด ขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว

เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมี การทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้เมื่อ มีการพัฒนาเทคโนโลยี GPRS และ EDGE ซึ่งถือเป็นการเสริมเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet Switching) ที่มีความยืดหยุ่นในการสื่อสารข้อมูลแบบ Non-Voice แต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นการ ต่อยอด บนเครือข่ายแบบเดิมที่มีการทำงานแบบ TDMA ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องพะวงกับการจัดสรรทรัพยากรช่องสื่อสาร ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบ Non-Voice ได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากจะทำให้เกิดผลรบกวนต่อจำนวนวงจรสื่อสารแบบ Voice มากจนเกินไป ไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด
171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เพราะจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป
ในขณะเดียว กันก็มีบริการสื่อสารอัตราเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line) เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ใช้บริการ ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูล ผ่านเครือข่าย 2.5G
และ 2.75G ทำให้หมดความน่าสนใจที่จะใช้บริการต่อไป


ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24211

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 4

เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สาย ยุค 2.75G

เป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution)

EDGE นั้นถือเป็น เทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูกเรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) เป็นทางเลือกก่อนก้าวเข้าสู่ยุค 3G อย่างต่อเนื่อง และคุ้มค่า

ความเร็วการส่งผ่านข้อมูลโดยประมาณของเทคโนโลยียุค 2.75G

ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดประมาณ 384 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) และมีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ
80-100 กิโลบิตต่อวินาที (ความเร็วในการใช้งานจริงจะลดลงไปค่อนข้างมาก เนื่องจากระหว่างใช้งาน ระบบต้องแบ่งช่องสัญญาณบางส่วน ไปใช้งานทางด้านเสียงด้วย)

--------------------------------------------------------------------------------

EDGE

เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution)
เทคโนโลยี EDGE เป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นระบบการแบ่งเวลากันใช้ในช่องสัญญาณเดียวกัน โดยเปรียบช่องสัญญาณให้เป็นเสมือนขนมชั้นที่ถูกวางอยู่ในแนวตั้ง เมื่อใดที่มีการใช้โทรศัพท์ เครื่องโทรศัพท์แต่ละเครื่องก็จะถูกจัดสรรเวลาให้ใช้ภายในช่องความถี่เดี่ยว กัน
เทคโนโลยี EDGE เป็นการปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของเทคโนโลยี GPRS จึงกำหนดคำนิยามให้ EDGE ว่า ' การติดเทอร์โบให้กับ GPRS'

ข้อดีของระบบ TDMA

เวลาของผู้ใช้ทุกคนจะเท่ากันหมด ถือว่าทุกคนมีช่องเวลาที่ชัดเจนตายตัว จึงทำให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล โดยเฉพาะเรื่องของเสียง
อย่าง ไรก็ตาม เมื่อต้องใช้ส่งข้อมูลปริมาณมากๆ ปัญหาด้านความเร็วจึงได้เกิดขึ้น (เนื่องจาก TDMA ถูกจำกัดความเร็วต่อช่องสัญญาณที่ 9.6 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้น) ผู้ประกอบการจึงหาวิธีแก้ปัญหาโดยการนำเอาช่องสัญญาณหลายๆ ช่องมารวมกัน เพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงขึ้น ซึ่งนั่นคือที่มาของเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) แต่ความเร็วของ GPRS ก็ยังจัดว่าเป็นความเร็วที่รองรับในส่วนของวิดีโอคลิปได้ไม่สมบูรณ์อยู่ดี จึงได้มีการนำเอาระบบ EDGE เข้ามา ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS

ลักษณะการทำงานของเทคโนโลยี EDGE

เป็นการบีบอัดข้อมูลในอัตราส่วน 3:1 เทคโนโลยี EDGE จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่า GPRS ประมาณ 3 เท่า หรือมีความเร็วสูงสุดประมาณ 384 กิโลบิตต่อวินาที
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น GPRS หรือ EDGE ก็ตาม ความเร็วการส่งข้อมูลที่ได้บนการใช้งานจริงจะต่ำกว่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดของระบบ TDMA ที่ต้องมีการแบ่งช่องสื่อสารสำหรับการใช้งานด้านเสียงไว้ด้วย (Technical Limited)
ข้อดีของเทคโนโลยี EDGE

ผู้ให้บริการระบบ TDMA (GSM) นั้น สามารถอัพเกรดระบบให้รองรับเทคโนโลยี EDGE ได้อย่างไม่ยุ่งยาก โดยจะประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก


ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24211

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 3

ยุค 2.5G หลังจากนั้น ก็เป็นยุคก้ำกึ่งระหว่าง 2G และ 3G ... ซึ่ง2.5G นี้ เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง ซึ่งตามหลักการแล้ว ... เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps เลยทีเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น

สรุป

  • การสื่อสารไร้สายยุค 2.5G ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยีในระดับ 2G แต่มีประสิทธิ-ภาพด้อยกว่ามาตรฐานการสื่อสารไร้สายยุค 3G
  • โดยเทคโนโลยีในยุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูลแบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbps
  • สำหรับเทคโนโลยี 2.5G ที่มีใช้อยู่ตอนนี้ก็คือ
    -GPRS : (General Packet Radio Service) นับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G
ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24210

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 2

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาร ยุค 2G

ยุค 2G จะ เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบอะนาล็อกมาเป็นการเข้ารหัส Digital ส่งทางคลื่น Microwave

ซึ่งในยุคนี้เอง เป็นยุคที่เริ่มทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียว
ใน ยุค 2G นี้ ... เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) (ไม่ใช่ชื่อผู้ให้บริการนะครับ) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming

สรุป

  • เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล
  • การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ
    TDMA -Time Division Multiple Access คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก
    CDMA - Code Division Multiple Access เป็นการแบ่งการเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP
  • ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว
ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24209

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G

ยุค 1G

เป็นยุคที่ใช้ระบบอะนาล็อก คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้น
ซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียว คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้น
ไม่ มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น .. แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G แต่จริงๆแล้ว ... ในยุคนั้น ผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆ นอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้วโดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะเป็นนักธุรกิจที่ มีรายได้สูงเสียส่วนใหญ่

สรุป

  • เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์
  • วิธีการมอดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่อง สื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • ติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่
  • โทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก
  • ในภายหลังจึงเปลี่ยนมา

ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24208

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 20

เจ้าหน้าที่โทรเลขตามที่ทำการไปรษณีย์ต่างๆ ให้ข้อมูลตรงกันว่า จำนวนการส่งโทรเลขในประเทศไทยลดลงอย่างช้าๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นมา ก่อนจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงหลายปีให้หลัง สถิติล่าสุดคือในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ จำนวนการส่งโทรเลขในประเทศมีทั้งหมด ๘.๔ แสนครั้ง (ขณะที่ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ จำนวนการส่งอยู่ที่ ๒.๔๘ ล้านครั้ง)

“ยอดผู้ใช้บริการลดลงเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่อย่างพวกผมไม่รู้ตัวหรอกครับ มันลงมาช้าๆ เหมือนกราฟที่ค่อยๆ ตกลง” วิรัญพงศ์ แสงอินทร์ เจ้าหน้าที่โทรเลขประจำที่ทำการไปรษณีย์ราชดำเนิน เล่าให้เราฟังในวันที่ไปเยี่ยมเยือน

อาจด้วยเหตุนี้ ข่าวคราวการยกเลิกบริการโทรเลขที่มีให้เห็นอยู่เป็นระยะในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา จึงอาจไม่ถือเป็นเรื่องน่าแปลกใจอย่างใด

คนในภาคธุรกิจการสื่อสารอย่าง วิจิตร เพิ่มเพียรเกียรติ มองเรื่องนี้ว่า

“สำหรับผม บริการโทรเลขถึงเวลาที่เราจะต้องนำไปรักษาเอาไว้ในพิพิธภัณฑ์ แค่ให้มันยังคงทำงานในขั้นสาธิตได้ก็พอ เช่น วางเครื่องส่งกับเครื่องรับไว้คนละห้อง แล้วแสดงให้คนที่มาเยี่ยมชมเห็นว่าโทรเลขทำงานได้อย่างไร แค่นั้นก็พอแล้วในความรู้สึกของผม”

ส่วนเด็กรุ่นใหม่อย่าง ศุภเกียรติ ศุภศักดิ์ศึกษากร หรือ “แบ๊งค์” นักศึกษาธรรมศาสตร์ปี ๓ บอกว่า “เคยเห็นตอนเรียนชั้นประถม ตอนนั้นบุรุษไปรษณีย์เป็นคนนำมาส่ง จำได้ว่าเป็นซองสีเขียว รู้สึกคล้ายซองที่ไว้ใช้ทวงค่าโทรศัพท์บ้านยุคนี้ พูดถึงระบบโทรเลขผมว่าล้าสมัย เพราะจะส่งข้อความตอนนี้ก็ใช้ SMS ได้ อย่าลืมว่าโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนยุคนี้ไปแล้ว”

และสำหรับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งรับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรง ก็ให้คำตอบที่ค่อนข้างชัดเจนว่า โทรเลขคงถึงวาระที่จะต้องเลิก

สุภาพ เกษมุนี ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารข้อความ บมจ. กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า

“เราไม่มีแผนพัฒนาโทรเลขแล้วนับจากนี้ คอมพิวเตอร์ที่ชุมสายโทรเลขอัตโนมัติก็ไม่มีการอัปเกรดอีก ตอนนี้เหลือเพียงการเสนอเรื่องตามขั้นตอนเท่านั้น เพราะโทรเลขเป็นบริการสาธารณะตาม ‘พระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ. ๒๔๗๗‘ ก่อนจะเลิกจึงต้องทำการศึกษาและสำรวจความเห็น รวมทั้งต้องแจ้งประเทศต่างๆ ที่ยังคงมีบริการโทรเลข ตอนนี้ผมบอกผลการสำรวจได้แค่ว่า สังคมไทยจะเสียแค่คำว่า ‘โทรเลข’ ไปเท่านั้น ส่วนตัวผมผูกพันนะครับ แต่ถ้าเก็บมันไว้ก็มีต้นทุนสูงมาก เรียกว่าไม่คุ้ม”


ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ หลังจากมอร์สสร้างระบบโทรเลขได้ ๑๖๒ ปี การสื่อสารที่ทำให้คน “มาชิดเคียงกัน” วันนี้ มิใช่โทรเลขอีกต่อไป

แต่จะอย่างไร สำหรับเจ้าหน้าที่โทรเลข ไม่ว่าจะเป็นรุ่นที่ยังทำงานอยู่หรือรุ่นที่เกษียณไปแล้ว ความคุ้มค่า คุ้มทุนของโทรเลข คงไม่ใช่เรื่องสำคัญ

“มันเป็นความผูกพันครับ”

นี่คือถ้อยคำสุดท้ายที่เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งบอกกับเรา ในช่วงเวลาที่วันพรุ่งนี้ของโทรเลขดูจะรางเลือนเต็มที...



ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514&page=2

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 19

พฤศจิกายน ๒๕๔๘, ที่ทำการรับ-ส่งโทรเลขนครหลวงใต้

ใกล้ค่ำ ที่ชั้น ๓ บริเวณปีกซ้ายของตึกที่ทำการไปรษณีย์กลาง พรินเตอร์ยังคงส่งเสียงแกรกกรากท่ามกลางความเงียบและแสงรำไรที่สาดลอดเข้ามา ทางช่องหน้าต่างของที่ทำการรับ-ส่งโทรเลขนครหลวงใต้

เจ้าหน้าที่ยังคงทำงานกันต่อไปแม้จะเลยเวลาทำงานปรกติมานานแล้ว...

บนชั้น ๔ ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์ถ่ายทอดโทรเลข ก็มีสภาพไม่แตกต่างกัน

จากที่เคยมีเจ้าหน้าที่นับร้อยผลัดเปลี่ยนกันเข้ากะปฏิบัติงานตลอด ๒๔ ชั่วโมง กงล้อของยุคสมัยก็ทำให้วันนี้เหลือพวกเขาอยู่เพียง ๔ คน เสียงก๊อกแก๊กของเครื่องส่งรหัสมอร์สและโทรพิมพ์หายไป เหลือเพียงเสียงเคาะแป้นอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์

ภารกิจยามเย็นของพวกเขาไม่มีอะไรมากไปกว่าการเคลียร์โทรเลขฉบับที่คั่ง ค้างอยู่ในระบบชุมสายโทรเลขอัตโนมัติอันเนื่องมาจากปัญหาขัดข้องทั้งหลาย (สายเสีย เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้รับโทรเลขปลายทางเสีย ฯลฯ)

“พวกเราชินแล้ว” เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งเอ่ยขึ้น

“เผลอๆ โทรเลขอาจจะเลิกพร้อมผมเกษียณกระมัง” เจ้าหน้าที่อีกท่านหนึ่งกล่าวติดตลก

เจ้าหน้าที่อีกคนหันมองคอมพิวเตอร์ราคา ๒๐ ล้านที่ตั้งอยู่ในห้องชุมสายโทรเลขอัตโนมัติ แล้วเปรยว่า “เหมือนขับรถเบนซ์ไปจ่ายตลาด”

เขาหมายถึงการที่รัฐต้องลงทุนกับระบบนี้มหาศาลแต่กลับมีคนใช้เพียงหยิบ มือ แต่ละปี คอมพิวเตอร์ขนาดเท่าห้องประชุมเล็กๆ นี้มีค่าบำรุงรักษาหลายล้านบาท ขณะที่รายรับกลับลดน้อยลงจนน่าตกใจ


ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514&page=2

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 18

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า บริการเสริมซึ่งกำลังกลายเป็นเนื้อหาหลักของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง ๑๔,๐๐๐ ล้านบาทในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ และจะพัฒนาต่อไปโดยเชื่อมต่อกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น การรับ-ส่งอีเมลที่เคยทำผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ก็จะสามารถทำได้บนโทรศัพท์มือถือ และหากมีการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 3G แล้ว รูปแบบของบริการเสริมก็จะได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยียุค 3G จะทำให้เราก้าวไปไกลจากคำว่า “การสื่อสาร” ซึ่งเทคโนโลยีเดิมๆ เคยตอบสนองความต้องการของเรามาแล้ว

ขณะที่หลายคนอาจกำลังคิดว่า เทคโนโลยีการสื่อสารระดับนี้ “เกิน” จากความจำเป็นอยู่มาก ในเวลาเดียวกันก็ยังมีคนอีกไม่น้อยที่รอคอยการมาถึงของมัน วันนี้ หากคุณท่องอินเทอร์เน็ตแล้วแวะตามเว็บบอร์ดชื่อดังอย่าง pantip.com ก็จะพบกระทู้ที่ตั้งขึ้นเพื่อถามว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใดสามารถรองรับ โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 3G ได้บ้าง เพื่อที่จะซื้อเตรียมไว้ แม้ว่ายุค 3G จะยังเดินทางมาไม่ถึงเมืองไทยก็ตาม

ความต้องการ “เครื่องมือสื่อสาร” ที่ตอบสนองการใช้งานนอกเหนือจาก “การสื่อสาร” ที่ปรากฏชัดในคนรุ่นใหม่ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้งานที่ต่างจากคนยุคก่อน ทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองว่า เทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่เหล่านี้กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงความคิดและ พฤติกรรมผู้บริโภค ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อสังคม ดังที่เคยปรากฏเป็นข่าวว่า มีเด็กสาวยอมขายตัวเพียงเพราะอยากได้โทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุดที่สามารถรอง รับบริการเสริมใหม่ๆ ได้เหมือนที่เพื่อนมี หรือกรณีที่เด็กรุ่นใหม่มีสมาธิสั้นลงเพราะมัวง่วนอยู่กับมือถือ ฯลฯ

ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูตร อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

“การจะดูว่าเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้ไปจริงหรือไม่ เราต้องพิจารณาบริบทและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ทางสังคมด้วย เมื่อก่อนที่มีข่าวว่าเด็กสาวต้องขายตัวเพราะอยากได้มือถือ หลายคนมองว่านี่เกิดจากเทคโนโลยี ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ มันเกิดจากกระบวนการสร้างความต้องการผ่านระบบการตลาดต่างหาก เทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ ที่เข้ามาอาจเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้คนเท่า นั้น

“เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น มันก็มีทั้งด้านดีและด้านร้าย ดีคือการสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันมันก็ทำให้ชีวิตเราเบ็ดเสร็จมากขึ้น กระตุ้นให้คนบริโภคมากขึ้น และมีข้อมูลให้เรามากจนล้นเกิน อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้ สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีเป็นดีที่สุด”

หากมองย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีการสื่อสารเมื่อกว่า ๑๐๐ ปีก่อน ความน่าทึ่งของเครือข่ายโทรศัพท์ยุค 3G วันนี้ อาจไม่ต่างอะไรจากความน่าทึ่งของโทรเลขที่มีต่อผู้คนในยุคก่อน และการก้าวเข้ามาของยุค 3G ในอนาคตอันใกล้นี้ ในแง่หนึ่งก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าความเปลี่ยนแปลงตามวัฏฏะของโลก ต่างกันก็เพียงเป็นโลกแห่งเทคโนโลยีที่ทุกอย่างหมุนไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีใหม่ย่อมมาแทนที่เทคโนโลยีเก่า และเทคโนโลยีที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการของผู้คนได้ ก็อาจจะต้องเหลือเพียงความทรงจำเท่านั้น...



ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514&page=2

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 17

ปัจจุบันไทยก้าวเข้าใกล้ยุค 3G มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัสสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ GPRS และ EDGE ที่ทำให้เครือข่ายสามารถรองรับการส่งข้อมูลได้มากขึ้น (บางคนจึงเรียกโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคนี้ว่า 2.5Gและ 2.75G) และทำให้เกิดบริการเสริมใหม่ๆ มากมาย ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่า เมื่อถึงยุค 3G รูปแบบการบริการการสื่อสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่จะครบวงจรมากยิ่งขึ้น คือสามารถรับส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รับ-ส่งอีเมล รับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง หรือสามารถใช้ในการประชุมทางไกลแบบเห็นหน้ากันผ่านระบบ Video Conference มีโทรศัพท์แบบเห็นภาพ (Video Call) สามารถรับส่งสัญญาณภาพและเสียง (Video/Audio Content) เช่น ถ่ายทอดสดรายการโทรทัศน์และวิทยุ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งข่าวสารและความบันเทิงต่างๆ ได้

นึกถึงเช้าวันหนึ่งที่เราเดินออกจากบ้านพร้อมโทรศัพท์มือถือ ระหว่างนั่งรถไปทำงาน เราอาจเปิดดูทีวีผ่านหน้าจอขนาดเล็ก ดาวน์โหลดเอกสารจากคอมพิวเตอร์ที่ทำงานมาดู ซื้อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ฉบับเช้ามาอ่านฆ่าเวลารถติด หรือเลือกฟังตัวอย่างเพลงล่าสุดที่เพิ่งวางจำหน่าย แล้วสั่งซื้อซีดีผ่านทางโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ทางร้านนำของมาส่งถึงประตู บ้านในตอนเย็น--หากเครือข่ายการสื่อสารของเราก้าวสู่ยุค 3G เรื่องสมมุติเหล่านี้อาจไม่ไกลเกินจริง


ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514&page=2

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 16

โดยเฉพาะเมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงินออกสู่ตลาด ผู้รู้ในธุรกิจการสื่อสารอย่าง ไพโรจน์ ไววานิชกิจ บอกว่า นี่คือปีที่เทคโนโลยีการสื่อสารรุ่นเก่าอย่างโทรเลข หรือแม้แต่เพจเจอร์ (Pager) ได้รับผลกระทบมหาศาล

“โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน ทำให้คนทุกกลุ่มครอบครองโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อยและไม่ต้องการผูกพันเรื่องค่าใช้จ่ายรายเดือน เพราะสามารถคุมค่าใช้จ่ายในการโทรได้ ถ้าถามว่ามันได้รับความนิยมขนาดไหน บอกได้ว่าถ้าวันนี้ทั้งประเทศไทยมีโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ ๑๐๐ เครื่อง จะมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบเติมเงินอยู่ราว ๘๐ เครื่อง โทรศัพท์เคลื่อนที่มีคุณสมบัติส่งข้อความสั้นๆ ได้ไม่ต่างจากโทรเลขหรือเพจเจอร์ แต่ที่สำคัญคือสามารถใช้โทรคุยได้ การหาซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่สักเครื่องย่อมดีกว่าเสียเงินค่าส่งโทรเลขบ่อยๆ หรือจ่ายเงินเพื่อครอบครองเครื่องมือสื่อสารทางเดียวในราคาไม่ต่างกันอย่าง เพจเจอร์”

สถิติที่น่าตกใจอีกอย่างก็คือ จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้แซงหน้าโทรศัพท์บ้านเป็นครั้งแรก โดยในปีนั้นเรามีโทรศัพท์บ้านราว ๘ ล้านเลขหมาย ขณะที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ราว ๑๗ ล้านเลขหมาย ซึ่งถ้าเทียบกับเพียง ๑ ปีก่อนหน้า (พ.ศ. ๒๕๔๔) เรามีโทรศัพท์บ้าน ๗.๗ ล้านเลขหมาย ขณะที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีอยู่ ๗.๓ ล้านเลขหมายเท่านั้น ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และถึงวันนี้ จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ได้พุ่งขึ้นถึง ๓๐ ล้านเลขหมาย (จากประชากรทั้งประเทศ ๖๒ ล้านคน) ไปเรียบร้อยแล้ว

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personeal Computer - PC) รวมถึงอินเทอร์เน็ตซึ่งเริ่มแพร่หลายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดการสื่อสารรูปแบบใหม่ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอีเมล หรือแม้กระทั่งการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ตแบบเห็นหน้าเห็นตากัน (web cam) ได้ทุกที่ทั่วโลก ผ่านโปรแกรมที่พ่วงมากับผู้ให้บริการอีเมลอย่าง MSN Messenger ของ Hotmail ฯลฯ

สิ่งที่ตามมาคือ พฤติกรรมผู้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในไทยเริ่มก้าวข้ามคำว่า “การสื่อสาร” ออกไปทุกที โดยเฉพาะเมื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่มีบริการเสริมใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาซึ่งเป็นผลพวงจากการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารเข้าสู่ยุคดิจิทัล (2G) เช่น การส่งข้อความสั้น (Short Messaging Service) การส่งภาพเคลื่อนไหว หรือแม้แต่การเล่นอินเทอร์เน็ต (WAP)

รูปธรรมล่าสุดเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสารของคนยุคปัจจุบันปรากฏชัดจาก การชุมนุมในคืนวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้นำคุณสมบัติของเทคโนโลยีการสื่อสารเหล่านี้มาใช้ให้ เป็นประโยชน์สูงสุดเพื่อต่อต้านการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารทุกรูปแบบ

ใครที่ไปร่วมชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า หรือติดตามข่าวคราวผ่านอินเทอร์เน็ต ก็คงจะได้พบว่า เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ (www.manager.co.th) มีการเปิดรับข้อความภาพ (Multimedia Messaging Service-MMS) ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่จากคนไทยทั้งในและต่างประเทศ โดยภาพเหล่านั้นจะถูกส่งขึ้นไปโชว์บนหน้าเว็บเพื่อเผยแพร่ออกไปทั่วโลก

ในเอกสารคู่มือของผู้จัดการชุมนุมยังระบุชัดว่า “โทรศัพท์มือถือเป็นอาวุธประจำกายของชาวประชาธิปไตยที่ทรงพลานุภาพที่สุดใน ยุคการปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร เพราะไม่ว่าเขาจะปิดข่าวทางวิทยุหรือโทรทัศน์ แต่เราสามารถใช้เสียงรายงานไปยังเพื่อนฝูงโดยตรง ไม่เพียงเท่านั้น ยังสามารถ SMS แบบลูกโซ่ แจ้งข่าวและความเคลื่อนไหวของการชุมนุม...”

สอดคล้องกับที่เจ้าพ่อวงการซอฟต์แวร์โลกอย่างนายบิลล์ เกตส์ แห่งบริษัท Microsoft ผู้คิดค้นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมากกว่าครึ่ง โลก เคยกล่าวไว้ว่า “รัฐบาลในโลกยุคปัจจุบันไม่มีทางปิดกั้นข้อมูลข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ การสื่อสารยุคใหม่ได้”

เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารวิวัฒน์มาถึงขั้นนี้ ก็คงไม่ต่างอะไรกับคลื่นลูกใหม่ที่ซัดคลื่นลูกเก่าให้จมหาย ...นี่ยังไม่นับถึงวันที่โลกของการสื่อสารไทยจะพลิกโฉมหน้าไปอีกครั้ง เมื่อเราก้าวสู่ยุค 3G


ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514&page=2

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 15

1G คือยุคที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้เครือข่ายที่มีรูปแบบการรับ-ส่งข้อมูลแบบแอ นtล็อก (Analog) 2G คือยุคที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้เครือข่ายที่มีการรับ-ส่งข้อมูลรูปแบบดิจิ ทัล (ซึ่งทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้มากขึ้น) ส่วน 3G นั้น คือยุคที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้เครือข่ายที่มีความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูล สูงมาก จนสามารถรองรับการทำงานรูปแบบใหม่ๆ ได้มากมาย นอกเหนือไปจากการโทรเข้าโทรออกและการส่งข้อความสั้นซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้น ฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G

จุดเปลี่ยนครั้งแรกของไทยเกี่ยวกับระบบการสื่อสารไร้สายเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เมื่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ NMT (Nordic Mobile Telephone) ย่านความถี่ ๔๗๐ เมกะเฮิรตซ์ (MHz) มาให้บริการเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นการเปิดยุคของการสื่อสารไร้สายอย่างจริงจังและเข้าสู่ยุค 1G เต็มตัว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการทดลองนำระบบโทรศัพท์ไร้สาย (Multi Access Radio Telephone) มาให้บริการประชาชนครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทั้งยังมีปัญหาเรื่องพื้นที่ให้บริการที่ไม่ครอบคลุมกว้างขวางพอ

ไพโรจน์ ไววานิชกิจ นักวิชาการอิสระที่ทำงานในแวดวงธุรกิจการสื่อสารมานาน เล่าถึงสภาพการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคนั้นว่า “จะเห็นนักธุรกิจมีโทรศัพท์เครื่องใหญ่ติดอยู่ที่คอนโซลรถยนต์ มีตัว speaker แยกออกมาเหมือนกับเครื่องส่งวิทยุในรถแท็กซี่สมัยนี้ ซึ่งสมัยนั้นใครมีโทรศัพท์แบบนี้ถือว่าเท่มาก แม้มันจะมีน้ำหนักเท่ากับกระเป๋าเอกสารก็ตาม”

ความรวดเร็วของโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งผู้ใช้สามารถควบคุมการติดต่อสื่อ สารได้เอง แสดงประสิทธิภาพของมันอย่างชัดเจนเมื่อเกิดเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕

ครั้งนั้นโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งมีขนาดใหญ่พอๆ กับกระเป๋าและกระติกน้ำของนักเรียนประถมได้ก่อปรากฏการณ์ทางการเมืองขึ้น หลังจากที่เผด็จการ รสช. ทำการปิดกั้นข่าวสารการชุมนุมประท้วงจากสื่อต่างๆ กระทั่งกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต้องทำการตรวจสอบข่าวโดยตรงกับผู้ที่อยู่ ในที่ชุมนุม เมื่อพบว่าถูกหลอก ปฏิกิริยาการต่อต้านจึงขยายวงกว้างออกไปจนรัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้ แม้ขณะนั้นรัฐบาลจะสามารถคุมสื่อทีวีและหนังสือพิมพ์เอาไว้ได้ทั้งหมดก็ตาม

เมื่อเหตุการณ์จบลง กลุ่มผู้ชุมนุมในครั้งนั้นจึงได้รับการเรียกขานว่า “ม็อบมือถือ”

โทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มได้รับความนิยมในวงกว้างและกลุ่มผู้ใช้เพิ่ม จำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมีการพัฒนาเครือข่ายเข้าสู่ยุค 2G ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคนี้ยังผ่านการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความปลอดภัยจากการดักขโมยสัญญาณ ความคมชัดของสัญญาณ ตลอดจนพื้นที่ให้บริการก็ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น ที่สำคัญคือ เงินที่ต้องจ่ายเพื่อเป็นเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกลงจนคนทั่วไปโดยเฉพาะ ชนชั้นกลางมีกำลังจ่ายได้

“การรุกตลาดการสื่อสารอย่างเข้มข้นของโทรศัพท์มือถือช่วง ๑ ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ทำให้การสื่อสารด้วยวิธีการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจดหมาย โทรศัพท์บ้าน หรือโทรเลข ต่างก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะโทรเลขนั้นแทบจะพูดได้ว่าไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป” ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ และนักวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เคยกล่าวกับนิตยสาร National Geographic (ฉบับภาษาไทย ตุลาคม ๒๕๔๗) ไว้เช่นนั้น

ยิ่งโทรศัพท์เคลื่อนที่แพร่หลายขึ้น ข้อจำกัดของการสื่อสารก็นับวันจะลดน้อยลงทุกที เทคโนโลยีการสื่อสารรุ่นเก่าที่ไม่สามารถตอบสนองการใช้งานของคนยุคใหม่ได้ ย่อมได้รับผลกระทบอย่างยากจะหลีกเลี่ยง


ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514&page=2

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 14

ในยุคแรก โทรศัพท์ยังมีใช้อยู่ในวงจำกัด คือเฉพาะในหน่วยงานราชการเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ จึงเปิดให้ประชาชนเช่าเป็นครั้งแรก ภายใต้การดำเนินงานของกรมไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ยุคนั้นมีชื่อเรียกติดปากคนทั่วไปว่า “โทรศัพท์แม็กนิโต” (Magneto System) เป็นโทรศัพท์แบบที่มีแบตเตอรี่ภายใน ไม่มีหน้าปัดเอาไว้หมุนเบอร์ และสามารถติดต่อโทรศัพท์เครื่องอื่นได้เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น (คือจากบ้านนาย ก. ไปถึงบ้านนาย ข. โทรไปบ้านอื่นไม่ได้) เวลาใช้งานต้องหมุนคันโยกข้างเครื่องซึ่งจะทำให้สัญญาณไปดังที่ตู้ต่อสายของพนักงานซึ่งประจำอยู่ที่ชุมสายโทรศัพท์ ที่จะคอยทำหน้าที่เสียบปลั๊กต่อสายโทรศัพท์ของเราให้เชื่อมกับสายโทรศัพท์อีกเครื่อง และเมื่อต้องการวางสาย ก็ต้องหมุนคันโยกอีกครั้ง เพื่อให้พนักงานโทรศัพท์ถอดปลั๊กออก
ต่อมาจึงมีการสร้างโทรศัพท์ระบบไฟกลาง (Central Battery - C.B.) ยุคนี้หน้าตาของเครื่องโทรศัพท์ยังเหมือนเดิม ต่างกันเพียงไม่มีแบตเตอรี่ในเครื่องอีกต่อไป เพราะใช้ไฟฟ้าจากส่วนกลาง โทรศัพท์แบบนี้สามารถติดต่อโทรศัพท์ได้หลายเครื่อง โดยอาศัยการบอกพนักงานที่ชุมสายโทรศัพท์ให้ทำการต่อสายเครื่องที่โทรออกให้เชื่อมกับสายของหมายเลขที่ต้องการสนทนาได้
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ จึงได้มีการเปลี่ยนชุมสายโทรศัพท์เป็นระบบ step by step ซึ่งถือเป็นชุมสายอัตโนมัติแบบกลไกรุ่นแรกที่ผู้ใช้สามารถหมุนเบอร์ติดต่อถึงกันได้โดยไม่ต้องผ่านพนักงานต่อสาย จากนั้นจึงมีการนำชุมสายแบบ Cross Bar และชุมสายระบบ SPC (Stored Program Control) มาใช้ ซึ่งระบบหลังสุดนี้จะถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
แม้ผู้ใช้โทรศัพท์จะสามารถพูดคุยโต้ตอบกับคนที่อยู่ปลายทาง ติดต่อธุระได้รวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลารอถึงครึ่งค่อนวันแบบโทรเลข แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคแรกๆ มาจนถึงราว ๒๐ ปีก่อน ระบบโทรศัพท์ก็ยังไม่ครอบคลุมหรือเข้าถึงผู้ใช้ในวงกว้าง จำนวนเลขหมายก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน แม้ในเมืองใหญ่ๆ การขอโทรศัพท์สักเลขหมายยังต้องใช้เวลานานนับปี ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการใช้งานค่อนข้างสูง ดังนั้นสำหรับคนทั่วไป การส่งข่าวด่วนด้วยโทรเลขแม้ว่าจะช้ากว่า แต่ก็ถือเป็นทางเลือกเดียวสำหรับคนที่เข้าไม่ถึงระบบโทรศัพท์ โดยเฉพาะคนในชนบทซึ่งโครงข่ายการสื่อสารอื่นๆ ยังไปไม่ถึง
หลายปีต่อมา เมื่อความต้องการด้านการติดต่อสื่อสารเพิ่มมากขึ้น ระบบการสื่อสารชนิดใหม่ๆ จึงถูกนำมาใช้มากขึ้นผ่านหน่วยงานด้านโทรคมนาคมต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายอย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการการสื่อสารไทยในเวลาต่อมา
ทั้งนี้ โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือที่เรียกกันติดปากทั่วไปว่า “โทรศัพท์มือถือ” นั้น มีการแบ่งช่วงเวลาวิวัฒนาการออกเป็นยุคๆ ได้แก่ 1G (First Generation Mobile System) 2G (Second Generation Mobile System) และ 3G (Third Generation Mobile System)


ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 13


หลังจาก “ไอ้โม่ง” เข้ามาแทนที่เครื่องส่งรหัสมอร์สในที่ทำการโทรเลขกลาง มันก็ค่อยๆ ขยับขยายไปยังชุมสายย่อยตามต่างจังหวัดซึ่งมีปริมาณการรับ-ส่งโทรเลขเกิน ๑๐๐ ฉบับต่อวัน โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ๆ เช่นเชียงใหม่ รวมถึงอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
“ส่วนในพื้นที่ห่างไกลที่จำนวนการรับ-ส่งโทรเลขเฉลี่ยต่ำกว่า ๑๐ ฉบับต่อวันก็ยังใช้ระบบเดิม ซึ่งเราก็ต้องหาวิธีจัดการในกรณีที่ต้นทาง-ปลายทางมีเครื่องมือต่างชนิดกัน เช่นถ้าต้องการส่งโทรเลขไปอำเภอห่างไกลแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ก็ต้องเริ่มจากส่งข้อความด้วยโทรพิมพ์ที่กรุงเทพฯ ไปที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ซึ่งมีโทรพิมพ์เหมือนกันก่อน จากนั้นเจ้าหน้าที่ที่นั่นก็จะส่งข้อความต่อเป็นรหัสมอร์สไปยังที่ทำการโทรเลข ณ อำเภอปลายทางที่ผู้รับอาศัยอยู่ ซึ่งที่นั่นก็จะมีเครื่องรับสัญญาณรหัสมอร์สที่สามารถติดต่อกับอำเภอเมืองได้”
ยุคของโทรพิมพ์ดำเนินต่อไปจนมีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ กล่าวคือ ที่ทำการโทรเลขกลางได้ถูกเปลี่ยนเป็นชุมสายโทรเลขอัตโนมัติ (Message Switching Center) โดยมีคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรมขนาดใหญ่เท่าห้องรับแขกมาทำงานแทนระบบการรับ-ส่งโทรเลขแบบเดิม
“สาเหตุหนึ่งที่ต้องมีการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือ ก็เพราะถ้ามัวแต่ใช้ของเก่าคงไม่ทันกิน ตัวอย่างเช่น สมัยแรกเราส่งโทรเลขด้วยรหัสมอร์สฉบับหนึ่งใช้เวลาราว ๑๐ นาทีก็ถึงที่ทำการโทรเลขปลายทาง นี่เร็วแล้วนะครับ มาถึงยุคโทรพิมพ์ก็ใช้เวลาน้อยกว่า ส่วนคอมพิวเตอร์จะเร็วกว่านั้นอีก คือราว ๒ นาทีก็ถึง เรื่องความเร็วนี้ไม่นับรวมเวลาในการจัดส่งให้ถึงมือผู้รับนะครับ เพราะสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับคน”
ในที่สุดคอมพิวเตอร์ก็เข้ามาแทนที่เครื่องโทรพิมพ์ทั้งหมด ที่ทำการโทรเลขทุกแห่งทยอยเปลี่ยนเครื่องรับ-ส่งโทรเลขจากเครื่องส่งรหัสมอร์สและโทรพิมพ์มาเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ชุมสายโทรเลขอัตโนมัติลดกำลังเจ้าหน้าที่จากหลายร้อยคนเหลือเพียงผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์กับผู้ดูแลศูนย์ถ่ายทอดโทรเลขอีกไม่กี่สิบคนเท่านั้น ส่วนที่ทำการไปรษณีย์ต่างๆ ก็มีเจ้าหน้าที่ประจำมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณงาน
แต่ไม่ว่าโทรเลขจะพยายามพัฒนาปรับเปลี่ยนตัวเองไปเพียงไร มันก็ดูจะช้าเกินไปสำหรับโลกที่หมุนเร็วขึ้นทุกวัน...
ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 12

แต่อีกด้านหนึ่งของเหรียญ มิตรภาพระหว่างการทำงานก็เกิดขึ้นได้ “ครั้งหนึ่งผมเคาะรหัสมอร์สส่งโทรเลขไปสระบุรี ฝ่ายรับฟังสัญญาณรับข้อความได้อย่างรวดเร็ว พอส่งข้อความเสร็จเลยถูกใจ เออเขาเก่งแฮะ ก็มีการเคาะรหัสถามชื่อเสียงเรียงนามกัน จากนั้นผมไปเยี่ยมพี่ชายที่สระบุรีทีไรก็ได้พึ่งเขาบ่อยๆ อย่างไรก็ตามเรื่องความผิดพลาด ความขัดแย้ง มันก็เป็นธรรมดาสำหรับคนทำงาน แต่ที่สำคัญต้องไม่พลาดแล้วส่งผลกระทบถึงผู้รับข่าวสาร”
นั่นหมายถึงการส่งข้อความประเภทที่อักษรตัวเดียวผิด แต่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปทั้งประโยค เช่น “แม่หายแล้ว” แต่เจ้าหน้าที่ส่ง “ต” เข้าไปแทน “ห” ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นจริงและสร้างความปั่นป่วนไม่น้อย
“ลูกที่อยู่กรุงเทพฯ ตกอกตกใจ ร้องห่มร้องไห้ เตรียมงานศพเสียเงินมากมายกว่าจะพบว่าแม่ยังมีชีวิตอยู่”
สิ่งที่ต้องทำก็คือ ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าเวรโทรเลขกะนั้นต้องพาลูกน้องที่ทำงานพลาดไปขอโทษผู้เสียหายถึงบ้าน ซึ่งก็ไม่เสมอไปที่จะยอมความกันได้ ยิ่งถ้าหากผู้เสียหายเป็นข้าราชการมีตำแหน่งใหญ่โตด้วยแล้ว เจ้าหน้าที่ก็อาจโดนหักเงินเดือนหรือถูกลงโทษทางวินัยได้ง่ายๆ
“แต่กรณีแบบที่ว่าก็มีน้อยมาก เวลาขอโทษเราก็อธิบายถึงการทำงานของเราให้เขาฟังว่ามันหนักแค่ไหน สมัยนั้นโทรเลขแต่ละวันมีเข้ามาจำนวนมาก กะหนึ่ง ๘ ชั่วโมงนี่ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งอาจต้องส่งโทรเลขถึงเกือบๆ ๕๐ ฉบับ นึกดู ห้องทำงานบนตึกที่ทำการโทรเลขกลางเป็นห้องใหญ่ ยิ่งมีคนส่งโทรเลขมากขึ้น ก็ต้องเพิ่มเครื่องส่งรหัสมอร์สและเจ้าหน้าที่ให้มากขึ้น นั่งเรียงกันเป็นตับ เวียนกันทำงาน ๒๔ ชั่วโมง ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ร้อนขนาดต้องถอดเสื้อทำงาน หลายคนก็กินนอนกันอยู่แถวนั้น เป็นวัณโรคไปเลยก็มี เครียดจริงๆ เพราะต้องใช้สมาธิเคาะและฟังสัญญาณ คนไหนเข้ากะแล้วเจอเข้าสัก ๔๐ ฉบับนี่สลบเลย
“แต่มันก็มีเรื่องที่ทำให้ได้ยิ้มกันอยู่บ้าง อย่างข้อความประเภท ‘มาไม่ต้องมา ถ้าไม่มาให้บอกด้วย’ นี่ก็ส่งกันเยอะ (หัวเราะ) เดาว่าพวกเขาคงมีความสัมพันธ์กัน แต่อย่างว่า เรามีหน้าที่รับแล้วส่งข้อความต่อให้ถึงปลายทาง กระดาษข้อความผ่านไปที่ใครก็ยิ้มกันสนุกสนาน แต่แพร่งพรายไม่ได้เพราะมีระเบียบห้ามไว้”
แต่ในที่สุด บรรยากาศการทำงานแบบนี้ก็ค่อยๆ หายไปเมื่อระบบโทรพิมพ์เข้ามาแทนที่เต็มตัว
“โทรพิมพ์เข้ามาแทนเครื่องส่งรหัสมอร์สอย่างช้าๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ แล้วครับ คนทำงานเรียกชื่อเล่นของมันว่า ‘ไอ้โม่ง’ เครื่องใหญ่มาก มันคือพิมพ์ดีดดีๆ นี่เอง แต่เหมือนโทรศัพท์ตรงที่มีหมายเลขประจำเครื่อง อยากส่งข้อความไปไหนก็กดหมายเลขเครื่องปลายทาง ถ้าทางนั้นออนไลน์ เครื่องจะบอกว่าพร้อมส่ง เราก็พิมพ์ข้อความ การส่งแบบโทรพิมพ์ใช้สัญญาณไฟฟ้าที่ไม่ใช่รหัสมอร์สในการส่งแล้วนะครับ”
ลุงสุรสิทธิ์ออกท่าทางยงโย่ยงหยก “เวลาพิมพ์ต้องใช้แรงเยอะ เสียงจะดังแป๊ะๆๆๆๆ ทำงานกับโทรพิมพ์นี่ก็หนักเหมือนกัน ถึงแม้ปริมาณงานต่อวันจะทำได้มากกว่าสมัยที่ใช้เครื่องส่งรหัสมอร์ส เพราะเป็นการพิมพ์ข้อความโดยตัดขั้นตอนการแปลงข้อความเป็นรหัสมอร์สออกไป แต่จำนวนโทรเลขที่ต้องส่งมันก็เพิ่มขึ้นด้วย กะหนึ่งนี่ผมเคยเจอถึง ๓๐๐ ฉบับมาแล้ว แย่เลย”

ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 11

แม้ในยุคเฟื่องฟูของโทรเลขเมื่อหลายสิบปีก่อน ที่ทำการไปรษณีย์แต่ละแห่งจะมียอดรับ-ส่งโทรเลขนับพันฉบับต่อวัน แต่ดูเหมือนการติดตามร่องรอยเก่าๆ ของโทรเลข โดยเฉพาะโทรเลขที่อยู่ในวิถีชีวิตคนธรรมดาสามัญจะไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนหนึ่งคงเพราะคนส่วนใหญ่ใช้โทรเลขเพื่อแจ้งข่าวสาร เมื่อผู้รับได้ทราบข่าวเหล่านั้นแล้ว โทรเลขที่ไปถึงมือก็ดูจะหมดความหมาย พร้อมจะทิ้งลงถังได้ทุกเมื่อ ทั้งในส่วนต้นทางอย่างกรมไปรษณีย์โทรเลขเวลานั้น หรือแม้ไปรษณีย์ไทยในยุคนี้ หากไม่ใช่โทรเลขที่ใช้ติดต่อทางราชการ สำเนาโทรเลขเหล่านั้นก็จะถูกทำลายทิ้งหลังเก็บรักษาไว้ครบ ๒ ปี เพราะถือเป็นเอกสารที่ห้ามเผยแพร่
ดังนั้น นอกจากโทรเลขไม่กี่ฉบับที่อาจมีผู้เก็บรักษาเอาไว้ด้วยเหตุผลพิเศษบางประการแล้ว ร่องรอยโทรเลขที่เราพอติดตามได้จึงดูจะเหลืออยู่แต่ในความทรงจำของคนรุ่นเก่าที่เคยคุ้นต่อการสื่อสารชนิดนี้ กับคนอีกกลุ่มที่ใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตคลุกคลีอยู่กับมัน ดังเช่นกลุ่มคุณลุงเจ้าหน้าที่ประจำที่ทำการรับ-ส่งโทรเลขนครหลวงใต้ รวมถึงอดีตเจ้าหน้าที่ประจำที่ทำการโทรเลขกลาง ซึ่งเป็นศูนย์กลางระบบโทรเลขของไทย
“มีบ้างเหมือนกันที่คนใช้โทรเลขส่งข้อความแบบอื่นที่ไม่ใช่ข่าวร้าย อย่างเช่น ‘เดินทางถึงที่หมายแล้ว’ ‘ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือ’ แต่ลักษณะนี้รู้สึกว่าเพิ่งมาเกิดขึ้นในช่วงหลัง และต้องเป็นคนที่รู้จักโทรเลขดีแล้วถึงจะใช้งานลักษณะนี้ โดยทั่วไป คนที่นานๆ ใช้ทีหรือนานๆ จะได้รับโทรเลขสักที พอพูดถึงโทรเลขก็มักจะนึกถึงข่าวร้ายก่อนเสมอ”
ลุงสุรสิทธิ์ยังจำบรรยากาศการทำงานในที่ทำการโทรเลขกลางช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้ดี ช่วงนั้นถือเป็นยุคท้ายๆ ของการส่งโทรเลขด้วยเครื่องส่งรหัสมอร์ส เพราะได้มีการนำโทรพิมพ์ (ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๒) มาใช้ส่งโทรเลขแทนเครื่องส่งรหัสมอร์สเป็นส่วนใหญ่แล้ว
“สมัยแรกๆ ใครเชี่ยวชาญรหัสมอร์สจะก้าวหน้าเร็วมาก เพราะถ้าคุณไม่เก่งวิชานี้ เวลาทำงานจะติดๆ ขัดๆ เรื่องนี้ทำให้หน้าตึกที่ทำการโทรเลขกลางสมัยก่อนกลายเป็นสนามมวยประจำ (หัวเราะ)
“เรื่องของเรื่องเกิดจากพนักงานที่ต้นทางกับปลายทางซึ่งต้องทำงานด้วยกันไม่เข้าใจกัน การรับ-ส่งโทรเลขด้วยเครื่องส่งรหัสมอร์ส นอกจากคนส่งต้องชำนาญแล้ว ยังต้องเข้าใจคนรับด้วย เพราะความสามารถของคนเราแตกต่างกัน เช่นส่งจากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัด ปลายทางอาจ ‘เคาะเบรก’ คือกดตัวรับรหัสมอร์สฝั่งเขาค้าง เพื่อบอกว่าฟังสัญญาณไม่ทัน ต้นทางก็ต้องส่งอีกครั้ง พอโดนเบรกบ่อยๆ เข้าก็จะมีการด่าหรือต่อว่ากันด้วยรหัสมอร์สนั่นละ บางคนโดนว่าแล้วโมโห นั่งรถมาจากต่างจังหวัดแล้วเรียกคู่กรณีลงไปคุย เจ็บตัวทั้งคู่ ซึ่งจริงๆ ทุกคนก็พยายามอะลุ่มอล่วยเพราะเกิดเรื่องทะเลาะกันถือว่าผิดวินัยครับ”


ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 10


สมัยยังเด็ก ราวปี ๒๕๐๔ ผมอายุประมาณ ๑๖ ปี เคยรับโทรเลขครั้งหนึ่ง เป็นข่าวการเสียชีวิตของยายซึ่งอยู่ที่ฉะเชิงเทรา ตอนนั้นโทรเลขมาเป็นกระดาษ มีบุรุษไปรษณีย์ใส่เสื้อคอตั้งแขนยาว สวมรองเท้าบูต เป็นคนมาส่ง นับแต่นั้นจึงรู้จักโทรเลขมากขึ้น ทีนี้ได้รับทีไรเป็นตกใจมือสั่น อย่างที่รู้กันว่าโทรเลขใช้สำหรับส่งข่าวสำคัญ ซึ่งก็มักจะเป็นข่าวไม่ดีเสมอ”
สุรสิทธิ์ สุหทัยกุล อดีตเจ้าหน้าที่ที่ทำการโทรเลขกลาง บอกเล่าประสบการณ์ของตนที่มีต่อโทรเลขช่วง ๑๖ ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ให้เราฟัง
ลุงสุรสิทธิ์เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ยังคงจำได้ถึงบรรยากาศเก่าๆ ในยุคที่โทรเลขยังมีบทบาทต่อชีวิตคนไทยอยู่มาก หรือจะเรียกว่าเป็นทางเลือกเดียวในการติดต่อบอกกล่าวข่าวสารสำคัญก็คงไม่ผิดนัก
ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 9

ในยุคนั้นสายโทรเลขยังมีความสำคัญมาก รัฐบาลต้องคอยดูแลรักษาให้ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เห็นได้จากเอกสารโต้ตอบระหว่างพระยาเสถียรฐาปนกิตย์ ปลัดทูลฉลองกระทรวงโยธาธิการ กับพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ กรณีที่มี “ว่าวแลสายป่านไปพันสายโทรเลข” อยู่บ่อยครั้ง โดยกระทรวงโยธาธิการซึ่งดูแลกรมไปรษณีย์โทรเลข ได้รับการร้องเรียนจากปลัดกรมไปรษณีย์โทรเลขว่าพลตระเวนของกระทรวงนครบาลไม่ดูแลกวดขันการเล่นว่าวของราษฎรมากเท่าที่ควร ทำให้ว่าวไปพันสายโทรเลขอยู่บ่อยๆ ต้องคอยแก้สายป่านลงมาเป็นระยะๆ เพราะเป็นอุปสรรคต่อระบบการสื่อสาร โดยในหนังสือราชการดังกล่าวนั้นได้มีการแนบ “ว่าวแลสายป่านซึ่งติดพันสายโทรเลข” ไปด้วย เพื่อยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง และขอให้กระทรวงนครบาลดำเนินการหลังจากร้องขอมาหลายครั้งแล้ว
ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพที่สุดในเวลานั้น โทรเลขจึงได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในหลายด้าน ไม่ว่าในด้านการแจ้งข่าวสารสำคัญ ดังเช่นโทรเลขของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ที่รายงานผลการแข่งรถของ “พระองค์เจ้าพีระ” ราชานักแข่งรถไทย กลับมาที่พระตำหนักในกรุงเทพฯ ด้วยขณะนั้นทรงทำหน้าที่ผู้จัดการคอกรถแข่ง “หนูขาว” ทีมรถแข่งทีมเดียวในประวัติศาสตร์ไทยที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในยุโรปช่วง พ.ศ. ๒๔๗๙-๒๔๘๑
ในเชิงการทูต โทรเลขก็ถูกใช้เป็นสื่อแสดงถึงสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างผู้นำประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้จัดส่งโทรเลขถวายพระพรแด่กษัตริย์ สมเด็จพระราชินี รวมถึงผู้นำประเทศต่างๆ ตามวาระโอกาสอันเหมาะสม อาทิ วันเฉลิมพระชนมพรรษา เทศกาลปีใหม่ ฯลฯ ทั้งนี้ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ยังปรากฏโทรเลขตามธรรมเนียมการทูตของนายปรีดี พนมยงค์ ในนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถึง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมนีเวลานั้น เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ แม้ว่าขณะนั้นนายปรีดีจะทำหน้าที่หัวหน้าเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น ประเทศร่วมฝ่ายอักษะของผู้นำเยอรมนี อย่างลับๆ อยู่ด้วยก็ตาม
นอกเหนือไปกว่านั้น โทรเลขยังได้ก้าวเข้าไปมีบทบาทสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ ที่เด่นชัดคือคราวที่เกิด “กบฏบวรเดช” ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ รัฐบาลคณะราษฎรได้ใช้โทรเลขในการสั่งการข้าราชการหัวเมืองต่อสู้กับฝ่ายกบฏ หลายฉบับมีรายละเอียดเป็นคำสั่งให้ระวังที่ทำการโทรเลขอย่างเข้มงวด บางฉบับเป็นรายงานสถานการณ์ ซึ่งต่อมาถูกส่งไปที่นายกรัฐมนตรีคือ พระยาพหลพลพยุหเสนา ทั้งหมด และปัจจุบัน สำเนาโทรเลขไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ฉบับที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ก็ได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติในฐานะเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์
ที่น่าสนใจก็คือ ความสำคัญของโทรเลขในเชิงยุทธศาสตร์นี้ยังปรากฏให้เห็นต่อเนื่องมาแม้ในยุคหลังที่ระบบการสื่อสารของไทยก้าวหน้าพัฒนาไปจากเดิมมากแล้ว


ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 8

ในช่วงเวลาอันคับขันนั้น ณ อีกซีกโลกหนึ่ง ทูตไทยที่ปารีสได้พยายามทำทุกทางเพื่อโน้มน้าวรัฐบาลฝรั่งเศสให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว จนในที่สุด ทางการฝรั่งเศสก็ได้มีโทรเลขด่วนถึงมิสเตอร์ปาวีและกัปตันเรือรบ ให้ระงับปฏิบัติการเสีย
ทว่า โทรเลขฉบับชี้เป็นชี้ตายนั้นกลับไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง เนื่องจาก
“...ปาวีใช้อุบายของตนแกล้งให้เข้าใจผิด โดยไม่มอบคำสั่งด่วนจากปารีสให้ผู้บังคับการเรือรบ วิธีการของปาวีคือ นำโทรเลขฉบับสำคัญนั้นใส่รวมในถุงจดหมายฉบับอื่นๆ ของเมลปรกติที่ส่งถึงนายทหารบนเรือรบ...” (ไกรฤกษ์ นานา ใน “’ราชการลับ’ เมื่อ ร. ๕ เสด็จประพาสเยอรมนี ไม่ใช่เรื่องลับในยุโรป”, ประวัติศาสตร์นอกพงศาวดารรัชกาลที่ ๕ พระพุทธเจ้าหลวงในโลกตะวันตก, มติชน ๒๕๔๖)
ส่งผลให้เกิดการปะทะกันตามแผนที่ปาวีวางไว้ เรือรบฝรั่งเศสบุกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงหน้าสถานทูตของตนโดยที่ปืนทุกกระบอกอยู่ในสภาพพร้อมรบ เมื่อเหตุการณ์มาถึงขั้นนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสเองก็ต้อง “ตามน้ำ” จนกลายเป็น “นโยบายเรือปืน” ที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
เป็นไปได้หรือไม่ว่า การกระทำของปาวีในครั้งนั้นส่งผลให้รัชกาลที่ ๕ ทรงระมัดระวังในการใช้เครือข่ายโทรเลขระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากขณะเสด็จประพาสยุโรปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ถึงกับทรงมีพระราชโทรเลขด่วนถึงพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม ซึ่งทำหน้าที่ราชเลขานุการคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพฯ ใจความว่า
“ฉันมีความปรารถนาจะให้เธอแบ่งย่อโทรเลขของฉันที่มีไปถึงสมเด็จพระบรมราชินีนารถนั้น ลงพิมพ์ให้ทราบทั่วไปแก่มหาชนอันเป็นที่รักใคร่ของเราเนืองๆ จึงเป็นน่าที่ของเธอที่จะนำคำแปลโทรเลขนั้นถวายสมเด็จพระบรมราชินีนารถ จะทรงเห็นควรว่าส่วนใดเป็นการลับ ซึ่งไม่ควรจะปรากฏเปิดเผยตามแต่จะวินิจฉัยได้ทุกประการ วิธีซึ่งจะให้เป็นการสดวกต่อไปภายหน้านั้น บรรดาโทรเลขสำคัญเซนสยามินทร์นั้นประสงค์จะให้ปรากฏในหนังสือพิมพ์ราชการ แต่โทรเลขที่เซนจุฬาลงกรณ์นั้น ประสงค์ว่าเป็นเฉพาะส่วนตัวและเป็นการลับ...”
ไกรฤกษ์ นานา วิเคราะห์ไว้ว่า “เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีโทรศัพท์ การสื่อสารที่ฉับไวที่สุดคือการส่งข้อความทางโทรเลข ในระหว่างนั้นการติดต่อกลับเมืองไทยต้องส่งผ่านชุมสายเพียง ๒ ประเทศเท่านั้น คือทางพม่า (เมืองมอลแมง) หรือทางเวียดนาม (เมืองไซ่ง่อน) และต้องส่งเป็นภาษาอังกฤษ อันว่าทั้งสองเมืองนี้เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและฝรั่งเศสอยู่ด้วย ความลับทั้งหลายจะถูกหน่วยข่าวกรองของทั้งสองฝ่ายดักอ่านตีความทันทีอย่างไม่ต้องสงสัย...”
ทั้งนี้รัชกาลที่ ๕ ทรงแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการแฝงความลับไว้ในพระราชหัตถเลขา แล้วให้ขุนนางที่ทรงคุ้นเคยตีความเอาเอง การที่พระองค์ทรงเลือกใช้ “โทรเลข” ติดต่อราชการระหว่างประเทศแม้จะทรงระแวงว่ามีการดักอ่าน ก็ด้วยขณะนั้นโทรเลขถือเป็นการติดต่อสื่อสารเพียงชนิดเดียวที่ส่งข่าวสารได้เร็วที่สุด คือถึงมือผู้รับภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ขณะที่จดหมายต้องใช้เวลาเดินทางจากยุโรปถึงเอเชียโดยทางเรือไม่ต่ำกว่า ๒ เดือน


ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 7


ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ประวัติศาสตร์ไทยอาจบันทึกเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ไปอีกแบบ หากโทรเลขจากปารีสฉบับหนึ่งส่งถึงมือผู้รับ
เป็นที่ทราบกันดีว่า สมัยนั้นสยามกำลังเผชิญหน้ากับลัทธิล่าอาณานิคม ดินแดนรอบๆ บ้านเราเวลานั้นล้วนตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสไปแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพม่า กัมพูชา หรือเวียดนาม
ในครั้งนั้นฝรั่งเศสมีท่าทีคุกคามอย่างเห็นได้ชัด จากการที่ส่ง ออกุส ปาวี (Auguste Pavie) หรือที่คนไทยรู้จักในนาม “ม. ปาวี” มาเป็นตัวแทนในอินโดจีน ชายผู้นี้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญที่พยายามดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงซึ่งขณะนั้นยังมีฐานะเป็นประเทศราชของสยาม ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสให้ได้
เมื่อการหาเรื่องกระทบกระทั่งด้วยกำลังทหารในเขตอินโดจีนและยั่วยุให้สยามตอบโต้ (เพื่อให้เรื่องบานปลายแล้วฝรั่งเศสจะได้มีข้ออ้างในการใช้กำลังยึดดินแดน) ไม่เป็นผล ปาวีจึงตัดสินใจขออนุญาตรัฐบาลของตนนำเรือรบบุกเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมประกาศปิดอ่าวไทยทันที
สถานการณ์สยามจึงวิกฤตถึงขีดสุด...
ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 6

เมื่อปฏิเสธมิสเตอร์รีดแล้ว สยามจึงต้องเริ่มวางระบบโทรเลขทันที โดยขอประสานกิจการกับบริษัทแห่งหนึ่งที่ดำเนินกิจการโทรเลขในสหพันธรัฐมลายา (มาเลเซีย) แต่กระนั้นก็ไม่ประสบผลสำเร็จจนต้องหยุดโครงการไปพักใหญ่ มาเริ่มต้นเอาจริงๆ ก็เมื่อเมอซิเออร์กาเนียร์ กงสุลฝรั่งเศส เข้ามาเจรจาในปีเดียวกัน ปรากฏบันทึกใน หนังสือที่ระลึก ๑๐๐ ปี การโทรคมนาคม ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า
“ทางการเมืองไซ่ง่อนปรารถนาจะสร้างสายโทรเลขต่อเข้ามาในประเทศไทย การเดินสายโทรเลขในเขตของไทย รัฐบาลฝรั่งเศสรับเป็นธุระจัดสร้างให้เสร็จ เพียงแต่ขอความช่วยเหลือให้ประเทศไทยตัดเสาที่จะพาดสายให้เท่านั้น เมื่อทำการแล้วเสร็จ ก็จะยกทางสายโทรเลขให้เปล่าตั้งแต่เขตแดนเขมรเข้ามาจนถึงกรุงเทพฯ”
ส่งผลให้ “รัฐบาลอังกฤษซึ่งเป็นคู่แข่งขันกัน ยื่นหนังสือขอให้งดการที่จะรับทำกับฝรั่งเศสเสีย และว่ารัฐบาลอังกฤษที่ประเทศอินเดีย จะขอสร้างสายโทรเลขติดต่อกับไทยเข้ามาทางเมืองทวายบ้าง”
เพื่อตัดปัญหาที่เกิดขึ้น รัชกาลที่ ๕ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างระบบโทรเลขเองทันที โดยให้อยู่ในความดูแลของกรมกลาโหม จากนั้นได้ทำการวางสายโทรเลขสายแรก คือ สายกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ และสายที่ ๒ คือ สายกรุงเทพฯ-บางปะอิน ในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ โดยในระยะแรกจะมีการใช้โทรเลขในทางราชการเท่านั้น กระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๖ จึงเปิดโทรเลขสายตะวันออก (กรุงเทพฯ-ไซ่ง่อน) เป็นบริการสาธารณะ โทรเลขสายนี้ยังถือเป็นสายแรกของไทยที่สามารถติดต่อกับต่างประเทศได้โดยตรงอีกด้วย
นับแต่นั้น โทรเลขก็กลายเป็นระบบการสื่อสารสำหรับคนทุกระดับชั้น ตั้งแต่กษัตริย์ถึงสามัญชน




ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 5


จากหลักฐานทางจดหมายเหตุและเอกสาร สยามรู้จักโทรเลขครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ เมื่อคณะทูตปรุสเซียนำ “ตะแลแกรบ” (Telegraph) สำรับหนึ่งพร้อมของบรรณาการมากมายมาถวายรัชกาลที่ ๔ เพื่อกระชับสัมพันธไมตรี
แต่ความพยายามในการวางระบบโทรเลขนั้นมาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๒ โดยเจ้าพนักงานบริษัทเดินสายโทรเลขอังกฤษสองคน คือ นายวิลเลี่ยม เฮนรี่ รีด (William Henry Read) และนายวิลเลี่ยม เปเตอร์สัน (William Peterson) ได้เข้ามาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ถึงปีนัง แต่การดำเนินการครั้งนั้นก็ล้มเหลวโดยไม่มีการระบุสาเหตุไว้แน่ชัด
ล่วงมาถึงรัชกาลที่ ๕ วิลเลี่ยม เฮนรี่ รีด จึงกลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างระบบโทรเลขในสยามภายใต้เงื่อนไขเดิม แต่ครั้งนี้รัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิเสธ ดังปรากฏในหนังสือ ประวัติและวิวัฒนาการการไปรษณีย์ไทย ว่า “ทรงพระราชดำริพร้อมด้วยเคาซิลว่า ไม่ควรให้มิสเตอร์รีดจัดทำ แต่ครั้นจะไม่ทรงยอมมีพระบรมราชานุญาตตรงๆ คำที่ทรงยอมไว้แต่เดิมในรัชกาลก่อน (รัชกาลที่๔) ก็จะเสียไป จึงทรงบ่ายเบี่ยงไปว่า สยามตกลงจะดำเนินกิจการโทรเลขเอง ไม่อาจอนุมัติให้มิสเตอร์รีดจัดทำได้”
ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขเดิมของรีดระบุว่า หลังจากดำเนินการสร้างสายโทรเลขเสร็จ อังกฤษจะมีสิทธิเต็มที่ในทรัพย์สินและสามารถจัดตั้งบริษัทก่อสร้างและบำรุงรักษาสายโทรเลขที่วางผ่านจังหวัดต่างๆ ได้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบมากเกินไป
ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 4

เวลาที่ผ่านไป นอกจากระบบการรับ-ส่งข้อความจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากแล้ว ในส่วนของคนทำงานเองก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด พ้นไปจากด้านทักษะความชำนาญแล้ว ปัญหายังอยู่ที่จำนวนคนด้วย เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ๆ เข้ามาเป็นทางเลือกของผู้คน ความนิยมในการใช้โทรเลขก็ลดน้อยถอยลงตามลำดับ เมื่อความต้องการลดลง กำลังเจ้าหน้าที่ที่พร้อมให้บริการก็ลดจำนวนลงตาม จากที่เคยมีอยู่หลายสิบคน ก็เหลือเพียง ๑ คนต่อที่ทำการไปรษณีย์ ๑ แห่ง ปราศจาก “บุรุษโทรเลข” ที่พร้อมจัดส่งโทรเลขถึงมือผู้รับในทุกชั่วโมงเช่นที่เคยเป็นมา ต้องอาศัยบุรุษไปรษณีย์ในการส่งโทรเลขผ่านระบบไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) สุดท้าย เครื่องไม้เครื่องมือในการส่ง แม้จะได้รับการพัฒนาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันก็ขาดการบำรุงรักษาจนเกิดปัญหาขัดข้องขึ้นเป็นระยะ โทรเลขวันนี้จึงเป็นการสื่อสารที่ไม่ด่วนอีกต่อไป เพราะบางทีอาจต้องใช้เวลาเกือบ ๕ วัน แทนที่จะถึงมือผู้รับได้ภายใน ๑ วันหรือเร็วกว่านั้น
ปัจจุบัน ดูจะเหลือเพียงที่ทำการรับ-ส่งโทรเลขนครหลวงใต้เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่เครื่องไม้เครื่องมือยังคงพร้อม และเจ้าหน้าที่ยังคงมีประสิทธิภาพแม้ว่าแต่ละคนจะอยู่ในวัยใกล้เกษียณเต็มที อาจเพราะที่ทำการฯ แห่งนี้เป็นที่รวมของ “เจ้าหน้าที่โทรเลข” ตัวจริง ซึ่งทำงานมาตั้งแต่ยุคที่โทรเลขยังอาศัยรหัสมอร์สส่งข้อความ
“เมื่อไม่นานมานี้ มีคนญี่ปุ่นคนหนึ่งขับรถมาจากพัทยา เขาจะส่งโทรเลขกลับบ้าน ต้องมาส่งที่กรุงเทพฯ เพราะที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งที่เขาไปบอกว่าไม่มีบริการ ปัญหามันมากจริงๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่งโทรเลขในที่ทำการไปรษณีย์แห่งนั้นอาจจะเสียแล้วไม่มีการซ่อม ก็น่าเห็นใจเจ้าหน้าที่ที่นั่นนะครับ” เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งเอ่ยอย่างปลงๆ
และอาจด้วยเหตุนี้ บริการโทรเลขที่ซบเซาอยู่แล้วจึงมีสถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก จนแทบไม่เหลือเค้าว่า ครั้งหนึ่งมันเคยเป็นระบบการสื่อสารที่รวดเร็วและทันสมัยที่สุดของสยาม



ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 3

นับย้อนไปในอดีตกระทั่งถึงราว ๒๐ ปีก่อนหน้านี้ ทางเลือกในการสื่อสารของผู้คนยุคก่อนยังมีไม่มากนัก คนต่างจังหวัดที่มาทำงานในเมืองมักจะส่งข่าวกลับบ้านด้วยการเขียนจดหมาย และถ้าเป็นข่าวด่วน ก็จะส่งโทรเลข บริการโทรศัพท์ยังไม่ครอบคลุมและค่าใช้บริการสูง แต่ปัจจุบันพวกเขามีทางเลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ ที่มีเครือข่ายครอบคลุมแทบทุกจุดของประเทศ รวมไปถึงการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถตอบสนองการติดต่อสื่อสาร “ด่วน” ที่โทรเลขเคยมีบทบาทสำคัญได้อย่างสมบูรณ์แบบ
จึงอาจไม่แปลกอะไรที่ทุกวันนี้โทรเลขจะถูกลดความสำคัญลงเหลือแค่เอาไว้ใช้ทวงหนี้เท่านั้น
“ที่เขายังใช้กันอยู่ เพราะมันนำไปเป็นหลักฐานในชั้นศาลได้” เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งกล่าว ก่อนจะบอกเล่าเพิ่มเติมว่า ลูกค้าหลักที่ใช้โทรเลขเหนียวแน่นมาจนถึงทุกวันนี้ ก็คือธนาคารและผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือบางบริษัท ซึ่งเอกชนเหล่านี้จะเช่าสายวงจรที่ติดต่อโดยตรงกับที่ทำการรับ-ส่งโทรเลขนครหลวงใต้ ทำการฝากข้อความผ่านเครื่องมือสื่อสารประเภทต่างๆ อาทิ เครื่องโทรสารหรือเทเลกซ์ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะนำข้อความเหล่านั้นเข้าสู่ระบบการส่งโทรเลข และจัดส่งให้ถึงที่หมายต่อไป
“แต่ละเดือนที่นี่มียอดโทรเลขเข้า-ออกเฉลี่ยเป็นหมื่นฉบับเพราะวงจรพวกนี้” ชัชวาล ทองอบสุข หัวหน้างานรับฝากและนำส่งโทรเลข ที่ทำการรับ-ส่งโทรเลขนครหลวงใต้ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนย่อยของที่ทำการไปรษณีย์กลาง กล่าวพลางหยิบสถิติการรับ-ส่งโทรเลขเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๘ ซึ่งอยู่ที่ ๑๐,๕๖๗ ฉบับออกมาให้ดู
“นอกจากทวงหนี้ ที่เหลือเป็นพวกคำอวยพรจากข้าราชการถึงผู้บังคับบัญชาในโอกาสเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง และอวยพรเนื่องในโอกาสเทศกาลสำคัญซึ่งทุกวันนี้ก็เหลือแบบนี้น้อยเต็มทีแล้ว”
เจ้าหน้าที่อีกคนเสริมว่า “ก่อนหน้านี้สักสิบกว่าปีก่อน จะมีโทรเลขอีกแบบหนึ่งที่ทำรายได้ให้เรามาก เป็นโทรเลขจากจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่เยอะ ช่วงนั้นคนงานนิยมใช้โทรเลขธนาณัติส่งเงินกลับบ้าน เจ้าหน้าที่จะรู้กันเลยว่า วันกลางเดือนกับปลายเดือนจะมีโทรเลขเข้ามาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าวันละ ๑,๐๐๐ ฉบับ เรียกได้ว่ารายได้จากโทรเลขเหล่านี้เลี้ยงคนได้ทั้งกรมทีเดียว แต่วันนี้มันก็ไม่เหมือนก่อนแล้ว”
ทุกวันนี้จะมีคนไทยสักกี่คนที่ยังคงใช้บริการโทรเลข ไม่ต้องนับรวมถึงเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่อาจไม่รู้จักหรือนึกหน้าค่าตาของมันไม่ออก แม้ว่าในความเป็นจริง ไปรษณีย์ไทยยังคงมีบริการด้านนี้อยู่เช่นที่เคยเป็นมานับแต่ยุคแรกที่มีการเปิดบริการโทรเลขเมื่อกว่า ๑๐๐ ปีก่อน
ไม่เพียงกลายเป็นเรื่องไกลตัวของคนรุ่นใหม่ แม้ในบรรดาเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เอง บริการชนิดนี้ก็ดูจะห่างไกลจากความคุ้นชิน หากผู้อ่านไปที่ที่ทำการไปรษณีย์สักแห่งแล้วแจ้งว่าต้องการส่งโทรเลข หากโชคดีว่าที่ทำการฯ นั้นยังมีบริการนี้อยู่ (เครื่องไม่เสีย-ขัดข้อง จนใช้งานไม่ได้) ก็อาจต้องให้เวลาพวกเขาสักครู่ใหญ่เพื่อทบทวนขั้นตอนการทำงาน หลังจากนั้นก็ต้องทำใจรอสัก ๒-๓ วันกว่าโทรเลขจะเดินทางถึงมือผู้รับ



ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 2

ยุควิทยุโทรเลข (พ.ศ. 2447-2469)
ประเทศไทยเริ่มรับเทคโนโลยี “โทรเลข” เข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
พ.ศ. 2447 บริษัทเทเลฟุงเก็น ขออนุญาตทดลองจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขชั่วคราว ที่บริเวณภูเขาทอง และเกาะสีชัง แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ในปีพ.ศ.2450 จอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต นำเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีของอังกฤษมาใช้กรมทหารเรือ
พ.ศ. 2456 ร.6 ให้กระทรวงทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวร ที่ศาลาแดง กรุงเทพฯ และที่ จ.สงขลา
ปี พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงบัญญัติศัพท์คำว่า วิทยุ เพื่อใช้แทนคำว่า ราดิโอ ซึ่งใช้ทับศัพท์กันมาตลอด พร้อมทั้งประกาศใช้ พระราชบัญญัติวิทยุโทรเลขเป็นกฎหมายฉบับแรกเกี่ยวกับกิจการวิทยุกระจายเสียง โดยมีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้กำกับดูแลการนำเข้าเครื่องส่งและการใช้วิทยุโทรเลขในประเทศไทย
พ.ศ.2469 กรม ไปรษณีย์โทรเลข เข้ามาโอนกิจการสถานีวิทยุโทรเลขที่ศาลาแดงและสงขลามาจากกองทัพเรือ รวมไปถึงการโอนพนักงานวิทยุของทหารเรือเข้ามาเป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกรม ไปรษณีย์โทรเลขด้วย และยังมีการขยายงานวิทยุโทรเลขออกไปยังจังหวัดต่างๆ รวม50 สถานี แต่ในขณะนั้นวิทยุโทรเลขยังไม่เป็นที่นิยมของประชาชนมากนักเพราะประชาชนยัง ไม่เชื่อว่าการติดต่อทางวิทยุโทรเลขนั้นจะเป็นไปได้จริง


ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

โทรเลขไทยสู่ยุค3G


รู้จักความเป็นการของการพัฒนาเทคโนโลยีรับส่งวิทยุในต่างประเทศกันไปแล้ว คราวนี้มาดูกันว่า ในประเทศไทย รับเอาเทคโนโลยีวิทยุมาเมื่อไร อย่างไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
ในการจะทำความเข้าใจวิวัฒนาการของกิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยนั้น ควรเข้าใจถึง “บทบาท” ของวิทยุ และการใช้กิจการวิทยุในเรื่องที่แตกต่างกันในแต่ละยุค ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ยุค ดังนี้
ยุควิทยุโทรเลข






(พ.ศ. 2525-ปัจจุบัน)
นักศึกษาสามารถอ่านเรียงไปที่ละยุค หรือ จะเลือกยุคที่ต้องการอ่านด้านบนนี้ก็ได้คะ
ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514

พระอัจฉริยถาพ

การถ่ายภาพ เป็นศิลปะอีกสาขาหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระหฤทัยอย่างจริงจังมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงศึกษาและฝึกฝนการถ่ายภาพด้วยพระองค์เอง จนทรงเป็นนักถ่ายรูปที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง กล้องถ่ายภาพที่ทรงใช้ในระยะเริ่มแรกเป็นกล้องที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัวจึงต้องใช้พระราชวิจารณญาณอย่างรอบคอบละเอียดถี่ถ้วน พร้อมทั้งพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์ จึงทรงถ่ายภาพได้อย่างเชี่ยวชาญ แม้ในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพจะมีวิวัฒนาการขึ้นกว่าสมัยก่อน ก็มิทรงใช้ แต่ยังทรงใช้แต่กล้องคู่พระหัตถ์แบบมาตรฐานอย่างที่นักเลงกล้องทั้งหลายใช้กัน
พระองค์ทรงเชี่ยวชาญแม้กระทั่งการล้างฟิล์ม การอัดและขยายภาพทั้งภาพขาวดำและภาพสี นอกจากนี้ทรงคิดค้นหาเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ในการถ่ายภาพอยู่เสมอๆ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระองค์จึงเป็นผลงานศิลปะที่ล้ำยุค
เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติใหม่ๆ โปรดที่จะถ่ายภาพสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดา โดยเฉพาะเมื่อได้ทรงเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพิงราชนิเวศน์ ซึ่งมีภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะแก่การถ่ายภาพ แต่ในปัจจุบันนี้ พระองค์ทรงมีพระราชภารกิจอันมากมายมหาศาล เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎร ไม่มีเวลาสำหรับการถ่ายภาพมากนัก จะทรงถ่ายภาพก็ได้แต่เฉพาะในคราวที่เสด็จฯ ไปราชการตามสถานที่ต่างๆ เท่านั้น
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้ ทรงใช้เพื่อประกอบการทรงงานของพระองค์ ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ จังหวัดใด ก็จะทรงมีกล้องถ่ายรูปติดพระองค์ไปด้วยเสมอ โปรดถ่ายภาพสถานที่ทุกแห่ง เพื่อทรงเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบงานที่ได้ทรงปฏิบัติ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้ จึงมักเป็นภาพถ่ายซึ่งถ่ายได้ครั้งเดียวด้วยไหวพริบ ไม่มีเวลาจ้องหาแง่มุม แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ เราจึงได้เห็นภาพฝีพระหัตถ์อันคมชัด และศิลปะในการจัดองค์ประกอบของภาพที่ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในการวางแผนปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วทันใจและสามารถแก้ไขเหตุการณ์ของบ้านเมืองได้ทันท่วงที
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ทั้งหลาย ล้วนแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงถ่ายภาพเพื่อศิลปะแต่เพียงอย่างเดียว เพราะแต่ละภาพทรงไว้ซึ่งคุณค่าทางศิลปะและวิชาการ สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง และนำความผาสุกร่มเย็นมาสู่ประชาชนชาวไทยได้อย่างดีอีกด้วย



ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/kingandcamera.htm

เทคนิคการถ่ายภาพ10

♫ CREATIVE
สุดท้ายอยากให้ผู้สนใจ ลองหามุมมองแปลกๆ สวยงาม น่าสนใจ มีความเป็นตัวของตัวเอง เพราะจะช่วยทำให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น หลายครั้งที่เห็นนักถ่ายภาพไปถ่ายภาพในสถานที่ต่างๆ แล้วได้ภาพออกมาเหมือนกันหมด หรือเป็นภาพมุมที่ส.ค.ส. หรือปฏิทิน ตีพิมพ์ออกมาให้เห็นจนชินตา



ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/kind.htm

เทคนิคการถ่ายภาพ9

♫ LOW KEY
ภาพที่มีโทนสีดำมาก และมีสีตัดกันสูง ภาพจะดูลึกลับ สะดุดตา น่าสนใจ อาจใช้แสงจากธรรมชาติโดยแสงเข้าในทิศทางเดียว หรือกระทบวัตถุที่จะถ่ายเพียงด้านเดียว โดยวัดแสงที่จุดกระทบของแสง คือ วัดแสงใกล้ๆ กับวัตถุ แล้วถอยกล้องออกมาถ่าย โดยไม่ต้องปรับรูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์อีก


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/kind.htm

เทคนิคการถ่ายภาพ8

♫ NIGHT PICTURE
หรือการถ่ายภาพไฟกลางคืนที่สวยงาม จะได้ภาพที่แปลกตา
วิธีการถ่ายภาพ
1.ติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง พร้อมติดตั้งสายลั่นชัตเตอร์ให้พร้อม
2.ส่องกล้องหาทิศทางในการถ่ายภาพ ให้ได้มุมที่เหมาะที่สุด
3.คาดคะเนสภาพแสง เพื่อกำหนดเวลาและรูรับแสง (ถ้าเป็นไฟตามถนนปกติ จะใช้ประมาณ 5.6 หรือ 8)
4.ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B ลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ให้รถวิ่งผ่านจนเป็นที่พอใจ ประมาณ 10-60 วินาที หรือถ้าทิ้งช่วงเวลานาน จะใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้ก่อนก็ได้
การถ่ายภาพไฟกลางคืน ควรถ่ายเผื่อหลายๆ ภาพ ใช้เวลาในการบันทึกภาพและขนาดรูรับแสงต่างๆ กัน และจดบันทึกไว้จะดีที่สุด และควรฝึกหัดเป็นประจำเพราะต้องอาศัยความชำนาญสูงในการถ่ายภาพประเภท



ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/kind.htm