วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 14

จาก ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของระบบเครือข่ายสื่อสารไร้สายทำให้มีการคาดหมาย ไว้ว่า ระบบเครือข่ายไร้สายในยุคที่ 4 จะเข้ามาในอีกไม่เกิน 8-10 ปี ซึ่งจะเป็นวิวัฒนาการที่แตกต่างไปจากการพัฒนาในยุค 2.5G และ 3G โดยจะเน้นไปที่การรวมเอาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าด้วยกัน อย่างลงตัวไม่ว่าจะเป็น GSM แลนไร้สาย บลูทูธ หรือแม้กระทั่ง RFID
ถ้า จะเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีในยุค 3G ที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนามาตรฐานใหม่และวิวัฒนาการด้านฮาร์ดแวร์ของเครื่อง โทรศัพท์มือถือแล้วนั้นเทคโนโลยีในยุค 4G จะเน้นทางด้านการใช้งานและรูปแบบบริการส่วนบุคคลรวมถึงความเสถียรและคุณภาพ ในการให้บริการเป็นหลักแต่อย่างไรก็ตามเส้นทางในการก้าวไปสู่ยุค 4G นั้นก็ยังมีความท้าทายที่รออยู่หลายด้านอันจะได้กล่าวถึงต่อไป

ใน ช่วงสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความสำเร็จของระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 2G ที่ได้ขยายตัวไปทั่วทุกมุมโลกอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นเหตุให้มีการพัฒนา เทคโนโลยีสำหรับยุค 3G ตามมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยตัวอย่างเทคโนโลยียุค 2G ที่เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายนั้นได้แก่ GSM, IS-95 และ cdmaOne ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการสื่อสารด้านเสียงและการส่ง ข้อมูลแบบ low-bit-rate ส่วนระบบในยุค 3G นั้นได้ถูกออกแบบมาให้รองรับบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงสำหรับการรับ -ส่งข้อมูลและวิดีโอ

และในช่วงกลางระหว่างการเปลี่ยนแปลงจากยุค 2G ไปเป็นยุค 3G นั้นก็ได้มีวิวัฒนาการด้านระบบสื่อสารไร้สายมากมายหรือที่เรามักจะเรียกกัน ว่าเป็นเทคโนโลยีในยุค 2.5G ซึ่งมีความสามารถในการรองรับการสื่อสารและบริการด้านข้อมูลมากขึ้น เช่น GPRS, IMT-2000, บูลทูธ, แลนไร้สาย IEEE 802.11, ไฮเปอร์แลน และ ไวแม็ก (WIMAX) โดยแต่ละเทคโนโลยีนั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีความสามารถเฉพาะเจาะจงกับการ ใช้งานและการบริการเฉพาะทาง ซึ่งต่างก็มีจุดเด่นที่ไม่สามารถที่จะหาเอาเทคโนโลยีอันหนึ่งอันใดมาแทนการ ใช้งานของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้

ดังนั้น สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีในยุค 4G นั้นแทนที่จะมุ่งพัฒนาในด้านเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุอย่างที่เคยทำมาทั้ง กับเทคโนโลยีในยุค 2.5G และ 3G ก็ได้มีแนวคิดใหม่สำหรับระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 4G ซึ่งน่าจะเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีไร้สายต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นระบบเดียวและน่าจะเป็นวิธีที่มีความเป็นไปได้มาก ที่สุดโดยในปัจจุบันนี้ทีมวิจัยของบริษัทชั้นนำอย่าง NTT DoCoMo ก็กำลังดำเนินการวางกรอบของเทคโนโลยียุค 4G ในอนาคตอยู่เช่นกันแต่สุดท้ายแล้วจะออกมาเป็นแบบใดก็คงต้องติดตามกัน

ถ้า จะลองนึกภาพของเทคโนโลยียุค 4G นั้นก็น่าจะเป็นระบบเครือข่ายที่เป็น IP-based ทั้งหมดซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงระบบได้ทุกที่ทุกเวลาโดยอาศัย เครื่องโทรศัพท์ที่สามารถใช้งานได้กับทุกเทคโนโลยีและแอพพลิเคชันต่างๆบน โครงข่ายไร้สายทุกประเภทเหมือนๆ กับแนวคิดของโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานได้แบบ Quad-Band ในปัจจุบัน แต่จะมีความสามารถมากกว่าในการรวมเอาหลากหลายเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน

นอก จากนี้ เทคโนโลยียุค 4G นั้นควรที่จะเน้นในการให้บริการด้านโทรคมนาคมรวมถึงการสื่อสารข้อมูลและ มัลติมีเดียด้วยโดยมีปัจจัยหลักในการให้บริการมัลติมีเดียที่ต้องการบริการ สื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านระบบที่มีความเสถียรรวมทั้งการบริการด้านเสียง และแอพพิเคชันแบบ low-bit-rate ที่จะต้องทำงานไปด้วยกันได้อย่างปกติด้วย

ทุก วันนี้จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากและถ้าคิด ไปถึงอีก 5 ปีข้างหน้าก็เป็นไปได้ว่าคงจะมีอัตราการใช้งานมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่จะมีโทรศัพท์แบบพกพาใช้กัน ซึ่งนี่จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่เทคโนโลยีในยุค 4G ต้องมีการเตรียมการสำหรับรูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมของผู้ใช้แต่ละบุคคล คือ จะเป็นการสร้างรูปแบบบริการต่างๆ ให้กับกลุ่มผู้ใช้แบบเฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า Personalized Service

ทั้ง นี้ เนื่องจากว่าเมื่อฐานผู้ใช้บริการกว้างขึ้นก็จะทำให้เกิดความหลากหลายของวัย อาชีพ รสนิยม วิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ให้บริการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างรูปแบบบริการที่สามารถสนองตอบต่อ ความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มให้ได้

ลองจินตนาการดูว่าถ้าผู้ใช้ โทรศัพท์ยุค 4G ที่กำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับตารางเวลาภาพยนตร์จากโรงภาพยนตร์ที่ใกล้ที่สุด ซึ่งผู้ใช้นั้นสามารถที่จะใช้โทรศัพท์มือถือทำการเชื่อมต่อกับระบบไร้สายภาย นอกหลายๆ ระบบได้ ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยระบบพิกัดสถานที่ (Global Positioning System, GPS) สำหรับระบุตำแหน่งของผู้ใช้ในการเลือกโรงภาพยนตร์ที่ใกล้ที่สุด และระบบแลนไร้สายที่สามารถเชื่อมต่อกับฮอตสปอตที่ใกล้ที่สุดในการโหลด ตัวอย่างภาพยนตร์ และตารางฉายขึ้นมาดูรวมไปถึงระบบโทรศัพท์มือถือแบบซีดีเอ็มเอ (Code-Division Multiple Access, CDMA) สำหรับการโทรศัพท์ไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับโรงภาพยนตร์นั้นๆ

ตัวอย่าง การใช้งานที่ได้กล่าวไปนั้นแท้จริงแล้วเป็นการใช้บริการต่างๆ จากหลากหลายผู้ให้บริการซึ่งแอพพลิเคชั่นแต่ละอย่างก็มีความแตกต่างทั้งใน ส่วนของระดับความปลอดภัยของข้อมูล การตั้งค่าของเครื่องลูกข่าย วิธีการคิดค่าใช้บริการซึ่งจริงๆ แล้วก็น่าจะเป็นการดีถ้าทุกสิ่งทุกอย่างนี้สามารถรวมกันได้ในแอพพลิเคชั่น ของเทคโนโลยีในยุค 4G แต่ก็ต้องรอให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถสื่อสารได้กับทุกเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น GSM GPRS CDMA UMTS หรือ แลนไร้สาย ตลอดจนต้องมีส่วนเชื่อมต่อที่สามารถใช้งานได้กับ สมาร์ตการ์ดหรือการ์ดหน่วยความจำต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คงต้องมีการใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมการทำงานที่สามารถปรับ ให้เครื่องลูกข่ายสื่อสารกับทุกๆ เทคโนโลยีให้ได้

การโรมมิ่ง ระหว่างเครือข่ายผู้ให้บริการต่างๆ เช่น จากแลนไร้สายภายในอาคารสำนักงานออกไปสู่ระบบ GSM เมื่อก้าวออกนอกสำนักงานและผ่านระบบแลนไร้สายอีกครั้งเมื่อนั่งอยู่ใน รถไฟฟ้าใต้ดินโดยทั้งหมดนี้จะต้องมีการกำหนดวิธีการส่งต่อ (hand-off) ระหว่างโครงข่ายต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยีเครือข่ายที่ได้มีการพัฒนามาช่วยในเรื่องนี้ก็คือ Mobile IPv6 (MIPv6) โดยนับได้ว่าเป็นมาตรฐานโพรโตคอลสำหรับ IP-Based ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้หลักการมาตรฐานของ IP version 6 (IPv6) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีการใช้งานใช้เชิงพาณิชย์ภายในไม่เกิน 1-2 ปีข้างหน้า

ส่วน ระบบการเรียกเก็บค่าบริการของผู้ให้บริการที่หลากหลายนั้นก็ต้องมีการเตรียม การล่วงหน้า ซึ่งดูแล้วคงจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างในปัจจุบันที่จะคิดค่าบริการแบบเหมาจ่าย คิดตามจำนวนเวลาหรือปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง เพราะเมื่อมีบริการมากมายจากหลากหลายผู้ให้บริการแล้วความซับซ้อนของระบบ Billing System ที่อยู่เบื้องหลังนั้นคงจะเป็นเรื่องปวดหัวไม่เบาสำหรับนักการตลาดและนัก พัฒนาโปรแกรม

ทั้งนี้ เนื่องจากว่าผู้ใช้บริการไม่ได้ผูกติดอยู่กับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง อย่างในปัจจุบันแต่จะเป็นลูกค้าของผู้ให้บริการทุกรายที่รวมอยู่ในระบบ 4G และแนวทางหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือต้องมีบริษัทกลางที่ทำหน้าที่เป็น Broker ในการรับชำระค่าใช้บริการและนำไปแบ่งจ่ายให้กับผู้ให้บริการแต่ละรายต่อไป ซึ่งก็คงจะคล้ายๆ กับบริษัท Broker ในการซื้อ-ขายหุ้นในปัจจุบันนั่นเอง

สำหรับ อัตราค่าใช้บริการนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความซับซ้อนและอ่อนไหวมาก เพราะจะต้องเหมาะสมในด้านธุรกิจ การตลาดและระบบ Billing System ที่จะต้องมีความคล่องตัวมากพอในการปรับแต่งค่าต่างๆ ตามโปรโมชั่นและแผนการตลาดของผู้ให้บริการแต่ละราย นอกจากนี้ยังมีอีกแนวความคิดหนึ่งที่เทคโนโลยีในยุค 4G น่าจะมีออกมาให้บริการได้ซึ่งนั่นก็คือ Personal Mobility ที่การสื่อสารไม่ได้ยึดติดอยู่กับอุปกรณ์ PDA โน้ตบุ๊ก หรือโทรศัพท์มือถือแต่จะเป็นการติดตามตัวผู้ใช้บริการเอง

เช่น ถ้ามีการส่งวิดีโอเมล์ไปให้ผู้รับตัวระบบจะตรวจสอบว่าในเวลานั้นๆ ผู้ใช้กำลังทำอะไรและอยู่ที่ใดแล้วจึงค่อยส่งวิดีโอเมล์นั้นไปยังอุปกรณ์ที่ กำลังทำงานอยู่ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ใดหรือกำลังใช้อุปกรณ์อะไรอยู่ก็ ตามข้อความก็จะสามารถส่งถึงผู้รับได้อย่างถูกต้อง

ถึงจุดนี้ก็น่า ที่จะสรุปได้ว่าการพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีเครือข่ายในยุค 4G นั้นต้องมีการศึกษาและพัฒนาในด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มใหญ่คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ของเครื่อง โทรศัพท์มือถือที่จะต้องมีความสามารถในการเลือกสื่อสารกับระบบไร้สายต่าง ได้ และสำหรับในส่วนที่สองคือ ด้านระบบที่จะต้องมีการส่งต่อการให้บริการ (hand-off) ระหว่างโครงข่ายตลอดจนสามารถรักษาระดับคุณภาพของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ไม่ว่าจะมีการส่งต่อการให้บริการไปอย่างไร

ในส่วนสุดท้ายก็คือ ระบบ Billing System และบริการติดตามผู้ใช้ Personal Mobility ที่จะต้องอาศัยความสามารถของซอฟต์แวร์ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกชิ้น ในระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถบรรลุจุดประสงค์ในการสร้างบริการรูปแบบใหม่ๆ ต่อไปได้

ที่มา:http://www.ecommerce-magazine.com/index.php?option=com_content&task=view&id=328&Itemid=37

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 13

สุดยอดสมรรถนะกับระบบสื่อสารยุค 4G


จากความสำเร็จในการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 3G ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายระบบตามคุณสมบัติทางเทคนิคที่แตกต่างกันไปภายใต้กลุ้ม IMT-2000 (International Mobile Telecommunications for the yeer 2000) ทำให้บริษัทผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มีรูปแบบบริการใหม่ ๆ เสนอต่อผู้ใช้ได้หลากหลาย ดังที่เราจะเห็นบริการใหม่ ๆ ที่มีในโฆษณาต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทผู้ให้บริการได้ทำการพัฒนา หรืออัปเกรดโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือไม่

ขณะเดียวกันเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้ก็ต้องมีคุณสมบัติรองรับการ ใช้บริการต่าง ๆ จึงจะสามารถใช้บริการนั้น ๆ ได้ และในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ บริษัทชั้นนำต่าง ๆ ที่ทำธุรกิจด้านระบบสื่อสารทั่วไป มีทั้งบริษัทที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ และบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ ได้มีการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อจากยุค 3G อย่างต่อเนื่อง จนเข้าสู่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สี่หรือระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G เพื่อให้โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น

ที่มา:http://kmcenter.rid.go.th/kcitc/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=174:-4g&catid=22:2009-09-03-06-53-44&Itemid=15

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 12

ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ของ GSM กับ CDMA นั้น ยังคงแข่งขันกันอยู่ต่อไป กล่าวคือ

GSM จะพัฒนาสู่ 4G โดยใช้รูปแบบการเข้าถึง (access type) เป็น UMTS LTE (Universal Mobile Telephone System – Long term Evaluation) คาดหมายว่า จะสามารถทำความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ได้ที่ 100 mbps / 50 mbps

ในขณะที่ CDMA ใช้รูปแบบการเข้าถึงเป็น CDMA EV-DO Rev.C (กล่าวคือ เป็น UMB หรือ Ultra-mobile broadband) และมีความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ที่ 129 mbps / 75.6 mbps

ตัวเลขความเร็วของทั้งสองค่ายจะเป็นราคาคุยหรือไม่คงต้องติดตามผลกันต่อไป

หาก 4G จะเกิดจากการรวม WiMax เข้ากับ 3G

ท่ามกลางกระแสการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย

นัก วิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงขนาดที่ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาด ส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการไวแมกซ์เกิดขึ้น ในตลาดได้ง่ายๆ ประกอบกับบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการไวแมกซ์ เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการไวแมกซ์ กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็นธรรม และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น

หากจะรวมกันจริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังมีความเชื่อว่า 3G คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็วอิเธอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN – local area network) กับแวน (WAN – wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และ WiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน

โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps

สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มี หลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับ หนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนัก การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย) การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มีปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น

จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าในขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3G และ WiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4G หากกลุ่มที่พัฒนา 4G ไม่รีบชิงพัฒนา 4G หนีการรวมตัวกับ WiMAX ไปเสียก่อน


ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24248

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 11

แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่ หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps

ทำไมจึงอยากได้ 4G

เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้

1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น

2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G

3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability

4. ค่าใช้จ่ายถูกลง

5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย

พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ

หาก พิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิ ทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้างล่างนี้


ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24248

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 10

4G ( Forth Generation )

เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีก เครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที

ลักษณะเด่นของ 4G

4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ “ดิจิตอลคอนเทนต์” เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ ดังนั้น การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3G ก่อนคู่แข่ง น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด

ความ โดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็น เครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่ เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ

อย่าง ไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้

ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น “interim 4G” หรือ 4G เฉพาะกิจ เพื่อไปเร่งพัฒนา “4G ตัวจริง (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน

ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24248

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 9

WCDMA
วายแบนด์ซีดีเอ็มเอ - Wideband Code-Division Multiple Access

เป็นเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่มีมาตรฐานตามข้อ กำหนดของไอทียู และเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อว่า IMT-2000 WCDMA เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระบบไร้สายในยุคที่ 3 และมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแบบไร้สายผ่านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ ไร้สายความเร็วสูง โดยมีประสิทธิภาพการทำงานเหนือกว่าเทคโนโลยีทั่วไปที่ใช้ในตลาดในปัจจุบัน

วายแบนด์ซีดีเอ็มเอมีประสิทธิภาพในการสื่อ สารรับส่งสัญญาณเสียงภาพข้อมูลและภาพวิดีโอด้วย ความเร็วสูงถึง 2 เมกกะบิตต่อวินาที แต่สำหรับการให้บริการในปัจจุบันความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 384 กิโลบิตต่อวินาที (แนวกว้าง wide area access) โดยสัญญาณขาเข้าจะถูกแปรเป็นสัญญาณดิจิตอลและส่งไปเป็นรหัสผ่านแถบคลื่น สัญญาณกระจายไปสู่คลื่นความถี่ต่างๆ
ผู้ให้บริการเทคโนโลยีนี้จะใช้แถบ คลื่นสัญญาณที่ 5 MHz ซึ่งต่างจากผู้ให้บริการที่ให้บริการเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอในย่านความถี่แคบ ที่ใช้ช่องสัญญาณที่ 1.25 MHz

NTT DoLoMo เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการ WCDMA ในเชิงพาณิชย์ ในปี 2001 จนในปัจจุบันมีผู้ให้บริการถึง 65 รายทั่วโลก

พัฒนาการก้าวต่อไปของเทคโนโลยี WCDMA จะนำไปสู่ความสามารถในการส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงขึ้น ซึ่งเรียกว่า HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 1.8 - 14.4 Mbps


การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี GSM

WCDMA เป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM การพัฒนาสู่ 3G ของระบบ GSM นั้นจะต้อง "เปลี่ยน" ระบบไปเป็น WCDMA

และเพราะ WCDMA เป็นการพัฒนาเข้าสู่ 3G ของระบบ GSM นี่เอง ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งหลาย กำหนดให้ระบบ GSM สามารถ ทำงานร่วมกับระบบ WCDMA ได้ ในช่วงที่กำลังเกิด "รอยต่อ" หรือ ช่วง "พลัดเปลี่ยน" เทคฯ และเหตุนี้เองจึงทำได้เกิดมือถือแบบ Dual Mode (GSM/WCDMA) ขึ้นมาอย่างที่เราเห็นๆกันอยู่

"เราจึงเรียก WCDMA ว่าเป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM"


ส่วนระบบ cdma2000 มันพัฒนามาจาก cdmaOne <หรือ cdma ธรรมดา (IS-95)>
และการพัฒนาสู่ 3G ของเจ้า cdma นี้ "ไม่ต้อง" เปลี่ยนเทคฯ การพัฒนาจึงแค่ "อัพเกรด" ไปตามสเตปของมันดังนี้...

cdma > cdma2000 1x > cdma2000 1xEV-DO ฯลฯ


...พูดง่ายๆก็คือเทคโนโลยีมันมาคนสายกันเรียกว่า "ฝั่งใครฝั่งมัน"


ภาพนี้เป็น Road Map ของการพัฒนาจาก 2G สู่ 3G
ของทั้ง 2 ฝั่งเทคโนโลยี


ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24247

เทคโนโลยีไร้สาย ยุค1G - 4G 8

CDMA2000 1xEV-DO

ย่อมาจาก First Evolution, Data Optimized

โดยระบบ 1x EV-DO เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่มีระบบการส่งสัญญาณข้อมูลแบบแพคเก็ต ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง ต้นทุนต่ำเหมาะสำหรับผู้บริโภคทั่วไปรวมถึงผู้ใช้ที่ต้องการรับ - ส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ อินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ได้ครอบคลุมพื้นที่กว้างไกล

1xEV-DO เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี CDMA 2000 และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล CDMA 2000 ที่ได้รับการยอมรับจากสมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( ITU ) ให้เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน การสื่อสารไร้สาย ยุค 3 G

CDMA 20001xEV-DO ให้บริการรับ-ส่งข้อมูลไร้สาย ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง พร้อมด้วยรูปแบบการใช้งานที่ง่ายโดยมีลักษณะการทำงาน ที่ใกล้เคียงกับการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย อุปกรณ์การสื่อสารที่รองรับระบบ ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ การสื่อสารไร้สายประเภทอื่น ๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ เครื่องพีดีเอที่รองรับการทำงานทั้งข้อมูลและเสียง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค รวมถึงโมเด็มสำหรับรับ -ส่งข้อมูลได้แก่ การ์ด PCMCIA และโมเด็มแบบ stand-alone

การ ใช้งานเทคโนโลยี 1xEV-DO เชิงพาณิชย์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2545 จวบจนกระทั่งในปัจจุบัน มีผู้ใช้ บริการการสื่อสารเคลื่อนที่ระบบ 1xEV-DO มากกว่า9 ล้านคน และคาดว่าจะผู้เปิดให้บริการระบบนี้ อีกหลายเครือข่ายภายในปีนี้ และปีหน้า

สำหรับผู้ที่ต้องการบริการส่งข้อมูลความเร็วสูง หรือต้องการเพิ่ม ประสิทธิภาพการส่งข้อมูล ระบบ CDMA2000 1xEV-DO จะ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่า Mbps โดยมีค่า เฉลี่ยความเร็วมากกว่า 700 kbps เทียบเท่ากับการส่งสัญญาณ ด้วยสายแบบ DSL และมีความเร็วเพียงพอที่จะรองรับการใช้งาน ที่ต้องการประสิทธิภาพ ในการส่งข้อมูลความเร็วสูง อาทิ ภาพ วิดีโอ และการดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งนี้ การส่งข้อมูลด้วย ระบบ CDMA20001xEV-DO นับเป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูล ที่มีต้นทุนต่ำสุด เมื่อคิดเป็นต้นทุนต่อเมกะไบต์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายเป็นที่แพร่หลาย อย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ 1xEV-DO ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบ แพคเก็ท "always-on" ซึ่งช่วยให้การใช้ระบบไร้สาย มีความ สะดวกรวดเร็ว และเกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา

ที่มา:http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24246