วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โทรเลขไทยสู่ยุค3G 15

1G คือยุคที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้เครือข่ายที่มีรูปแบบการรับ-ส่งข้อมูลแบบแอ นtล็อก (Analog) 2G คือยุคที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้เครือข่ายที่มีการรับ-ส่งข้อมูลรูปแบบดิจิ ทัล (ซึ่งทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้มากขึ้น) ส่วน 3G นั้น คือยุคที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้เครือข่ายที่มีความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูล สูงมาก จนสามารถรองรับการทำงานรูปแบบใหม่ๆ ได้มากมาย นอกเหนือไปจากการโทรเข้าโทรออกและการส่งข้อความสั้นซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้น ฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G

จุดเปลี่ยนครั้งแรกของไทยเกี่ยวกับระบบการสื่อสารไร้สายเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เมื่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ NMT (Nordic Mobile Telephone) ย่านความถี่ ๔๗๐ เมกะเฮิรตซ์ (MHz) มาให้บริการเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นการเปิดยุคของการสื่อสารไร้สายอย่างจริงจังและเข้าสู่ยุค 1G เต็มตัว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการทดลองนำระบบโทรศัพท์ไร้สาย (Multi Access Radio Telephone) มาให้บริการประชาชนครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทั้งยังมีปัญหาเรื่องพื้นที่ให้บริการที่ไม่ครอบคลุมกว้างขวางพอ

ไพโรจน์ ไววานิชกิจ นักวิชาการอิสระที่ทำงานในแวดวงธุรกิจการสื่อสารมานาน เล่าถึงสภาพการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคนั้นว่า “จะเห็นนักธุรกิจมีโทรศัพท์เครื่องใหญ่ติดอยู่ที่คอนโซลรถยนต์ มีตัว speaker แยกออกมาเหมือนกับเครื่องส่งวิทยุในรถแท็กซี่สมัยนี้ ซึ่งสมัยนั้นใครมีโทรศัพท์แบบนี้ถือว่าเท่มาก แม้มันจะมีน้ำหนักเท่ากับกระเป๋าเอกสารก็ตาม”

ความรวดเร็วของโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งผู้ใช้สามารถควบคุมการติดต่อสื่อ สารได้เอง แสดงประสิทธิภาพของมันอย่างชัดเจนเมื่อเกิดเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕

ครั้งนั้นโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งมีขนาดใหญ่พอๆ กับกระเป๋าและกระติกน้ำของนักเรียนประถมได้ก่อปรากฏการณ์ทางการเมืองขึ้น หลังจากที่เผด็จการ รสช. ทำการปิดกั้นข่าวสารการชุมนุมประท้วงจากสื่อต่างๆ กระทั่งกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต้องทำการตรวจสอบข่าวโดยตรงกับผู้ที่อยู่ ในที่ชุมนุม เมื่อพบว่าถูกหลอก ปฏิกิริยาการต่อต้านจึงขยายวงกว้างออกไปจนรัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้ แม้ขณะนั้นรัฐบาลจะสามารถคุมสื่อทีวีและหนังสือพิมพ์เอาไว้ได้ทั้งหมดก็ตาม

เมื่อเหตุการณ์จบลง กลุ่มผู้ชุมนุมในครั้งนั้นจึงได้รับการเรียกขานว่า “ม็อบมือถือ”

โทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มได้รับความนิยมในวงกว้างและกลุ่มผู้ใช้เพิ่ม จำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมีการพัฒนาเครือข่ายเข้าสู่ยุค 2G ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคนี้ยังผ่านการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความปลอดภัยจากการดักขโมยสัญญาณ ความคมชัดของสัญญาณ ตลอดจนพื้นที่ให้บริการก็ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น ที่สำคัญคือ เงินที่ต้องจ่ายเพื่อเป็นเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกลงจนคนทั่วไปโดยเฉพาะ ชนชั้นกลางมีกำลังจ่ายได้

“การรุกตลาดการสื่อสารอย่างเข้มข้นของโทรศัพท์มือถือช่วง ๑ ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ทำให้การสื่อสารด้วยวิธีการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจดหมาย โทรศัพท์บ้าน หรือโทรเลข ต่างก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะโทรเลขนั้นแทบจะพูดได้ว่าไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป” ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ และนักวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เคยกล่าวกับนิตยสาร National Geographic (ฉบับภาษาไทย ตุลาคม ๒๕๔๗) ไว้เช่นนั้น

ยิ่งโทรศัพท์เคลื่อนที่แพร่หลายขึ้น ข้อจำกัดของการสื่อสารก็นับวันจะลดน้อยลงทุกที เทคโนโลยีการสื่อสารรุ่นเก่าที่ไม่สามารถตอบสนองการใช้งานของคนยุคใหม่ได้ ย่อมได้รับผลกระทบอย่างยากจะหลีกเลี่ยง


ที่มา:http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=514&page=2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น