วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 8

ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน กล้องดิจิตอลมีการพัฒนาอย่างมาก ในแต่ละปีมีกล้องรุ่นใหม่ๆ จากหลายสิบยี่ห้อนับร้อยรุ่น ตั้งแต่กล้องคอมแพคตัวเล็กๆ จนถึงกล้องรุ่นใหญ่สำหรับมืออาชีพ ความละเอียดเพิ่มมากขึ้นจาก 2, 3, 4 เป็น 5 ล้านพิกเซล กล้องคอมแพคบางรุ่นในวันนี้ เช่น Sony DSC-F828 มีความละเอียดสูงถึง 8 ล้านพิกเซล ส่วนดิจิตอล SLR ก็ขึ้นไปถึง 14 ล้านพิกเซลใน Kodak DSC-Pro14n กล้องรูปทรงแปลกๆ ใหม่ๆ ถูกผลิตออกมามากมาย บางรุ่นบางเฉียบเหมือนบัตรเครดิต บางรุ่นหน้าตาแทบไม่ต่างกับกล้องใช้ฟิล์ม แต่ที่น่าสนใจมากคือในขณะที่คุณภาพดีมากขึ้น ราคากลับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกล้องดิจิตอล SLR ระดับ 6 ล้านพิกเซล จากราคานับล้านบาทเมื่อสี่ปีก่อน เหลือไม่ถึงห้าหมื่นบาทในปีนี้ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การ์ด CF 128 MB ที่มีราคาประมาณ 20,000 บาทในปี 2000 ถึงปีนี้ลดเหลือเพียงพันกว่าบาทเท่านั้น ส่งผลให้ตลาดกล้องดิจิตอลมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเดิมในปี 1996 มียอดขายกล้องดิจิตอลทั่วโลกประมาณ 1 ล้านตัว แต่ในปี 2002 ที่ผ่านมา มียอดขายมากกว่า 30 ล้านตัว ส่วนในเมืองไทยของเราก็มียอดขายนับแสนตัวและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน



ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 7


ปี 1998 ในปีนี้กล้องดิจิตอลถูกผลิตขึ้นมากอีกกว่าหนึ่งเท่าตัว ส่วนใหญ่มีความละเอียด 1.2-1.5 ล้านพิกเซล โดยมีกล้องที่โดดเด่นคือดิจิตอล SLR ของโกดักรุ่น DCS 520 ใช้บอดี้ Canon ES1N ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล จัดเก็บภาพด้วยฮาร์ดดิสก์ PCMCIA Type III 340 MB
ปี 1999 ตลาดกล้องดิจิตอลเติบโตขึ้นมาก ในแต่ละเดือนมีกล้องรุ่นใหม่ๆ หลายสิบรุ่น ส่วนใหญ่มีความละเอียดที่ 2 ล้านพิกเซล เพียงพอกับการนำไปอัดขยายภาพขนาด 4 x 6 นิ้ว ให้คุณภาพดีพอสมควร แม้ว่าจะยังห่างไกลกับการใช้ฟิล์ม แต่ก็พอยอมรับได้ และ Olympus ก็เปิดตัวกล้องตระกูล C เป็นครั้งแรกในรุ่น C-2020

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 6

ปี 1997 เป็นปีที่มีกล้องดิจิตอลจากผู้ผลิตนับสิบยี่ห้อ ทั้งจาก Nikon, Canon, Minolta, Olympus, Kodak, Fujifilm, Casio, Epson, Konica, Kyocera, Panasonic, Ricoh, Samsung, Sanyo, Sony, Sharp, Toshiba, Vivitar และอื่นๆ อีกมากมาย กล้องส่วนใหญ่ให้ขนาดภาพ 640 x 480 พิกเซล มีเพียงบางรุ่นที่เกิน 1 ล้านพิกเซล เช่น Olympus Camedia C-1400L ความละเอียด 1.4 ล้านพิกเซล ออกแบบรูปทรงเป็นตัวแอล (L) คล้ายกับกล้อง SLR Kodak DC210 ความละเอียด 1 ล้านพิกเซล จัดเก็บภาพด้วยการ์ด Fuji DS-300 ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล






ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 5

ปี 1986 หรืออีกสองปีต่อมา Canon ก็ผลิตกล้องภาพนิ่งวิดีโอออกจำหน่ายให้กับนักถ่ายภาพมืออาชีพเป็นครั้งแรก ในรุ่น RC-701 โดยมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ช่างภาพข่าวเป็นหลัก ช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น โดยชื่อรุ่น RC มาจากคำว่า Realtime Camera หรือกล้องที่ได้ภาพทันทีนั่นเอง มีเลนส์ซูมขนาด 11-66 มม. f/1.2 ราคา 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ถ้ารวมอุปกรณ์รับส่งภาพทางสายโทรศัพท์ครบชุดจะมีราคา 27,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ขนาดของ CCD คือ 6.6 x 8.8 มม. ความละเอียด 187,200 พิกเซล ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 1-10 เฟรม/วินาที ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ และกล้องรุ่นนี้ได้ถูกช่างภาพข่าว Tom Dillon ของหนังสือพิมพ์ USA Today ถ่ายภาพและตีพิมพ์เป็นภาพข่าวสีภาพแรกที่บันทึกด้วยกล้องภาพนิ่งวิดีโอ โดยบรรณาธิการภาพข่าวได้เห็นภาพดังกล่าวหลังจากที่ช่างภาพบันทึกไปแล้วในเวลาเพียง 12 นาทีเท่านั้น ทางสมาคมนักข่าวของอเมริกา เล็งเห็นประโยชน์ของภาพดิจิตอลกับงานข่าว จึงวางแผนที่จะเปลี่ยนการส่งภาพข่าวจากระบบอะนาล็อกมาเป็นดิจิตอลเพราะช่วยประหยัดเวลาในการส่งภาพได้ถึง 90% ทีเดียว




ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 4

ปี 1981 Sony เปิดตัวกล้องถ่ายภาพที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ถ่ายภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ต้องใช้ฟิล์ม แต่ยังไม่ใช่กล้องดิจิตอล เป็นเพียงกล้องโทรทัศน์หรือกล้องภาพนิ่งวิดีโอ จัดเก็บภาพด้วยแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 2 นิ้ว ใช้ชื่อว่า Sony Mavica (Megnetic Video Camera) บันทึกด้วย CCD ให้ภาพที่มีความละเอียด 570 x 490 พิกเซล (ขนาดของชิพคือ 10 x 12 มม.) ความไวแสงเทียบเท่า ISO 200 ปี

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 3


ปี 1976 Canon ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพ 35 มม. SLR ตัวแรกของโลกที่มีไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น AE-1 สำหรับการประมวลผลและควบคุมการทำงาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกล้องระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบในวันนี้ อีกห้าปีต่อมา Pentax ก็ผลิตกล้องรุ่น ME-F ที่ใช้เลนส์ออโต้โฟกัสในกล้อง SLR เป็นตัวแรกของโลก

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 2


ในปี 1974 ก็มีการใช้เทคโนโลยี CCD ร่วมกับกล้องเทเลสโคบขนาด 8 นิ้ว บันทึกภาพดวงจันทร์ด้วยระบบดิจิตอลเป็นภาพแรกที่ความละเอียด 100 x 100 พิกเซล

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล

นับตั้งแต่ที่มีการคิดค้นการถ่ายภาพ จนปรากฏภาพถ่ายแรกของโลกที่เรารู้จักและมีหลักฐานมาถึงวันนี้ในปี ค.ศ.1825 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว กล้องถ่ายภาพมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาอย่างช้าๆ

เริ่มจากกล้องสำหรับผู้ใช้ทั่วๆ ไปตัวแรกของโลก คือ Daguerrotype ในปี ค.ศ. 1839 จำหน่ายในราคาประมาณ 50 ดอลล่าร์สหรัฐ กระทั่งปี 1900 หรือประมาณหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา โกดักก็เปิดตัวกล้องถ่ายภาพรุ่น Brownie สามารถโหลดฟิล์มได้ และมีช่องมองภาพเป็นอุปกรณ์เสริม ใส่ไว้ทางด้านบน ราคากล้องรุ่นนี้เพียง 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็เป็นกล้องที่หายากมากในปัจจุบัน การถ่ายภาพระบบดิจิตอลถือกำเนิดขึ้นเมื่อมีการคิดค้น CCD สำหรับใช้บันทึกในกล้องวิดีโอเมื่อปี ค.ศ. 1970 ถัดมาอีกเพียงปีเดียว ก็มีการส่งข้อความทางอีเมล์เป็นครั้งแรกของโลก โดย Ray Tomlinsn

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การใช้กล้องถ่ายรูป 7

4.4 การวัดแสง
หลังจากที่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความเร็วชัตเตอร์ กับการเปิดรูรับแสงแล้ว ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการวัดแสง เพื่อให้ได้ภาพที่มีความสมดุลย์ของแสงและความอิ่มตัวของสี ความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงต้องมีความสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพส่วนใหญ่จะสามารถปรับสภาพของการรับแสงของกล้องได้โดยอัตโนมัติก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ถ่ายภาพต้องทำความเข้าใจ คือ ลักษณะของภาพที่ต้องการ อาจต้องการภาพที่มีความชัดลึก เช่น ภาพภูมิทัศน์ ภาพงานพิธีต่างๆ หรือภาพที่ต้องการให้มีลักษณะชัดตื้น เพื่อเน้นเฉพาะจุด เช่น การถ่ายภาพบุคคล การถ่ายภาพวัตถุต่างๆ หรือภาพที่ต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงเพื่อหยุดภาพที่เคลื่อนไหวอย่างเร็ว
ภาพที่วัดแสงได้ถูกต้องหรือ Normal จะได้ภาพที่มีความเข้มของสีถูกต้อง เหมาะสม แต่ถ้าวัดแสงผิดพลาด คือ ให้ฟิล์มรับแสงน้อยเกินไป หรือ Under อาจเกิดจากเปิดรูรับแสงน้อยเกินไป หรือใช้ความเร็วชัตเตอร์เร็วเกินไป ภาพจะออกมามีโทนสีดำมาก หรือที่เรียกว่า ภาพมืด ยิ่งผิดพลาดมากเท่าใดภาพยิ่งมืดมากเท่านั้น ส่วนภาพที่รับแสงมากเกินไปหรือ Over มีสาเหตุจากใช้รูรับแสงกว้างเกินไป หรือความเร็วชัตเตอร์ช้าเกินไป ทำให้ภาพที่ได้มีสีขาวมาก หรือแสงจ้ามาก ทำให้ภาพขาดความสดใสไปมาก
ดังนั้น ก่อนการกดชัตเตอร์ ควรศึกษาเรื่องการวัดแสงให้ถูกต้อง ศึกษาคู่มือการใช้กล้องและฟิล์มให้ดี เพราะถ้าวัดแสงผิดพลาดจะเสียทั้งเวลา เงินทอง และโอกาสที่จะได้ภาพดีๆ ไปอย่างน่าเสียดาย




ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

การใช้กล้องถ่ายรูป 6

4.3 การกำหนดค่ารูรับแสง
การกำหนดรูรับแสง เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติควบคู่กับการกำหนดความเร็วชัตเตอร์ เพราะเป็นตัวกำหนดปริมาณของแสงที่มากระทบกับฟิล์ม ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง โดยมีการกำหนดค่าตั้งแต่กว้างสุด จนถึงแคบสุด โดยแทนค่าเป็นตัวเลข ยิ่งตัวเลขมากเท่าใดรูรับแสงยิ่งแคบลง
วิธีการเพิ่มหรือลดรูรับแสงนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแสง ค่าความไวแสงของฟิล์มและความเร็วชัตเตอร์เป็นสำคัญ ยิ่งเปิดรูรับแสงแคบเท่าใดต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำลงเพื่อรักษาความสมดุลย์ของแสง การเปิดรูรับแสงนั้นจะส่งผลต่อภาพในเรื่องของระยะชัด (Depth of field) ของภาพ ในกรณีที่เปิดรูรับแสงกว้างจะทำให้ภาพมีความชัดเฉพาะจุดหรือชัดตื้น ถ้าเปิดรูรับแสงปานกลางถึงแคบสุด ภาพจะเพิ่มระยะชัดหรือมีความชัดลึกมากขึ้น



ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

การใช้กล้องถ่ายรูป 5

4.2 การกำหนดความเร็วชัตเตอร์
การกำหนดความเร็วชัตเตอร์ เป็นความจำเป็นอีกประการหนึ่งในการถ่ายภาพ เพราะจะเป็นตัวกำหนดช่วงเวลาในการรับแสงของฟิล์ม ซึ่งที่ตัวกล้องจะมีตัวเลขแสดงค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นจำนวนเต็ม เช่น B 1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 เป็นต้น แต่ความเป็นจริงแล้ว 1 หมายถึงกล้องจะเปิดม่านชัตเตอร์ให้แสงกระทบกับฟิล์มเป็นเวลา 1 วินาที 2 หมายถึง 1/2 วินาที ไปจนถึง 1/1000 วินาที ค่าตัวเลขยิ่งสูงมากเท่าใดความเร็วยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
การกำหนดความเร็วชัตเตอร์ จะขึ้นอยู่กับสภาพแสง และจุดประสงค์ในการถ่ายภาพเป็นสำคัญ ถ้าแสงมีความสว่างมากเช่นในตอนกลางวัน ช่วงเวลา 10.00 น. - 14.00 น. ในวันที่ฟ้าสดใสไม่มีเมฆหรือหมอกมาบัง จะสามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้สูง เช่น 1/250 1/500 หรือ 1/1000 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดรูรับแสงด้วยซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพควรตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงไว้ คือ ตั้งแต่ 1/125 ขึ้นไป จะช่วยป้องกันปัญหากล้องสั่นไหวมที่ส่งผลให้ภาพที่ได้พร่ามัว และการถ่ายภาพวัตถุที่ไม่หยุดอยู่กับที่ เช่น การแข่งขันกีฬา ควรตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่สูงด้วยเช่นกัน เพราะจะทำให้ภาพที่ที่ได้หยุดนิ่ง (Stop action)


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

การใช้กล้องถ่ายรูป 4

4. วิธีการถ่ายภาพ
4.1 การปรับระยะชัด (Fucusing)
สิ่งที่สำคัญในการถ่ายภาพ คือ การปรับระยะชัดหรือระยะโฟกัสจะช่วยให้ภาพที่ได้มีความคมชัด สำหรับกล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวสามารถมองผ่านช่องมองภาพได้ โดยปรับความคมชัดจากวงแหวน ปรับระยะชัดที่เลนส์ โดยภาพที่ปรากฏผ่านช่องมองภาพจะเป็นภาพจริง ดังนั้นผู้ถ่ายภาพควรคำนึงถึงวัตถุที่ต้องการเน้นให้มีความชัดเจนมากที่สุด ที่กระบอกเลนส์จะมีค่าแสดงตัวเลขบอกระยะทางจากตัวกล้องไปจนถึงวัตถุที่ปรับระยะชัด ช่วงระยะในการชัดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง ยิ่งแคบมากยิ่งทำให้ระยะชัดลึกมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าเปิดรูรับแสงกว้างมากต้องระวังการปรับระยะชัดให้ดีเพราะช่วงชัดลึกจะสั้น หรือเลนส์ยิ่งมีความยาวโฟกัสมากเท่าใด ความชัดลึกย่อมมีน้อยตามไปด้วย ดังนั้นผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้และฝึกการปรับระยะชัดให้แม่นยำและรวดเร็ว
ในปัจจุบันกล้องบางรุ่นจะมีระบบปรับความชัดอัตโนมัติ (Auto focus) ซึ่งต้องศึกษาการใช้งานจากคู่มือของกล้องรุ่นนั้นให้ดี เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการถ่ายภาพ


ที่มา:ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การใช้กล้องถ่ายรูป 3

3. วิธีการจับกล้องถ่ายภาพ
วิธีการจับกล้องถ่ายภาพเพื่อถ่ายภาพ ต้องจับในท่าที่ถนัดและมั่งคงที่สุด เพื่อป้องกันการสั่นไหวของกล้องถ่ายภาพขณะบันทึกภาพ ด้วยการจับด้วยสองมือให้มั่นคง นิ้วชี้ของมือขวาจะใช้กดชัตเตอร์และปรับความเร็วชัตเตอร์ นิ้วหัวแม่มือจะใช้ในการเลื่อนฟิล์ม ใช้อุ้งมือและนิ้วที่เหลือจับกล้องให้มั่น ส่วนมือข้างซ้ายจะวางอยู่ที่ด้านล่างของกล้อง โดยใช้อุ้งมือเป็นตัวรองรับด้านล่างของกล้อง ใช้นิ้วหัวแม่มือสำหรับการปรับระยะชัดและปรับขนาดรูรับแสง ข้อศอกทั้งสองข้างชิดลำตัวเพื่อให้กล้องนิ่งที่สุดขณะบันทึกภาพ
นอกจากนี้ยังมีท่าจับกล้องในลักษณะต่างๆ ตามสถานการณ์การถ่ายภาพ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอนและท่าอื่นๆ เพื่อให้ได้ภาพในมุมที่สวยและคมชัดที่สุด


1. ท่าถ่ายภาพท่าปกติ ใช้มือซ้ายประคองกล้องให้นิ่ง พร้อมปรับระยะชัดและปรับรูรับแสง มือขวาจับตัวกล้องให้แน่น พร้อมทั้งลั่นชัตเตอร์ ข้อศอกชิดลำตัว ทำให้การจับถือกล้องมั่นคงยิ่งขึ้น


2. ท่าถ่ายภาพท่าปกติในแนวตั้ง ข้อศอกชิดลำตัว ทำให้การจับถือกล้องมั่นคงยิ่งขึ้น


3. ท่าถ่ายภาพในท่านั่ง ข้อศอกซ้ายตั้งบนหัวเข่าช่วยให้กล้องนิ่


4. ท่าถ่ายภาพท่าในท่านอน ข้อศอกทั้งสองข้างตั้งพื้น ใช้ในกรณีถ่ายภาพที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำโดยไม่มีขาตั้งกล้อง หรือถ่ายภาพวัตถุในที่ต่ำ


5. ท่าถ่ายภาพท่าในท่านอน วางกล้องกับพื้น ใช้ในกรณีที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากเพื่อให้กล้องนิ่งที่สุด (ถ้ามีขาตั้งกล้องให้ใช้แทน) หรือตั้งเวลาในการถ่ายภาพตัวเอง


6. ท่าถ่ายภาพท่าเหนือศีรษะ ใช้สำหรับถ่ายภาพผ่านสิ่งกีดขวาง แต่ถ่ายภาพในลักษณะนี้ ผู้ถ่ายต้องมั่นใจว่าจะสามารถถ่ายภาพได้ไม่หลุดกรอบ หรือกะระ-ยะโฟกัสได้แม่นยำ


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/howto.htm

การใช้กล้องถ่ายรูป 2

2. การตั้งค่าความไวแสงของฟิล์ม (ISO)
ฟิล์มที่มีจำหน่ายในท้องตลาด จะมีค่าความไวแสงที่แตกต่างกันตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้น ก่อนการถ่ายภาพควรต้องตรวจสอบว่าฟิล์มที่ใช้มีความไวแสงเท่าใด โดยดูได้จากกล่องของฟิล์มและที่ม้วนของฟิล์ม หากกำหนดค่าความไวแสงของฟิล์มผิดพลาดจะทำการวัดแสงผิดพลาดด้วย ทำให้ภาพที่ได้อาจจะมืดหรือสว่างเกินไปก็เป็นได้
ในกล้องถ่ายภาพ 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวโดยทั่วไป จะมีปุ่มปรับค่าความไวแสงไว้ที่ด้านบนของตัวกล้อง ซึ่งมีตัวเลขแสดงค่าความไวแสงขนาดต่างๆ ไว้ ผู้ใช้ต้องปรับให้ค่าความไวแสงให้ถูกต้อง ซึ่งกล้องแต่ละรุ่นจะมีวิธีการไม่เหมือนกันซึ่งต้องดูรายละเอียดจากคู่มือการใช้กล้องชนิดนั้นๆ
ในกล้องถ่ายภาพบางรุ่น จะมีระบบปรับค่าความไวแสงเองโดยอัตโนมัติโดยตัวกล้องจะมีปุ่มสำหรับอ่านค่าความไวแสงจากรหัสที่กลักฟิล์ม ดังนั้นเวลาจับกลักฟิล์มต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดของมือ เพราะอาจจะทำให้รหัสของฟิล์มมีรอยหรือมีคราบสกปรกจะทำให้การวัดแสงผิดพลาดไปด้วย

การตั้งค่าความไวแสงของฟิล์มที่ตัวกล้อง ให้ตรงกับค่าความไวแสงของฟิล์มเพื่อป้องกันไม่ให้วัดแสงผิดพลาด


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/howto.htm

การใช้กล้องถ่ายรูป

1. การบรรจุฟิล์ม
เพื่อให้กล้องพร้อมที่จะใช้งาน ผู้ใช้จะต้องศึกษาจากคู่มือของกล้องอย่างละเอียด เพราะกล้องแต่ละชนิดแต่ละรุ่น จะมีกลไกในการทำงานไม่เหมือนกัน แต่กล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวโดยทั่วไปแล้วจะไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก โดยมีขั้นตอนการบรรจุฟิล์มและการตรวจสอบเป็นขั้นตอน ดังนี้


1. เปิดฝาหลังกล้องและดึงก้านกรอฟิล์มกลับขึ้นจนสุด วางกลักฟิล์มให้เข้ากับช่องใส่กลักฟิล์ม ระวัง !! อย่าให้นิ้วหรือหางฟิล์มกระทบกับม่านชัตเตอร์เป็นอันขาด


2. ดึงหางฟิล์มออกจากกลัก และสอดปลายของหางฟิล์มเข้ากับแกนหมุนฟิล์มให้แน่น ให้รูหนามของกล้องเข้ากับรูหนามเตยของฟิล์มให้สนิท



3. ปิดฝาหลังกล้องทดลองขึ้นฟิล์มและกดชัตเตอร์ประมาณ 2 ภาพ (เพราะเป็นส่วนหัวฟิล์มที่โดนแสงแล้ว) ตรวจสอบความเรียบร้อยของฟิล์ม โดยหมุนก้านกรอฟิล์มกลับให้ตึง เมื่อขึ้นฟิล์มก้านกรอฟิล์มกลับจะหมุนตาม แสดงว่ากล้องถ่ายภาพพร้อมที่จะใช้งานได้แล้ว
หมายเหตุ : กล้องถ่ายภาพบางรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้องที่ถ่ายภาพระบบอัตโนมัติจะมีกลไกในการบรรจุฟิล์มที่สะดวกขึ้น ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้กล้องถ่ายภาพชนิดนั้นๆ


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/howto.htm

อุปกรณ์ในการถ่ายรูป 5

บังแสงของเลนส์(Lens shade หรือ Hood)
ที่บังแสงของเลนส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สวมไว้หน้าเลนส์มีทั้งชนิดเป็นโลหะ และเป็นยาง ทำหน้าที่ป้องกันแสงที่ไม่ต้องการเข้าไปในเลนส์ อาจทำให้ภาพมีรอยแสงด่างไม่สวยงาม



ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/equipment.htm

อุปกรณ์ในการถ่ายรูป 4

ไฟแวบหรือแฟลช(Flash)
ในการถ่ายภาพในที่ๆ มีแสงน้อย เช่น เวลากลางคืน หรือกลางวันที่มีแสงไม่เพียงพอในการถ่ายภาพ เราจำเป็นต้องใช้แฟลชเข้าช่วย นอกจากเป็นการเพิ่มแสงสว่างให้แก่วัตถุแล้ว ยังสามารถใช้แฟลชเพื่อลบเงาและปรุงแต่งแสงให้ดูนิ่มนวลยิ่งขึ้น แฟลชมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. แฟลชบัลบ์ (Flash bulb) เป็นหลอดแฟลชที่ภายในหลอดมีไส้หลอดแต่ละหลอดจะจุดสว่างได้เพียงครั้งเดียว เมื่อใช้แล้วต้องเปลี่ยนหลอดใหม่ทุกครั้ง
2. แฟลชอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic flase) เป็นแฟลชที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันตัวหลอด ทำด้วยแก้วใสประเภทควอทซ์ (Quartz) ภายในมีไส้หลอดบรรจุด้วยก๊าซซีนอน (Xenon) ให้อุณหภูมิสีเหมือนสีของแสงจากดวงอาทิตย์ (ประมาณ 5500K - 6000K) ดังนั้นฟิล์มสีประเภท Day light เมื่อนำมาถ่ายภาพด้วยแสงอิเล็กทรอนิคส์แฟลชแล้ว จะให้สีที่ถูกต้องเหมือนสีธรรมชาติ แฟลชชนิดนี้สามารถจุดให้หลอดสว่างได้ถึง 10,000 ครั้ง โดยอาศัยพลังงานจากกระแสไฟฟ้า AC หรือแบตเตอรี่แห้ง สำหรับแบตเตอรี่แห้งที่ใช้กันทั่วไป มีขนาดเล็กทำด้วย Alkaline ถ่ายภาพได้กว่า 100 ภาพต่อแบตเตอรี่ 1 ชุด และถ้าเป็นแบบ Nickel cadmium เมื่อใช้ไฟหมดสามารถนำมาประจุไฟใหม่ด้วยกระแสไฟ AC การประจุไฟแต่ละครั้งสามารถนำไปถ่ายได้เกินกว่า 50 ภาพ

ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/equipment.htm

อุปกรณ์ในการถ่ายรูป 3

เครื่องวัดแสง(Light meter)
เครื่องวัดแสงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการถ่ายภาพ เป็นเครื่องมือที่จะคำนวณปริมาณของแสงที่ถูกต้อง สามารถบอกเป็นตัวเลขของช่องรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ กล้องถ่ายภาพรุ่นใหม่ๆ จะมีเครื่องวัดแสงติดมากับตัวกล้อง (Exposure meter) ซึ่งมีวัสดุที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแสงให้เป็นไฟฟ้าอยู่ 4 ชนิด คือ
1. เซลล์แคดเมียมซัลไฟด์ (CDS) มีขนาดเล็ก มีความไวแสงมากกว่าเซลล์ซีลีเนียม ใช้ได้ดีในที่ๆ มีแสงน้อย
2. เซลล์ซีลีเนียม
3. เซลล์ซีลิคอน (SPD) มีขนาดเล็ก และมีความไวแสงมากกว่าเซลล์แคดเมียม ถือได้ว่าเป็นเซลล์ไวแสงที่เหมือนตามนุษย์มากที่สุด
4. เซลล์แกลเลี่ยม เป็นเซลล์ที่มีความไวในการวัดแสงได้ดีมาก นิยมใช้แทนเซลล์ซิลิคอนเพราะว่ามีราคาถูกกว่าและคุณสมบัติที่เหนือกว่า

เครื่องวัดแสงที่ติดตั้งในตัวกล้อง แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ
1. ตัววัดแสงอยู่ภายนอกตัวกล้อง อาจใช้ซีลีเนียมหรือแคดเมียมซัลไฟด์ มีขนาดและรูปร่างต่างๆ ส่วนมากจะติดอยู่ที่ตัวเลนส์หรือรอบวงแหวนของเลนส์
2. ตัววัดแสงอยู่ภายในกล้อง และวัดแสงที่หักเหผ่านเลนส์ (Through the lens) หรือ TTL มักใช้แคดเมียมซัลไฟด์เพราะมีขนาดเล็กและความไวแสงสูง สามารถวัดแสงได้ถูกต้องและแม่นยำ มักติดตั้งเซลล์วัดแสงที่ตัวปริซึมห้าเหลี่ยม หรือใต้ช่องกระจกสะท้อนภาพ เครื่องวัดแสงแบบ TTL มีระบบในการวัดอยู่ 3 แบบ
วัดแสงเฉพาะตรงส่วนกลาง (Center spot) เป็นการวัดแสงในเนื้อที่เล็กๆ เฉพาะส่วนที่ต้องการ ทำให้การวัดแสงถูกต้องดีมาก
แบบเฉลี่ยแสงทั่วทั้งภาพ (Full area everaging) เซลล์วัดแสงจะรับแสงสะท้อนจากวัตถุทั้งหมดแล้วเฉลี่ยปริมาณของแสง
แบบเฉลี่ยแสงแบบกลางภาพ (Center weighted) เป็นการผสมกันระหว่างวัดเฉพาะส่วนกลางกับวัดเฉลี่ยแสงทั่วทั้งภาพ ให้ผลการวัดแสงถูกต้องดีมากที่สุด


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/equipment.htm

อุปกรณ์ในการถ่ายรูป 2

สายลั่นไก(Cable release)
อุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กันไปกับขาตั้งกล้อง หรือแท่นก๊อปปี้ภาพ คือสายลั่นไก ทำหน้าที่กดชัตเตอร์แทนนิ้วมือของผู้ถ่ายภาพโดยมีเกลียวขันต่อกับปุ่มกดชัตเตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้การกดชัตเตอร์เป็นไปอย่างนิ่มนวล สายลั่นไกมีอยู่หลายแบบ เช่น สายยาง สามารถถ่ายจากที่สูงหรือที่อยู่ไกลจากกล้องได้


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/equipment.htm

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อุปกรณ์ในการถ่ายรูป 1

ขาตั้งกล้อง(Tripod)
ขาตั้งกล้องเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งกล้อง เพื่อให้กล้องยึดกับขาตั้งให้นิ่งและมั่นคง จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพในสภาพแสงสว่างน้อย ที่ต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ เพื่อให้ได้รับแสงนานๆ หรือการถ่ายภาพระยะไกลที่ใช้เลนส์ถ่ายไกลโดยเฉพาะที่มีความยาวโฟกัสสูงๆ ภาพจะมีช่วงความชัดต่ำ หรือการถ่ายภาพระยะใกล้โดยใช้เลนส์แมโครจำเป็นต้องให้กล้องนิ่งไม่สั่นไหว หรือการถ่ายภาพไฟประดับตามอาคารร้านค้า ตามท้องถนน เวลากลางคืนที่ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B

ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/equipment.htm

ชนิดของกล้องถ่ายรูป 9


ดังนั้นกล้องจึงทำงานแบบอัตโนมัติในการปรับหน้ากล้องปรับระดับชัตเตอร์ตามสภาพของแสงที่ถ่าย เช่น กล้องโกดัก อินสตาเมติด (Kodak Instamatic) กล้องอักฟา แรบปิด (Agfa Rapid) Argus, Minox BL, Yashica Atoron และอีกหลายๆ ยี่ห้อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ถ่ายรูปตามความต้องการ กล้องอัตโนมัติบางชนิดสามารถบอกวัน เดือน ปี หรือแม้กระทั่งเวลาในการบันทึกภาพนั้นๆ ด้วย กล้องชนิดนี้เหมาะมากสำหรับการนำมาใช้ เพื่อเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ นอกจากจะบอกรายละเอียดต่างๆ ดังกล่าวแล้วยังใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ถ้าแสงไม่พอที่จะพอที่จะถ่ายรูปก็สามารถเปิดไฟแฟลชได้โดยอัตโนมัติอีกด้วย
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีประเภทชิป (chip) มาใช้แทนฟิล์มถ่ายภาพและได้ภาพประเภทดิจิตอล (Digital) ที่สามารถโหลด (load) เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วพิมพ์ (print) หรือนำไปใช้กับงานสื่อประสม (Multimedia) อื่นๆ ได้

ชนิดของกล่องถ่ายรูป 8

8.8 กล้องถ่ายรูปสำหรับผลิตภาพขนาดเล็ก (Microphotographic Camera) เป็นกล้องถ่ายรูปที่ออกแบบมาเพื่อใช้ถ่ายรูปขนาดไม่เล็กกว่า 1/10 ของวัตถุต้นฉบับ ดังนั้นจึงเหมาะที่จะนำมาถ่ายรูปวาดวงจรอิเล็กโทรนิคและวงจรไฟฟ้าต่าง ๆ

8.9 กล้องพาโนรามา (Panoramic Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบเพื่อถ่ายรูปที่มีมุมของวิวกว้างประมาณเกือบ 140 องศา โดยที่สัดส่วนของภาพที่ได้ไม่ผิดเพี้ยนเหมือนการใช้เลนส์ตาปลา กล้องชนิดนี้นำมาใช้ถ่ายรูปหมู่ที่มีจำนวนคนมากๆ นั่งเรียงแถวกัน ซึ่งกล้องธรรมดาไม่สามารถบันทึกภาพให้มีสัดส่วนเหมือนจริงได้ การทำงานของกล้องชนิดนี้มีเลนส์ที่หมุนรอบแนวดิ่ง โดยแสงจะผ่านเลนส์ แล้วหักเหผ่านช่องแคบที่หมุนตามเลนส์ไปตกลงบนฟิล์มที่มีลักษณะโค้งอยู่ด้านหลังของกล้อง ทำให้การบันทึกภาพออกมาดูเป็นภาพที่มีลักษณะยาวในแนวระดับ

8.10 กล้องถ่ายรูปแบบจาน (Disk) เป็นกล้องถ่ายรูปที่บันทึกภาพลงบนแผ่นแม่เหล็กแทนการบันทึกลงบนฟิล์มถ่ายรูป เมื่อต้องการดูภาพก็สอดแผ่นแม่เหล็กลงในเครื่อง จะทำให้เห็นภาพบนจอโทรทัศน์ ซึ่งเป็นภาพนิ่งและสามารถพิมพ์เป็นแผ่นได้ นอกจากนี้กล้องชนิดนี้ยังนำไปใช้กับการส่งภาพถ่ายเหตุการณ์ จากจุดหนึ่งเข้ายังโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์ภาพข่าวลงในหนังสือพิมพ์ โดยส่งภาพไปตามสายโทรศัพท์ได้ ในปัจจุบันนี้ผู้ผลิตได้คิดค้นและออกแบบให้กล้องถ่ายรูปมีลักษณะการใช้ง่าย สะดวกสบาย และใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้อาจไม่ต้องมีความรู้ในด้านการถ่ายภาพมากมาย ก็สามารถใช้กล้องได้อย่างดีบันทึกภาพได้ตามต้องการและภาพมีคุณภาพ


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/kind.htm

ชนิดของกล้องถ่ายรูป 7

8.4 กล้องถ่ายรูปใต้น้ำ (Under Water Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อใช้ถ่ายรูปใต้น้ำโดยเฉพาะ ตัวกล้องบรรจุอยู่ในกล่องที่แข็งแรงกันน้ำเข้า และทนต่อแรงดันของน้ำ การควบคุมเพื่อให้กล้องทำงานนั้นมีปุ่มควบคุมอยู่ภายนอกกล่องบรรจุ

8.5 กล้องถ่ายรูปจากกล้องจุลทรรศน์ (Photomicrographic Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบพิเศษ สำหรับงานที่ต้องการถ่ายรูปขยายตั้งแต่ 30:1 ถึง 1000:1 ตัวกล้องจะต่อเข้ากับกล้องจุลทรรศน์ สามารถถ่ายรูปได้ตามต้องการ

8.6 กล้องรีโปร (Repro-Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบเพื่อใช้กับงานการพิมพ์เพื่อถ่ายรูปลายเส้น ภาพแยกสีและพวกฮาลัฟโทนต่างๆ ซึ่งวัสดุต้นแบบอาจเป็นพวกภาพถ่ายหรือภาพวาดก็ได้หากแต่ต้องมีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ

8.7 กล้องถ่ายรูปความไวสูง (High Speed Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับงานถ่ายรูปนิ่ง ที่ต้องการถ่ายวัตถุที่เคลื่อนที่อย่างเร็วมาก ซึ่งกล้องธรรมดาไม่สามารถถ่ายได้ กล้องชนิดนี้มีความไวของชัตเตอร์สูงมาก อาจใช้ถ่ายรูปลูกปืนหรือลูกธนูที่กำลังเข้าหาเป้าได้


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/kind.htm

ชนิดของกล่องถ่ายรูป 6

♫ 8. กล้องถ่ายรูปที่สร้างขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ

8.1 กล้องถ่ายรูปแบบสเตอริโอ (Stereo Camera) หรือเรียกว่ากล้องถ่ายรูปสามมิติ (Three Dimension Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อถ่ายรูปสามมิติ ในตัวกล้องจะมีเลนส์ 2 ตัว เมื่อถ่ายรูปจะได้ 2 ภาพ ซึ่งภาพแรกเป็นภาพที่ตาข้างขวามองเห็น และภาพที่ 2 เป็นภาพที่ตาข้างซ้ายมองเห็น ดังนั้นภาพทั้งสองจึงมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในเวลาที่ดูภาพลักษณะนี้ ต้องใช้เครื่องดูภาพพิเศษ จึงจะทำให้เห็นภาพ 3 มิติได้อย่างชัดเจน

8.2 กล้องถ่ายรูปโพลารอยด์ (Polaroid Camera) เป็นกล้องถ่ายรูปที่เมื่อถ่ายเสร็จจะได้ภาพทันที เพราะมีกระบวนการล้างอัดอยู่ในตัวฟิล์ม สร้างภาพภายในเวลาเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น ภาพที่จะเป็นภาพโฟสิติฟ (Positive) กล้องชนิดนี้เหมาะในการใช้งานที่ต้องการความรวดเร็วรีบด่วน และเพื่องานบางอย่างเท่านั้น ข้อเสียก็คือฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูง และภาพที่ได้ไม่มีความคงทนเก็บไว้ได้ไม่นานเหมือนขบวนการถ่ายรูปทั่วๆ ไป

8.3 กล้องถ่ายรูปทางอากาศ (Aerial Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบมาใช้งานเฉพาะการถ่ายรูปทางอากาศเท่านั้น มีน้ำหนักมาก ใช้ติดตั้งกับเครื่องบิน หรือยานอวกาศเพื่อการถ่ายรูปสำรวจหรือทำแผนที่ต่างๆ ส่วนประกอบของกล้องชนิดนี้ถูกออกแบบพิเศษมาเพื่อใช้งานเฉพาะ จึงไม่สามารถที่จะนำมาใช้ในงานทั่วๆ ไปได้

ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/kind.htm

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ชนิดของกล้องถ่ายรูป 5

♫ 6. กล้องหนังสือพิมพ์ (Press Camera)
เป็นกล้องที่ออกแบบใช้กับงานด้านหนังสือพิมพ์ ตัวกล้องมีขนาดใหญ่ ส่วนประกอบของกล้องคล้ายคลึงกับกล้องพับ คือมีเบลโล (Bellow) สามารถปรับยืดย่นย่อได้ตามต้องการ ปกติกล้องชนิดนี้ใช้กับฟิล์ม 120 หรือฟิล์มแผ่นขนาด 2 1/4 x 3 1/4 นิ้ว และ 4 x 5 เนื่องจากกล้องมีน้ำหนักมาก ดังนั้น นักข่าวหนังสือพิมพ์และนิตยสารในปัจจุบันจึงหันมาใช้กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยวแทน


♫ 7. กล้องใหญ่ (Studio Camera)
บางครั้งเรียกว่ากล้องวิว (View Camera) เป็นกล้องที่นิยมใช้ตามร้านถ่ายรูปเพื่อธุรกิจการค้า กล้องชนิดนี้มีขนาดใหญ่โตมีน้ำหนักมากจึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้งานภายนอกห้องถ่ายรูป และในการใช้กล้องจำเป็นต้องมีขาตั้ง (Tripod) รองรับตัวกล้อง ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้เป็นฟิล์มแผ่นมีขนาดต่างๆ เช่น 2 x 3 นิ้ว 5 x 7 นิ้ว 8 x 10 นิ้ว และ 11 x 14 นิ้ว เมื่อถ่ายรูปเสร็จสามารถถอดฟิล์มออกได้ทันที ข้อดีของกล้องชนิดนี้ คือ จะไม่เกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) และยังสามารถมองเห็นภาพที่ช่องมองได้อย่างดี เพราะที่มองมีขนาดใหญ่ ทำให้เห็นรายละเอียดของภาพที่จะบันทึกนั้นได้ดี เนื่องจากมีกระจกขยายอันเป็นส่วนประกอบในช่องมองภาพ นอกจากนั้นยังสามารถปรับมุมของภาพได้ตามต้องการ อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสียเปรียบ คือ ภาพที่เกิดขึ้นที่ช่องมองภาพนั้นจะมีลักษณะหัวกลับและกลับซ้ายขวา อีกทั้งภาพจะไม่ชัดเจน ดังนั้นผู้ถ่ายรูปต้องใช้ผ้าสีดำคลุมข้างหลังกล้องบนช่องมองภาพ และคลุมศีรษะผู้ใช้ให้สามารถมองภาพได้ชัดเจนในขณะปรับความคมชัด

ชนิดของกล้องถ่ายรูป 4

♫ 4. กล้องเล็ก (Miniature Camera)
กล้องเล็ก (Miniature Camera) หรือ กล้องวิวไฟเดอร์ (View finder) บางคนก็เรียกว่า เรนจ์ไฟเดอร์ (Range Finder) หรือเรียกว่า กล้อง 35 มม. มาตรฐาน (35 mm. Standard Camera) เพราะใช้กับฟิล์มขนาดมาตรฐาน คือ 35 มม. กล้องชนิดนี้เหมาะที่สุดสำหรับนักถ่ายภาพสมัครเล่น เพราะออกแบบเพื่อให้สะดวกสบายในการจับถือ มีทั้งชนิดที่ต้องปรับแต่ง และไม่ปรับแต่งความชัด ความเร็วชัดเตอร์และขนาดของรูรับแสง กล้องชนิดนี้มีลักษณะกระทัดรัด ใช้ง่าย ราคาไม่แพงนัก อย่างไรก็ตามก็มีข้อเสียคือภาพถ่ายอาจเกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) ได้ถ้าถ่ายรูปใกล้กว่า 3 ฟุต เนื่องจากหน้าต่างหาระยะชัดของภาพตั้งอยู่คนละแห่งกับเลนส์ คือจะอยู่เหนือเลนส์ถ่ายรูปเล็กน้อย ในปัจจุบันกล้องชนิดนี้ได้พัฒนาให้เปลี่ยนเลนส์ได้ และมีอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบมากมายจึงทำให้มีผู้นิยมกล้องชนิดนี้อยู่พอสมควร

♫ 5. กล้องเล็กพิเศษ (Ultra-Miniature Camera)
กล้องเล็กพิเศษ (Ultra-Miniature Camera) หรือกล้องนักสืบ เป็นกล้องที่มีน้ำหนักเบามาก กะทัดรัด มีขนาดเล็ก สามารถพกติดตัวไปได้สะดวกสบาย และสามารถแอบซ่อนเพื่อบันทึกภาพในกรณีที่ไม่ให้ผู้ถูกถ่ายรูปสังเกตได้ กล้องชนิดนี้ปรับหน้ากล้องโดยอัตโนมัติ มีไฟแวบพร้อมในตัวกล้อง ใช้ฟิล์ม 16 มม. และกลักเบอร์ 110

ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/kind.htm

ชนิดของกล้องถ่ายรูป 3

♫ 3. กล้องรีเฟล็กซ์ (Reflex Camera)
กล้องชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
3.1 แบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex) บางครั้งอาจเรียกว่ากล้อง TLR ซึ่งเคยได้รับความนิยมมากในสมัยก่อน กล้องชนิดนี้มีเลนส์ 2 ตัว เลนส์ตัวบนทำหน้าที่สะท้อนภาพเข้าสู่ช่องมองภาพซึ่งมีกระจกเป็นตัวสะท้อน ทำให้ผู้ถ่ายรูมองเห็นวัตถุที่จะถ่ายได้ ส่วนเลนส์ตัวล่างทำหน้าที่รับแสง เพื่อส่องผ่านไปยังฟิล์ม กล้องรีเฟล็กซ์เลนส์คู่นี้ได้รวมเอาข้อดีของกล้องใหญ่ (View Camera) และกล้องเรนจ์ไฟเดอร์ (Range finder) เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะสามารถมองภาพจากข้างบนกล้องได้ โดยลดกล้องให้ต่ำลง แล้วมองภาพจากช่องมองได้สะดวกสบาย อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสีย เนื่องจากใช้เลนส์ 2 ตัว ตั้งอยู่ในแนวดิ่งซึ่งกันและกัน ดังนั้นภาพที่มองเห็นจากเลนส์ตัวบน อาจจะไม่เหมือนกันกับภาพที่ถ่าย ซึ่งเรียกว่าเกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) ยิ่งเป็นการถ่ายรูปใกล้ๆ บางส่วนของภาพจะถูกตัดออกไป แม้ว่าเวลามองที่ช่องมองภาพนั้นเป็นภาพสมบูรณ์ก็ตาม อีกประการหนึ่งภาพที่เห็นที่ช่องมองภาพจะกลับซ้ายเป็นขวาเสมอ นอกจากนี้ กล้องชนิดนี้ส่วนมากจะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ จึงเป็นข้อเสียเปรียบเช่นกัน ฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาด 120, 220 หรือ 35 มม. ก็ได้

3.2 แบบเลนส์เดี่ยว (Single Len Reflex) หรือเรียกว่า SLR ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะสะดวกและง่ายต่อการประกอบภาพ นอกจากนั้น ยังมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ร่วมกันได้มากมาย กล้องชนิดนี้สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ และไม่มีอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนภาพ (Parallax) เลย เพราะใช้เลนส์ตัวเดียวทำหน้าที่ทั้งมองภาพ หาระยะชัด และบันทึกภาพ อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสียเปรียบ คือ อาจจะชำรุดได้ง่ายเพราะการกระดกขึ้นลง ของกระจก 45 องศา อีกประการหนึ่ง เมื่อกดชัตเตอร์จะมีเสียงดังมาก อาจทำให้เกิดการรบกวนได้ โดยเฉพาะถ้านำไปถ่ายรูปสัตว์ อาจทำให้สัตรว์ตื่นตระหนกตกใจได้ นอกจากนั้นเมื่อถ่ายรูปในที่ๆ มีแสงน้อย อาจทำให้การมองภาพที่ช่องมองไม่ชัดเจน เพราะมีการสะท้อนหลายครั้งที่กระจกและปริซึมภายในตัวกล้อง ทำให้ความเข้มของแสงลดลงไปได้ กล้องรีเฟลกซ์เลนส์เดี่ยวส่วนมากใช้ระบบชัตเตอร์ม่านจึงทำให้ใช้ความเร็วของชัตเตอร์ได้สูงมาก การเปลี่ยนขนาดของรูรับแสงก็มีมาก ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้มีเบอร์ 135, 126, 120, 220 และ 110 ซึ่งสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มาก

ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/kind.htm

ชนิดของกล้องถ่ายรูป 3

♫ 3. กล้องรีเฟล็กซ์ (Reflex Camera)
กล้องชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
3.1 แบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex) บางครั้งอาจเรียกว่ากล้อง TLR ซึ่งเคยได้รับความนิยมมากในสมัยก่อน กล้องชนิดนี้มีเลนส์ 2 ตัว เลนส์ตัวบนทำหน้าที่สะท้อนภาพเข้าสู่ช่องมองภาพซึ่งมีกระจกเป็นตัวสะท้อน ทำให้ผู้ถ่ายรูมองเห็นวัตถุที่จะถ่ายได้ ส่วนเลนส์ตัวล่างทำหน้าที่รับแสง เพื่อส่องผ่านไปยังฟิล์ม กล้องรีเฟล็กซ์เลนส์คู่นี้ได้รวมเอาข้อดีของกล้องใหญ่ (View Camera) และกล้องเรนจ์ไฟเดอร์ (Range finder) เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะสามารถมองภาพจากข้างบนกล้องได้ โดยลดกล้องให้ต่ำลง แล้วมองภาพจากช่องมองได้สะดวกสบาย อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสีย เนื่องจากใช้เลนส์ 2 ตัว ตั้งอยู่ในแนวดิ่งซึ่งกันและกัน ดังนั้นภาพที่มองเห็นจากเลนส์ตัวบน อาจจะไม่เหมือนกันกับภาพที่ถ่าย ซึ่งเรียกว่าเกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) ยิ่งเป็นการถ่ายรูปใกล้ๆ บางส่วนของภาพจะถูกตัดออกไป แม้ว่าเวลามองที่ช่องมองภาพนั้นเป็นภาพสมบูรณ์ก็ตาม อีกประการหนึ่งภาพที่เห็นที่ช่องมองภาพจะกลับซ้ายเป็นขวาเสมอ นอกจากนี้ กล้องชนิดนี้ส่วนมากจะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ จึงเป็นข้อเสียเปรียบเช่นกัน ฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาด 120, 220 หรือ 35 มม. ก็ได้

ชนิดของกล้องถ่ายรูป 2


♫ 2. กล้องพับ (Folding Camera)
เป็นกล้องที่มีห้องมืดชนิดพับระหว่างตัวกล้องกับเลนส์ สามารถพับ เห็บ หรือยืดออกมาได้ นอกจากนั้นกล้องชนิดนี้ยังเพิ่มขนาดของรูรับแสง และสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของชัตเตอร์ได้หลายระดับมากยิ่งขึ้น และอาจใช้กับไฟแวบอีกด้วย ฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาดต่างๆ เช่น 120, 127 และ 620 เป็นต้น

ชนิดของกล้องถ่ายรูป 1


กล้องถ่ายรูป นับเป็นเครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมาจาก "กล้อง ออบสคูร่า" (Obscura) ที่มีลักษณะเป็นกล้องมืด (Dark room) และได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ โดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ ซึ่งกล้องปัจจุบันนี้สามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ ดังนี้

♫ 1. กล้องบ๊อกซ์ (Box Camera)
เป็นกล้องที่ไม่มีกลไกสลับซับซ้อน มีขนาดรูรับแสงคงที่ อาจเป็น 8 หรือ 11 อันใดอันหนึ่ง และมีความเร็วชัตเตอร์เดียวปกติประมาณ 1/60 กล้องชนิดนี้ให้ระยะชัดตั้งแต่ 6 ฟุตขึ้นไปจนถึงไกลที่สุด ขนาดของฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้อาจเป็นฟิล์มขนาด 120, 127 และ 620 บางชนิดอาจใช้ฟิล์มขนาด 126 ก็ได้ อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ถ่ายรูปได้ดีในสภาพที่มีแสงเพียงพอ......

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ส่วนประกอบของกล้องถ่ายรูป4

ชัตเตอร์ (Shutter) ชัตเตอร์หรือความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) เป็นกลไกอัตโนมัติที่ใช้สำหรับเปิดและปิดทางที่แสงจะผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยากับฟิล์มตามเวลาที่กำหนด ความเร็วในการเปิดและปิดชัตเตอร์คือเวลาที่ฉายแสง (Exposure time) นั่นเอง ซึ่งคิดเป็นเศษส่วนของวินาทีดังนี้ 1/1 , 1/2 , 1/4 , 1/8 , 1/15 , 1/30 , 1/60 , 1/125, 1/250 , 1/500 , 1/1000 , 1/2000 แต่ตัวเลขที่ปรากฏในวงแหวนที่ขอบนอกของเลนส์ จะบอกค่าความเร็วของชัตเตอร์ไว้เฉพาะตัวเลขที่เป็นส่วนคือ 1 , 2 , 4 , 8 , 16 , 30 , 60 , 125 , 250 , 500 , 1000 , 2000 ตัวเลขที่มีค่าน้อย ชัตเตอร์จะเปิดนานแสงจะเข้าไปในกล้องได้มาก ส่วนตัวเลขที่มีค่ามากชัตเตอร์จะเปิดแล้วปิดเร็ว แสงจะเข้าไปในกล้องได้น้อย เช่น ถ้าตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ 1 แสงจะเข้าไปในทำปฏิกิริยากับฟิล์มนาน 1 วินาที และถ้าตั้งที่ 250 ชัตเตอร์จะเปิดให้แสงผ่านเป็นเวลา 1/250 วินาที ซึ่งชัตเตอร์จะเปิดและปิดเร็วมาก สำหรับในกล้องถ่ายภาพแบบง่ายๆ ทั่วไปจะมีความเร็วชัตเตอร์กำหนดไว้เพียวระดับเดียวคือประมาณ 1/60 วินาที แต่ในกล้องถ่ายภาพที่มีราคาสูง จะมีความเร็วของชัตเตอร์ที่ปรับได้ตามตัวเลขที่กล่าวมาแล้ว การตั้งความเร็วชัตเตอร์ จะต้องตั้งให้พอดีกับตัวเลขที่กำหนดความเร็วชัตเตอร์ การเพิ่มหรือลดความเร็วชัตเตอร์ ของตัวเลขที่อยู่ใกล้กันจะมีผลต่อการเพิ่มหรือลดความเร็วของขัตเตอร์เป็น 2 เท่าของกันและกัน เช่น จากความเร็วชัตเตอร์ 1/30 เป็น 1/15 ก็จะช้าลงเป็น 2 เท่าตัว

ที่มา:http://se-ed.net/camera-slr/kl-box/kl2-000.html

ส่วนประกอบของกล้องถ่ายรูป3


ช่องรับแสงของเลนส์ (Aperture)
ขนาดของช่องรับแสงหรือเลขหน้ากล้องจะบอกไว้ที่ขอบเลนส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเลนส์ ที่ปรับขนาดของช่องรับแสง สามารถปรับให้เล็กหรือโตตามต้องการจึงทราบได้จากตัวเลขที่เขียนบอกไว้ การปรับช่องรับแสงให้เล็กหรือโตขึ้นมีผลต่อการถ่ายภาพ 2 ประการคือ1. ทำให้แสงสว่างผ่านเลนส์เข้าไปในกล้องได้มากขึ้นเมื่อตั้งF/stop ไว้ที่ค่าตัวเลขน้อยแสสว่างจะผ่านเข้ากล้องได้น้อย เมื่อตั้งค่าไว้ที่ตัวเลขมากช่องรับแสงเล็ก2.การตั้งช่องรับแสงเล็กภาพที่ได้ทีช่องความชัดมาในทางตรงกันข้ามถ้าตั้งช่องรับแสงโตยภาพที่ได้ช่องความชัดจะน้อยลงไป
ค่าตัวเลข f/value หมายถึงอัตราส่วนระหว่างทางยาวโฟกัสของเลนส์กับเส้นผ่าศูนย์กลางของขนาดช่องรับแสง f/value = ความยาวโฟกัสของเลนส์ (Focal length) / เส้นผ่าศูนย์กลางของขนาดช่องรับแสง (Diameter of aperture) เช่นเลนส์มาตรฐานมีความยาวโฟกัส 50 มม. มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องรับแสงกว้างสุด 35 มม. จะมีตัวเลข f/value = 50/35 = 1.4 นั่นคือ ความไวเลนส์ = 1.4 เป็นต้น เลนส์ที่มีขนาดใหญ่ จะเพิ่มค่าตัวหารทำให้ค่า f/value น้อยลง เช่น f=1.2 แสงที่จะเข้าไปในกล้องย่อมมีมากขึ้น เรียกได้ว่าเลนส์ตัวนั้นมีความไวเลนส์สูงตรงกันข้าม เลนส์ที่มีค่า f/value สูง เช่น f=2.8 แสงย่อมเข้าไปในกล้องได้น้อยกว่า เรียกว่า เลนส์มีความไวเลนส์ต่ำ
ไดอะเฟรม (Diaphragm) ในตัวเลนส์ของกล้องถ่ายภาพ จะมีที่ควบคุมปริมาณของแสง ให้แสงผ่านเลนส์ไปยังฟิล์มได้มากหรือน้อย ตามความต้องการเรียกว่าไดอะแฟรม ซึ่งมีลักษณะเป็นผอ่นโลหะสีดำบางๆ หลายๆ แผ่นเรียงซ้อนกันเป็นกลีบ มีช่องตรงกลาง สามารถปรับให้กว้างหรือแคบได้ เรียกว่า ช่องรับแสง (Aperture) การปรับขนาดช่องรับแสงให้หมุนวงแหวนที่ขอบนอกของเลนส์ ซึ่งจะมีตัวเลขแสดงค่าความกว้างหรือแคบ ได้แก่ 1.4, 2, 2.8 , 4 , 5.6 , 8 , 11 , 16 , 22 เป็นต้น เรียกตัวเลขเหล่านี้ว่า เลขเอฟ (f-number) หรือ เอฟสตอป (f-stop) ตัวเลขที่มีค่าน้อยเช่น 1.4 ช่องรับแสงจะเปิดกว้าง แสงผ่านเข้าไปได้มาก และตัวเลขที่มีค่ามาก เช่น 22 ช่องรับแสงจะเปิดแคบ แสงผ่านเข้าไปได้น้อย การปรับค่าของตัวเลขเอฟจากตัวเลขตัวหนึ่งไปยังเลขเอฟอีกตัวหนึ่ง เช่น เมื่อลดสตอปจาก f/11 เป็น f/8 ปริมาณความเข้มของการส่องสว่างบนฟิล์มจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ของขนาดเอฟสตอปเดิมคือ f/11 เป็นต้น

ส่วนประกอบของกล้องถ่ายรูป2


เลนส์ (Lens) เลนส์คือวัตถุที่ทำจากแก้วชนิดดีมีลักษณะกลม ผิวเรียบ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ เลนส์นูน และเว้าใช้ทำหน้าที่รับภาพและรับแสงจากภายนอกตัวกล้องไปยังวัสดุไวแสง(Sensitive Material)ฟิล์มที่บรรจุไว้ภายนอกตัวเครื่องทำหน้าที่เหมือนเป็นดวงตาหากกล้องถ่ายภาพปราศจากเลนส์จะเป็นกล้องที่สมบูรณ์ไม่ได้เลนส์ของกล้องถ่ายภาพมีหลายชนิดทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับการที่ จะนำไปใช้ในงานแต่ละประเภทก่อนที่จะกล่าวถึงคุณสมบัติของเลนส์ต้องทำความเข้าใจเกี่ยว กับเลนส์ของภาพว่ามีความแตกต่างอย่างไรบ้าง ขนาดขอความยาวโฟกัส หรือความยาวระยะชัด (Focal Lenght) ช่วงความนี้จะเขียนไว้ที่ขอบตัวเลนส์ เพื่อที่จะแสดงให้ผู้ที่จะใช้เลนส์ได้มีความสะดวก ความยาวโฟกัสของเลนส์นี้จะมีเขียนไว้เป็นตัวอักษรย่อว่า “F” และมีตัวเลขบอกความยาวไว้มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรหรือนิ้ว ความยาวโฟกัส คือความยาวระยะทางที่วัดได้จากเลนส์แผ่นฟิล์มที่อยู่ บนกล่องพื้นที่ราบมีรังสีแสงสว่างผ่านเลนส์เข้าไปสร้างภาพคมชัด บนแผ่นฟิล์มวัดจากแกนมุม ของเลนส์ขนาดที่โฟกัส ตั้งไว้ระยะที่ไกลสุดซึ่งภาพของภาพวัตถุจะปรากฎชัดที่สุด โดยปกติระยะความยาวของเลนส์มาตราฐานมีความยาวของเส้นทะแยงมุมของภาพที่ปรากฎบนฟิล์ม ของกล้องถ่ายภาพความยาวโฟกัสของเลนส์จะมีผลต่อการถ่ายภาพคือ เลนส์ถ่ายภาพใดก็ตามที่มีความยาวโฟกัสของเลนส์ ยิ่งยาวยิ่งทำให้มุมของการถ่ายภาพแคบ และช่วยย่นระยะของทางที่มองเห็นใกล้เข้ามาเลนส์ดังกล่าว ได้แก่เลนส์ถ่ายไกลเป็นต้นนอกจากนี้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส แตกต่างกันนอกจากสร้างผลทางภาพให้มีขนาดต่างกัน ยังสร้างผลทางช่วงความชัดให้มีความแตกต่างความยาวโฟกัสยิ่งยาวมากความชัด ยิ่งมากยิ่งตรงกันข้ามช่วงความชัดยิ่งสั้นมาเท่าใดช่วงความชัดของมากจะมีมากขึ้นเท่านั้นดังนั้น สรุปได้ว่าความยาวของโฟกัสของเลนส์มีผลต่อการถ่ายภาพ 2 ประเภท
1. ทำให้มุมของภาพ กว้างหรือแคบได้
2. ทำให้ความชัดมีมากหรือน้อยลงได้

ส่วนประกอบของกล้องถ่ายรูป


ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ
เลนส์ถ่ายภาพ - คือวัตถุที่ทำจากแก้วชนิดดีมีลักษณะกลม ในกล้องถ่ายภาพ เลนส์ทำหน้าที่รับภาพและรับแสงจากภายนอกตัวกล้องไปยังวัสดุไวแสง
ตัวกล้อง
ตัวรับภาพ (Image Sensor)
ไดอะแฟรม
ชัตเตอร์
ช่องมองภาพ
แฟลช

เลนส์ถ่ายภาพ เป็นส่วนประกอบหนึ่งของกล้องถ่ายภาพ ใช้สำหรับเป็นกลไกหนึ่ง ในการให้แสงสะท้อนกับวัตถุส่งผ่านเข้ามาสู่ในกล้อง เลนส์ถ่ายภาพมีหลายแบบทั้งแบบที่ ติดตั้งกับกล้อง และแบบที่สามารถแยกชิ้นส่วนออกมาได้ และสามารถปรับเปลี่ยน รูรับแสง ความยาวโฟกัส และคุณสมบัติอื่นๆ
เลนส์(Lens) เลนส์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายภาพ เป็นวัสดุโปร่งใส ทำด้วยแก้วหรือพลาสติค ทำหน้าที่หักเหแสงสะท้อนจากวัตถุ เกิดภาพจริงหัวกลับบนระนาบของฟิล์ม เลนส์ของกล้องถ่ายภาพอาจเป็นเลนส์นูนอันเดียว หรือเป็นชุดของเลนส์ย่อยๆ หลายๆ อันประแอบกันก็ได้ เพื่อให้สามารถปรับการถ่ายภาพได้หลายรูปแบบ แก้วหรือพลาสติกทุกชิ้นที่ประกอบเข้าเป็นเลนส์ ต้องประดิษฐ์ด้วยความประณีต เพื่อให้มีคุณภาพในความคมชัด สามารถแก้ไขการผิดเพี้ยนของสี และการคลาดเคลื่อนของรูปทรงให้ถูกต้อง มีการฉาบน้ำยาเคลือบผิวที่เลนส์ เรียกว่า Coated เพื่อให้เลนส์มีคุณภาพในการรับแสงและช่วยลดแสงสะท้อนให้น้อยลง ความยาวโฟกัสของเลนส์(Focal length) เลนส์ของกล้องถ่ายภาพจะมีความยาวโฟกัส(Focal length) แตกต่างกัน คำว่า "ความยาวโฟกัสของเลนส์" หมายถึง Ãะยะทางจากจุดศูนย์กลางโฟกัสของเลนส์(Optical center of lens) ถึงระนาบโฟกัสของภาพหรือฟิล์ม เมื่อเลนส์ตั้งระยะความชัดไว้ไกลสุด(Infinity)" ความยาวโฟกัสของเลนส์มักเขียนบอกไว้ที่ของเลนส์ด้านหน้า เช่น F = 50 มม. , F = 35 มม. หรือ F = 28 มม. เป็นต้น ความยาวโฟกัสของเลนส์ที่แตกต่างกัน ¨Ðทำให้มุมในการรับภาพแตกต่างกันด้วย เช่น เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้น F = 28 มม. จะรับภาพได้เป็นมุมกว้างกว่าเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาว F =50 มม. เป็นต้น และนอกจากนั้น ความยาวโฟกัสของเลนส์ยังมีผลต่อช่วงความชัดของภาพ(Depth of field) àลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นจะให้ช่วงความชัดของภาพมากกว่าเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาว เช่น เลนส์เทเลโฟโต้ เป็นต้น เลนส์ถ่ายภาพโดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ตามความยาวโฟกัสคือ
๑. เลนส์ธรรมดาหรือเลนส์มาตรฐาน(Normal lens or Standard lens) การกำหนดความยาวโฟกัสของเลนส์มาตรฐานประจำกล้องแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกันเช่น กล้อง 35 มม. ที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ เลนส์จะมีความยาวโฟกัสประมาณ 38-45 มม. ส่วนกล้อง 35 มม. สะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว(SLR) ที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เลนส์มาตรฐานจะมีความยาวโฟกัสประมาณ 55-58 มม. ซึ่งมีมุมในการรับภาพประมาณ 53 องศา ซึ่งใกล้เคียงกับการมองเห็นของสายตาคนส่วนเลนส์มาตรฐานสำหรับกล้องที่ใช้ฟิล์มขนาด 120 จะมีความยาวโฟกัสระหว่าง 75 - 90 มม.
๒. เลนส์มุมกว้าง(wide-angle lens) เลนส์มุมกว้างได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์มาตรฐาน เช่นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 35 มม. , 28 มม., 24 มม.,13 มม. เป็นต้น สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกคือ
๒.๑ เลนส์มุมกว้างธรรมดา(Modurate Wide-angle) ได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส ระหว่าง 25-40 มม.
๒.๒ เลนส์มุมกว้างมาก รับภาพได้ตรง(Rectilinear super wide) ได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 15-24 มม.
๒.๓ เลนส์มุมกว้างมาก รับภาพบิดโค้ง(Semifish eye super wide) ได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 15-24 มม. แต่ภาพที่ได้จะบิดโค้ง
๒.๔ เลนส์มุมกว้างพิเศษ รับภาพได้โค้งกลม เช่นเลนส์ตาปลา (Fish eye lens) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นมาก เช่น 6 มม. หรือ 8 มม. เป็นต้น เลนส์มุมกว้างเป็นเลนส์ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในสถานที่แคบๆ ซึ่งสามารถรับภาพได้กว้างลึก และกว้างไกล เก็บภาพต่างๆ ได้มากและจะได้ภาพที่มีช่วงความชัดมากกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ แต่สัดส่วนจะผิดเพี้ยน รูปทรงบิดเบี้ยวและโค้งงอ(Distortion) ยิ่งเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นมากๆ ความผิดเพี้ยนของภาพก็ยิ่งมีมาก เช่นเลนส์ตาปลา ความยาวโฟกัส 8 มม. หรือ 6 มม. ภาพที่ได้จะมีลักษณะเป็นวงกลม ภาพจะมีความบิดเบือนมาก ยกเว้นจุดตรงกลางภาพเท่านั้น
๓. เลนส์ถ่ายไกล(Telephoto lens) เลนส์ถ่ายไกลเป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาวกว่าเลนส์มาตรฐาน เช่นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 135 มม. , 500 มม. , 1000 มม. , 2000 มม. เป็นต้น เลนส์ถ่ายไกลสามารถปรับโฟกัสภาพได้เพียงระยะห่างระยะหนึ่งจากฟิล์มเท่านั้นเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยกลุ่มของชิ้นเลนส์หลายกลุ่มจัดวางเรียงให้เลนส์นูนที่มีโฟกัสยาวอยู่ข้างหน้าเลนส์เว้าที่มีโฟกัสสั้น ทำให้ได้ภาพถ่ายที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แม้ว่าวัตถุจะอยู่ห่างไกลมากก็ตาม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการถ่ายวัตถุที่ไม่สามารถเข้าไปใกล้ๆได้ เช่น การถ่ายภาพสัตว์ในป่า ภาพกีฬาบางประเภท ภาพทิวทัศน์ไกลๆ เป็นต้นเลนส์ถ่ายไกลที่มีความยาวโฟกัสยาวมากจะมีมุมในการรับภาพแคบลง เช่น เลนส์ถ่ายไกล 500 มม. มีมุมในการรับภาพ 5 องศา และเลนส์ถ่ายไกล 1000 มม. มีมุมในการรับภาพเพียง 2.5 องศา เป็นต้น นอกจากมีมุมในการรับภาพแคบแล้ว เลนส์ถ่ายไกลยังมีระยะช่วงความชัดน้อยมากภาพจะดูตื้นแบนมีระยะหลังของภาพพร่ามัวเลนส์ถ่ายไกลสามรถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ได้อีกคือ
๓.๑ เลนส์ถ่ายไกลระยะสั้น (Short telephoto) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 80-135 มม.
๓.๒ เลนส์ถ่ายไกลระยะปานกลาง (Medium telephoto) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 150-250 มม.
๓.๓ เลนส์ถ่ายไกลระยะไกล (Long telephoto) มีความยาวโฟกัสระหว่าง 300-600 มม.
๓.๔ เลนส์ถ่ายไกลระยะไกลพิเศษ (Super long telephoto) มีความยาวโฟกัสระหว่าง 800-2000 มม. นอกจากเลนส์ถ่ายภาพไกลโดยทั่วไปแล้วยังมีเลนส์อีกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่สำหรับถ่ายไกลเช่นเดียวกัน คือ เลนส์กระจก (Mirror lens) มีความยาวโฟกัส 500 มม. หรืออาจสูงถึง 2000 มม. กระบอกเลนส์มีลักษณะสั้นและกว้าง ประกอบด้วยกระจกโค้ง 2 บาน สะท้อนแสงและขยายภาพผ่านแก้วเลนส์หลายชิ้น เลนส์ชนิดนี้มีเลข เอฟ (f/number) ตายตัวเพียง 1 เลขเอฟ จึงมีข้อจำกัดในการเลือกใช้ฟิล์มและการตั้งความเร็วชัตเตอร์ ราคาก็ค่อนข้างแพง แค่ก็มีข้อดีในเรื่องรูปร่างกระทัดรัด มีความยาวโฟกัสยาวมาก และให้ภาพที่มีความคมชัดการถ่ายไกลนอกจากใช้เลนส์ทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวมาแล้วอาจใช้เทเลพลัส (Teleplus) หรือเทเลคอนเวอเตอร์ (Teleconverter) สวมต่อ ระหว่างเลนส์มาตรฐานกับกล้องถ่ายภาพจะสามารถเพิ่มความยาวโฟกัสของเลนส์เป็น 1.4 เท่า หรือมากกว่า ซึ่งเทเลคอนเวอเตอร์ดังกล่าวจะมีขนาด 1.4X, 2X, 3X หรือ 4X เป็นอุปกรณ์ประกอบชนิดหนึ่งที่มีราคาค่อนข้างถูก กระทัดรัดแต่ข้อเสียคือจะตัดทอนแสง ลดความคมชัดลงไปบ้าง
๔. เลนส์ซูม(Zoom lens) หมายถึงเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความยาวโฟกัสได้(Vari focal lens) ภาพที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเปลี่ยนแปลง เมื่อเปลี่ยนทางยาวโฟกัส กล่าวคือภาพจะมีขนาดเล็กสุด เมื่อทางยาวโฟกัสสั้นที่สุด เหมาะสำหรับใช้ถ่ายภาพที่ต้องการให้เห็นภาพกว้างๆ และในบางครั้งต้องการเน้นให้เห็นภาพเฉพาะ ความคมชัดของภาพถ่ายที่ใช้ความยาวโฟกัสยาว ปัจจุบันเลนส์ซูมแต่ละตัวจะมีความยาวโฟกัสต่างระยะกันประมาณ 2-6 เท่า เช่น เลนส์ซูมขนาด 43-86 มม., 70-250 มม., 85-300 มม. , 800-1200 มม. เป็นต้น
๕. เลนส์ ถ่ายใกล้หรือเลนส์แมโคร (Macro lens) คำว่า “Macro” เป็นคำที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่อยู่ใกล้เลนส์มากๆ (Close-up photography) เป็นเลนส์ที่สามรถถ่ายภาพโดยให้กล้องเข้าใกล้วัตถุที่ต้องการถ่ายได้เกิน 1- 1ฝ ฟุต สามารถปรับระยะชัดได้ ช่วยขยายวัตถุที่เล็กให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เลนส์ชนิดนี้บางทีก็เรียกชื่อว่า เลนส์ไมโคร (Micro lens) เลนส์แมโครความยาวโฟกัส 55 มม. ขยายภาพได้ 1:2 ส่วนเลนส์แมโคร 60 มม. ขยายภาพได้ 1:1 แต่ถ้าต้องการถ่ายภาพให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ ก็อาจใช้ร่วมกับท่อต่อ (Extention tube) หรือ ส่วนพับยืด (Bellows) ภาพถ่ายก็จะมีกำลังขยายมากขึ้น ความไวเลนส์ (Lens speed) ความไวเลนส์ หมายถึง ความกว้างของขนาดช่องรับแสงของเลนส์แต่ละตัวเมื่อเปิดกว้างสุดซึ่งมีผลทำให้สามารถรับแสงขณะถ่ายภาพได้มากน้อย ช้าหรือเร็วแตกต่างกันขนาดความกว้างสุดของช่องรับแสงของเลนส์แต่ละตัวจะมีตัวเลขบอกขนาดค่าของ f/value กำกับไว้ที่วงแหวนหน้าเลนส์ เช่น F/1.4, F/2.8 หรือ F/3.5 เป็นต้น
ที่มา:http://guru.sanook.com/search

กล้องถ่ายรูป



กล้องถ่ายภาพ หรือ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์บันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ของกล้อง เป็นการจำลองภาพทางแสงให้บันทึกลงบนวัสดุไวแสง (ฟิล์มถ่ายภาพประเภทต่าง ๆ และ/หรือตัวรับภาพ - Image Sensor) บันทึกเป็นภาพแฝงบนวัสดุไวแสง ก่อนนำไปผ่านกระบวนการล้างให้เป็นภาพถ่ายถาวร
กล้องถ่ายรูป เป็นเครื่องมือในการบันทึกภาพ หรือถ้าแปลตรงๆตัว คือการวาดแสงกล่าวคือ ถ้าเป็นกล้องทุกยุคทุกสมัย ก่อนที่จะมาเป็นกล้องดิจิตอลกล้องมีหน้าที่ เป็นกล่องที่มีกลไกในการปรับรูรับแสง(บางรุ่นที่เปลี่ยนเลนส์ได้กลไกอาจอยู่ที่ตัวเลนส์) มีกลไกนในการปรับความไวชัทเตอร์ และ บางรุ่น จะมีกลไกในการวัดแสงด้วย ทั้งนี้ถ้าเป็นกล้องชนิดไดเร็ควิว(กล้องคอมแพ๊ค)จะมีกลไกควบคุมเกี่ยวกับเลน์และโฟกัสด้วยและนอกจากนั้น ยังมีกลไกในการขับเคลื่อนฟีล์มภายหลังกล้องจะเพิ่มกลไกอิเล็คทอรนิกส์ในการขับเคลื่อนชิ้นเลนส์หลายทางยาวโฟกัส(ซูม)กลไกโฟกัสอัตโนมัติและกลไกไฟวาบ(แฟลช)โดยรวมแล้วกล้องถ่ายรูป คือเครื่องมือที่มีหน้าที่หลักในการกำหนดปริมาณและบังคับแสงให้ตกลงบนฟีล์ม โดยรวมกลไกและระบบต่างๆในการถ่ายภาพไว้ส่วนทำให้เกิดภาพ และบันทึกภาพไว้จริงๆคือ ฟีล์มซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับคำถาม(ถามแค่ตัวกล้อง และไม่มีคำว่าดิจิตอลกำกับ) หากต้องการคำตอบส่วนใหนเพิ่ม ให้ถามเพิ่มในส่วนนั้นๆเช่น
-เลนส์
-กล้องดิจิตอล
-ฟีล์มถ่ายรูป
-ฯลฯ
ที่มา:th.wikipedia.org/wiki