วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 8

ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน กล้องดิจิตอลมีการพัฒนาอย่างมาก ในแต่ละปีมีกล้องรุ่นใหม่ๆ จากหลายสิบยี่ห้อนับร้อยรุ่น ตั้งแต่กล้องคอมแพคตัวเล็กๆ จนถึงกล้องรุ่นใหญ่สำหรับมืออาชีพ ความละเอียดเพิ่มมากขึ้นจาก 2, 3, 4 เป็น 5 ล้านพิกเซล กล้องคอมแพคบางรุ่นในวันนี้ เช่น Sony DSC-F828 มีความละเอียดสูงถึง 8 ล้านพิกเซล ส่วนดิจิตอล SLR ก็ขึ้นไปถึง 14 ล้านพิกเซลใน Kodak DSC-Pro14n กล้องรูปทรงแปลกๆ ใหม่ๆ ถูกผลิตออกมามากมาย บางรุ่นบางเฉียบเหมือนบัตรเครดิต บางรุ่นหน้าตาแทบไม่ต่างกับกล้องใช้ฟิล์ม แต่ที่น่าสนใจมากคือในขณะที่คุณภาพดีมากขึ้น ราคากลับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกล้องดิจิตอล SLR ระดับ 6 ล้านพิกเซล จากราคานับล้านบาทเมื่อสี่ปีก่อน เหลือไม่ถึงห้าหมื่นบาทในปีนี้ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การ์ด CF 128 MB ที่มีราคาประมาณ 20,000 บาทในปี 2000 ถึงปีนี้ลดเหลือเพียงพันกว่าบาทเท่านั้น ส่งผลให้ตลาดกล้องดิจิตอลมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเดิมในปี 1996 มียอดขายกล้องดิจิตอลทั่วโลกประมาณ 1 ล้านตัว แต่ในปี 2002 ที่ผ่านมา มียอดขายมากกว่า 30 ล้านตัว ส่วนในเมืองไทยของเราก็มียอดขายนับแสนตัวและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน



ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 7


ปี 1998 ในปีนี้กล้องดิจิตอลถูกผลิตขึ้นมากอีกกว่าหนึ่งเท่าตัว ส่วนใหญ่มีความละเอียด 1.2-1.5 ล้านพิกเซล โดยมีกล้องที่โดดเด่นคือดิจิตอล SLR ของโกดักรุ่น DCS 520 ใช้บอดี้ Canon ES1N ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล จัดเก็บภาพด้วยฮาร์ดดิสก์ PCMCIA Type III 340 MB
ปี 1999 ตลาดกล้องดิจิตอลเติบโตขึ้นมาก ในแต่ละเดือนมีกล้องรุ่นใหม่ๆ หลายสิบรุ่น ส่วนใหญ่มีความละเอียดที่ 2 ล้านพิกเซล เพียงพอกับการนำไปอัดขยายภาพขนาด 4 x 6 นิ้ว ให้คุณภาพดีพอสมควร แม้ว่าจะยังห่างไกลกับการใช้ฟิล์ม แต่ก็พอยอมรับได้ และ Olympus ก็เปิดตัวกล้องตระกูล C เป็นครั้งแรกในรุ่น C-2020

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 6

ปี 1997 เป็นปีที่มีกล้องดิจิตอลจากผู้ผลิตนับสิบยี่ห้อ ทั้งจาก Nikon, Canon, Minolta, Olympus, Kodak, Fujifilm, Casio, Epson, Konica, Kyocera, Panasonic, Ricoh, Samsung, Sanyo, Sony, Sharp, Toshiba, Vivitar และอื่นๆ อีกมากมาย กล้องส่วนใหญ่ให้ขนาดภาพ 640 x 480 พิกเซล มีเพียงบางรุ่นที่เกิน 1 ล้านพิกเซล เช่น Olympus Camedia C-1400L ความละเอียด 1.4 ล้านพิกเซล ออกแบบรูปทรงเป็นตัวแอล (L) คล้ายกับกล้อง SLR Kodak DC210 ความละเอียด 1 ล้านพิกเซล จัดเก็บภาพด้วยการ์ด Fuji DS-300 ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล






ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 5

ปี 1986 หรืออีกสองปีต่อมา Canon ก็ผลิตกล้องภาพนิ่งวิดีโอออกจำหน่ายให้กับนักถ่ายภาพมืออาชีพเป็นครั้งแรก ในรุ่น RC-701 โดยมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ช่างภาพข่าวเป็นหลัก ช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น โดยชื่อรุ่น RC มาจากคำว่า Realtime Camera หรือกล้องที่ได้ภาพทันทีนั่นเอง มีเลนส์ซูมขนาด 11-66 มม. f/1.2 ราคา 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ถ้ารวมอุปกรณ์รับส่งภาพทางสายโทรศัพท์ครบชุดจะมีราคา 27,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ขนาดของ CCD คือ 6.6 x 8.8 มม. ความละเอียด 187,200 พิกเซล ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 1-10 เฟรม/วินาที ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ และกล้องรุ่นนี้ได้ถูกช่างภาพข่าว Tom Dillon ของหนังสือพิมพ์ USA Today ถ่ายภาพและตีพิมพ์เป็นภาพข่าวสีภาพแรกที่บันทึกด้วยกล้องภาพนิ่งวิดีโอ โดยบรรณาธิการภาพข่าวได้เห็นภาพดังกล่าวหลังจากที่ช่างภาพบันทึกไปแล้วในเวลาเพียง 12 นาทีเท่านั้น ทางสมาคมนักข่าวของอเมริกา เล็งเห็นประโยชน์ของภาพดิจิตอลกับงานข่าว จึงวางแผนที่จะเปลี่ยนการส่งภาพข่าวจากระบบอะนาล็อกมาเป็นดิจิตอลเพราะช่วยประหยัดเวลาในการส่งภาพได้ถึง 90% ทีเดียว




ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 4

ปี 1981 Sony เปิดตัวกล้องถ่ายภาพที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ถ่ายภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ต้องใช้ฟิล์ม แต่ยังไม่ใช่กล้องดิจิตอล เป็นเพียงกล้องโทรทัศน์หรือกล้องภาพนิ่งวิดีโอ จัดเก็บภาพด้วยแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 2 นิ้ว ใช้ชื่อว่า Sony Mavica (Megnetic Video Camera) บันทึกด้วย CCD ให้ภาพที่มีความละเอียด 570 x 490 พิกเซล (ขนาดของชิพคือ 10 x 12 มม.) ความไวแสงเทียบเท่า ISO 200 ปี

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 3


ปี 1976 Canon ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพ 35 มม. SLR ตัวแรกของโลกที่มีไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น AE-1 สำหรับการประมวลผลและควบคุมการทำงาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกล้องระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบในวันนี้ อีกห้าปีต่อมา Pentax ก็ผลิตกล้องรุ่น ME-F ที่ใช้เลนส์ออโต้โฟกัสในกล้อง SLR เป็นตัวแรกของโลก

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 2


ในปี 1974 ก็มีการใช้เทคโนโลยี CCD ร่วมกับกล้องเทเลสโคบขนาด 8 นิ้ว บันทึกภาพดวงจันทร์ด้วยระบบดิจิตอลเป็นภาพแรกที่ความละเอียด 100 x 100 พิกเซล

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล

นับตั้งแต่ที่มีการคิดค้นการถ่ายภาพ จนปรากฏภาพถ่ายแรกของโลกที่เรารู้จักและมีหลักฐานมาถึงวันนี้ในปี ค.ศ.1825 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว กล้องถ่ายภาพมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาอย่างช้าๆ

เริ่มจากกล้องสำหรับผู้ใช้ทั่วๆ ไปตัวแรกของโลก คือ Daguerrotype ในปี ค.ศ. 1839 จำหน่ายในราคาประมาณ 50 ดอลล่าร์สหรัฐ กระทั่งปี 1900 หรือประมาณหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา โกดักก็เปิดตัวกล้องถ่ายภาพรุ่น Brownie สามารถโหลดฟิล์มได้ และมีช่องมองภาพเป็นอุปกรณ์เสริม ใส่ไว้ทางด้านบน ราคากล้องรุ่นนี้เพียง 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็เป็นกล้องที่หายากมากในปัจจุบัน การถ่ายภาพระบบดิจิตอลถือกำเนิดขึ้นเมื่อมีการคิดค้น CCD สำหรับใช้บันทึกในกล้องวิดีโอเมื่อปี ค.ศ. 1970 ถัดมาอีกเพียงปีเดียว ก็มีการส่งข้อความทางอีเมล์เป็นครั้งแรกของโลก โดย Ray Tomlinsn

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การใช้กล้องถ่ายรูป 7

4.4 การวัดแสง
หลังจากที่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความเร็วชัตเตอร์ กับการเปิดรูรับแสงแล้ว ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการวัดแสง เพื่อให้ได้ภาพที่มีความสมดุลย์ของแสงและความอิ่มตัวของสี ความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงต้องมีความสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพส่วนใหญ่จะสามารถปรับสภาพของการรับแสงของกล้องได้โดยอัตโนมัติก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ถ่ายภาพต้องทำความเข้าใจ คือ ลักษณะของภาพที่ต้องการ อาจต้องการภาพที่มีความชัดลึก เช่น ภาพภูมิทัศน์ ภาพงานพิธีต่างๆ หรือภาพที่ต้องการให้มีลักษณะชัดตื้น เพื่อเน้นเฉพาะจุด เช่น การถ่ายภาพบุคคล การถ่ายภาพวัตถุต่างๆ หรือภาพที่ต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงเพื่อหยุดภาพที่เคลื่อนไหวอย่างเร็ว
ภาพที่วัดแสงได้ถูกต้องหรือ Normal จะได้ภาพที่มีความเข้มของสีถูกต้อง เหมาะสม แต่ถ้าวัดแสงผิดพลาด คือ ให้ฟิล์มรับแสงน้อยเกินไป หรือ Under อาจเกิดจากเปิดรูรับแสงน้อยเกินไป หรือใช้ความเร็วชัตเตอร์เร็วเกินไป ภาพจะออกมามีโทนสีดำมาก หรือที่เรียกว่า ภาพมืด ยิ่งผิดพลาดมากเท่าใดภาพยิ่งมืดมากเท่านั้น ส่วนภาพที่รับแสงมากเกินไปหรือ Over มีสาเหตุจากใช้รูรับแสงกว้างเกินไป หรือความเร็วชัตเตอร์ช้าเกินไป ทำให้ภาพที่ได้มีสีขาวมาก หรือแสงจ้ามาก ทำให้ภาพขาดความสดใสไปมาก
ดังนั้น ก่อนการกดชัตเตอร์ ควรศึกษาเรื่องการวัดแสงให้ถูกต้อง ศึกษาคู่มือการใช้กล้องและฟิล์มให้ดี เพราะถ้าวัดแสงผิดพลาดจะเสียทั้งเวลา เงินทอง และโอกาสที่จะได้ภาพดีๆ ไปอย่างน่าเสียดาย




ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

การใช้กล้องถ่ายรูป 6

4.3 การกำหนดค่ารูรับแสง
การกำหนดรูรับแสง เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติควบคู่กับการกำหนดความเร็วชัตเตอร์ เพราะเป็นตัวกำหนดปริมาณของแสงที่มากระทบกับฟิล์ม ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง โดยมีการกำหนดค่าตั้งแต่กว้างสุด จนถึงแคบสุด โดยแทนค่าเป็นตัวเลข ยิ่งตัวเลขมากเท่าใดรูรับแสงยิ่งแคบลง
วิธีการเพิ่มหรือลดรูรับแสงนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแสง ค่าความไวแสงของฟิล์มและความเร็วชัตเตอร์เป็นสำคัญ ยิ่งเปิดรูรับแสงแคบเท่าใดต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำลงเพื่อรักษาความสมดุลย์ของแสง การเปิดรูรับแสงนั้นจะส่งผลต่อภาพในเรื่องของระยะชัด (Depth of field) ของภาพ ในกรณีที่เปิดรูรับแสงกว้างจะทำให้ภาพมีความชัดเฉพาะจุดหรือชัดตื้น ถ้าเปิดรูรับแสงปานกลางถึงแคบสุด ภาพจะเพิ่มระยะชัดหรือมีความชัดลึกมากขึ้น



ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

การใช้กล้องถ่ายรูป 5

4.2 การกำหนดความเร็วชัตเตอร์
การกำหนดความเร็วชัตเตอร์ เป็นความจำเป็นอีกประการหนึ่งในการถ่ายภาพ เพราะจะเป็นตัวกำหนดช่วงเวลาในการรับแสงของฟิล์ม ซึ่งที่ตัวกล้องจะมีตัวเลขแสดงค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นจำนวนเต็ม เช่น B 1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 เป็นต้น แต่ความเป็นจริงแล้ว 1 หมายถึงกล้องจะเปิดม่านชัตเตอร์ให้แสงกระทบกับฟิล์มเป็นเวลา 1 วินาที 2 หมายถึง 1/2 วินาที ไปจนถึง 1/1000 วินาที ค่าตัวเลขยิ่งสูงมากเท่าใดความเร็วยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
การกำหนดความเร็วชัตเตอร์ จะขึ้นอยู่กับสภาพแสง และจุดประสงค์ในการถ่ายภาพเป็นสำคัญ ถ้าแสงมีความสว่างมากเช่นในตอนกลางวัน ช่วงเวลา 10.00 น. - 14.00 น. ในวันที่ฟ้าสดใสไม่มีเมฆหรือหมอกมาบัง จะสามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้สูง เช่น 1/250 1/500 หรือ 1/1000 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดรูรับแสงด้วยซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพควรตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงไว้ คือ ตั้งแต่ 1/125 ขึ้นไป จะช่วยป้องกันปัญหากล้องสั่นไหวมที่ส่งผลให้ภาพที่ได้พร่ามัว และการถ่ายภาพวัตถุที่ไม่หยุดอยู่กับที่ เช่น การแข่งขันกีฬา ควรตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่สูงด้วยเช่นกัน เพราะจะทำให้ภาพที่ที่ได้หยุดนิ่ง (Stop action)


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

การใช้กล้องถ่ายรูป 4

4. วิธีการถ่ายภาพ
4.1 การปรับระยะชัด (Fucusing)
สิ่งที่สำคัญในการถ่ายภาพ คือ การปรับระยะชัดหรือระยะโฟกัสจะช่วยให้ภาพที่ได้มีความคมชัด สำหรับกล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวสามารถมองผ่านช่องมองภาพได้ โดยปรับความคมชัดจากวงแหวน ปรับระยะชัดที่เลนส์ โดยภาพที่ปรากฏผ่านช่องมองภาพจะเป็นภาพจริง ดังนั้นผู้ถ่ายภาพควรคำนึงถึงวัตถุที่ต้องการเน้นให้มีความชัดเจนมากที่สุด ที่กระบอกเลนส์จะมีค่าแสดงตัวเลขบอกระยะทางจากตัวกล้องไปจนถึงวัตถุที่ปรับระยะชัด ช่วงระยะในการชัดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง ยิ่งแคบมากยิ่งทำให้ระยะชัดลึกมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าเปิดรูรับแสงกว้างมากต้องระวังการปรับระยะชัดให้ดีเพราะช่วงชัดลึกจะสั้น หรือเลนส์ยิ่งมีความยาวโฟกัสมากเท่าใด ความชัดลึกย่อมมีน้อยตามไปด้วย ดังนั้นผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้และฝึกการปรับระยะชัดให้แม่นยำและรวดเร็ว
ในปัจจุบันกล้องบางรุ่นจะมีระบบปรับความชัดอัตโนมัติ (Auto focus) ซึ่งต้องศึกษาการใช้งานจากคู่มือของกล้องรุ่นนั้นให้ดี เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการถ่ายภาพ


ที่มา:ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/digital.htm

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การใช้กล้องถ่ายรูป 3

3. วิธีการจับกล้องถ่ายภาพ
วิธีการจับกล้องถ่ายภาพเพื่อถ่ายภาพ ต้องจับในท่าที่ถนัดและมั่งคงที่สุด เพื่อป้องกันการสั่นไหวของกล้องถ่ายภาพขณะบันทึกภาพ ด้วยการจับด้วยสองมือให้มั่นคง นิ้วชี้ของมือขวาจะใช้กดชัตเตอร์และปรับความเร็วชัตเตอร์ นิ้วหัวแม่มือจะใช้ในการเลื่อนฟิล์ม ใช้อุ้งมือและนิ้วที่เหลือจับกล้องให้มั่น ส่วนมือข้างซ้ายจะวางอยู่ที่ด้านล่างของกล้อง โดยใช้อุ้งมือเป็นตัวรองรับด้านล่างของกล้อง ใช้นิ้วหัวแม่มือสำหรับการปรับระยะชัดและปรับขนาดรูรับแสง ข้อศอกทั้งสองข้างชิดลำตัวเพื่อให้กล้องนิ่งที่สุดขณะบันทึกภาพ
นอกจากนี้ยังมีท่าจับกล้องในลักษณะต่างๆ ตามสถานการณ์การถ่ายภาพ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอนและท่าอื่นๆ เพื่อให้ได้ภาพในมุมที่สวยและคมชัดที่สุด


1. ท่าถ่ายภาพท่าปกติ ใช้มือซ้ายประคองกล้องให้นิ่ง พร้อมปรับระยะชัดและปรับรูรับแสง มือขวาจับตัวกล้องให้แน่น พร้อมทั้งลั่นชัตเตอร์ ข้อศอกชิดลำตัว ทำให้การจับถือกล้องมั่นคงยิ่งขึ้น


2. ท่าถ่ายภาพท่าปกติในแนวตั้ง ข้อศอกชิดลำตัว ทำให้การจับถือกล้องมั่นคงยิ่งขึ้น


3. ท่าถ่ายภาพในท่านั่ง ข้อศอกซ้ายตั้งบนหัวเข่าช่วยให้กล้องนิ่


4. ท่าถ่ายภาพท่าในท่านอน ข้อศอกทั้งสองข้างตั้งพื้น ใช้ในกรณีถ่ายภาพที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำโดยไม่มีขาตั้งกล้อง หรือถ่ายภาพวัตถุในที่ต่ำ


5. ท่าถ่ายภาพท่าในท่านอน วางกล้องกับพื้น ใช้ในกรณีที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากเพื่อให้กล้องนิ่งที่สุด (ถ้ามีขาตั้งกล้องให้ใช้แทน) หรือตั้งเวลาในการถ่ายภาพตัวเอง


6. ท่าถ่ายภาพท่าเหนือศีรษะ ใช้สำหรับถ่ายภาพผ่านสิ่งกีดขวาง แต่ถ่ายภาพในลักษณะนี้ ผู้ถ่ายต้องมั่นใจว่าจะสามารถถ่ายภาพได้ไม่หลุดกรอบ หรือกะระ-ยะโฟกัสได้แม่นยำ


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/howto.htm

การใช้กล้องถ่ายรูป 2

2. การตั้งค่าความไวแสงของฟิล์ม (ISO)
ฟิล์มที่มีจำหน่ายในท้องตลาด จะมีค่าความไวแสงที่แตกต่างกันตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้น ก่อนการถ่ายภาพควรต้องตรวจสอบว่าฟิล์มที่ใช้มีความไวแสงเท่าใด โดยดูได้จากกล่องของฟิล์มและที่ม้วนของฟิล์ม หากกำหนดค่าความไวแสงของฟิล์มผิดพลาดจะทำการวัดแสงผิดพลาดด้วย ทำให้ภาพที่ได้อาจจะมืดหรือสว่างเกินไปก็เป็นได้
ในกล้องถ่ายภาพ 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวโดยทั่วไป จะมีปุ่มปรับค่าความไวแสงไว้ที่ด้านบนของตัวกล้อง ซึ่งมีตัวเลขแสดงค่าความไวแสงขนาดต่างๆ ไว้ ผู้ใช้ต้องปรับให้ค่าความไวแสงให้ถูกต้อง ซึ่งกล้องแต่ละรุ่นจะมีวิธีการไม่เหมือนกันซึ่งต้องดูรายละเอียดจากคู่มือการใช้กล้องชนิดนั้นๆ
ในกล้องถ่ายภาพบางรุ่น จะมีระบบปรับค่าความไวแสงเองโดยอัตโนมัติโดยตัวกล้องจะมีปุ่มสำหรับอ่านค่าความไวแสงจากรหัสที่กลักฟิล์ม ดังนั้นเวลาจับกลักฟิล์มต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดของมือ เพราะอาจจะทำให้รหัสของฟิล์มมีรอยหรือมีคราบสกปรกจะทำให้การวัดแสงผิดพลาดไปด้วย

การตั้งค่าความไวแสงของฟิล์มที่ตัวกล้อง ให้ตรงกับค่าความไวแสงของฟิล์มเพื่อป้องกันไม่ให้วัดแสงผิดพลาด


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/howto.htm

การใช้กล้องถ่ายรูป

1. การบรรจุฟิล์ม
เพื่อให้กล้องพร้อมที่จะใช้งาน ผู้ใช้จะต้องศึกษาจากคู่มือของกล้องอย่างละเอียด เพราะกล้องแต่ละชนิดแต่ละรุ่น จะมีกลไกในการทำงานไม่เหมือนกัน แต่กล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวโดยทั่วไปแล้วจะไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก โดยมีขั้นตอนการบรรจุฟิล์มและการตรวจสอบเป็นขั้นตอน ดังนี้


1. เปิดฝาหลังกล้องและดึงก้านกรอฟิล์มกลับขึ้นจนสุด วางกลักฟิล์มให้เข้ากับช่องใส่กลักฟิล์ม ระวัง !! อย่าให้นิ้วหรือหางฟิล์มกระทบกับม่านชัตเตอร์เป็นอันขาด


2. ดึงหางฟิล์มออกจากกลัก และสอดปลายของหางฟิล์มเข้ากับแกนหมุนฟิล์มให้แน่น ให้รูหนามของกล้องเข้ากับรูหนามเตยของฟิล์มให้สนิท



3. ปิดฝาหลังกล้องทดลองขึ้นฟิล์มและกดชัตเตอร์ประมาณ 2 ภาพ (เพราะเป็นส่วนหัวฟิล์มที่โดนแสงแล้ว) ตรวจสอบความเรียบร้อยของฟิล์ม โดยหมุนก้านกรอฟิล์มกลับให้ตึง เมื่อขึ้นฟิล์มก้านกรอฟิล์มกลับจะหมุนตาม แสดงว่ากล้องถ่ายภาพพร้อมที่จะใช้งานได้แล้ว
หมายเหตุ : กล้องถ่ายภาพบางรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้องที่ถ่ายภาพระบบอัตโนมัติจะมีกลไกในการบรรจุฟิล์มที่สะดวกขึ้น ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้กล้องถ่ายภาพชนิดนั้นๆ


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/howto.htm

อุปกรณ์ในการถ่ายรูป 5

บังแสงของเลนส์(Lens shade หรือ Hood)
ที่บังแสงของเลนส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สวมไว้หน้าเลนส์มีทั้งชนิดเป็นโลหะ และเป็นยาง ทำหน้าที่ป้องกันแสงที่ไม่ต้องการเข้าไปในเลนส์ อาจทำให้ภาพมีรอยแสงด่างไม่สวยงาม



ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/equipment.htm

อุปกรณ์ในการถ่ายรูป 4

ไฟแวบหรือแฟลช(Flash)
ในการถ่ายภาพในที่ๆ มีแสงน้อย เช่น เวลากลางคืน หรือกลางวันที่มีแสงไม่เพียงพอในการถ่ายภาพ เราจำเป็นต้องใช้แฟลชเข้าช่วย นอกจากเป็นการเพิ่มแสงสว่างให้แก่วัตถุแล้ว ยังสามารถใช้แฟลชเพื่อลบเงาและปรุงแต่งแสงให้ดูนิ่มนวลยิ่งขึ้น แฟลชมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. แฟลชบัลบ์ (Flash bulb) เป็นหลอดแฟลชที่ภายในหลอดมีไส้หลอดแต่ละหลอดจะจุดสว่างได้เพียงครั้งเดียว เมื่อใช้แล้วต้องเปลี่ยนหลอดใหม่ทุกครั้ง
2. แฟลชอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic flase) เป็นแฟลชที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันตัวหลอด ทำด้วยแก้วใสประเภทควอทซ์ (Quartz) ภายในมีไส้หลอดบรรจุด้วยก๊าซซีนอน (Xenon) ให้อุณหภูมิสีเหมือนสีของแสงจากดวงอาทิตย์ (ประมาณ 5500K - 6000K) ดังนั้นฟิล์มสีประเภท Day light เมื่อนำมาถ่ายภาพด้วยแสงอิเล็กทรอนิคส์แฟลชแล้ว จะให้สีที่ถูกต้องเหมือนสีธรรมชาติ แฟลชชนิดนี้สามารถจุดให้หลอดสว่างได้ถึง 10,000 ครั้ง โดยอาศัยพลังงานจากกระแสไฟฟ้า AC หรือแบตเตอรี่แห้ง สำหรับแบตเตอรี่แห้งที่ใช้กันทั่วไป มีขนาดเล็กทำด้วย Alkaline ถ่ายภาพได้กว่า 100 ภาพต่อแบตเตอรี่ 1 ชุด และถ้าเป็นแบบ Nickel cadmium เมื่อใช้ไฟหมดสามารถนำมาประจุไฟใหม่ด้วยกระแสไฟ AC การประจุไฟแต่ละครั้งสามารถนำไปถ่ายได้เกินกว่า 50 ภาพ

ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/equipment.htm

อุปกรณ์ในการถ่ายรูป 3

เครื่องวัดแสง(Light meter)
เครื่องวัดแสงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการถ่ายภาพ เป็นเครื่องมือที่จะคำนวณปริมาณของแสงที่ถูกต้อง สามารถบอกเป็นตัวเลขของช่องรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ กล้องถ่ายภาพรุ่นใหม่ๆ จะมีเครื่องวัดแสงติดมากับตัวกล้อง (Exposure meter) ซึ่งมีวัสดุที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแสงให้เป็นไฟฟ้าอยู่ 4 ชนิด คือ
1. เซลล์แคดเมียมซัลไฟด์ (CDS) มีขนาดเล็ก มีความไวแสงมากกว่าเซลล์ซีลีเนียม ใช้ได้ดีในที่ๆ มีแสงน้อย
2. เซลล์ซีลีเนียม
3. เซลล์ซีลิคอน (SPD) มีขนาดเล็ก และมีความไวแสงมากกว่าเซลล์แคดเมียม ถือได้ว่าเป็นเซลล์ไวแสงที่เหมือนตามนุษย์มากที่สุด
4. เซลล์แกลเลี่ยม เป็นเซลล์ที่มีความไวในการวัดแสงได้ดีมาก นิยมใช้แทนเซลล์ซิลิคอนเพราะว่ามีราคาถูกกว่าและคุณสมบัติที่เหนือกว่า

เครื่องวัดแสงที่ติดตั้งในตัวกล้อง แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ
1. ตัววัดแสงอยู่ภายนอกตัวกล้อง อาจใช้ซีลีเนียมหรือแคดเมียมซัลไฟด์ มีขนาดและรูปร่างต่างๆ ส่วนมากจะติดอยู่ที่ตัวเลนส์หรือรอบวงแหวนของเลนส์
2. ตัววัดแสงอยู่ภายในกล้อง และวัดแสงที่หักเหผ่านเลนส์ (Through the lens) หรือ TTL มักใช้แคดเมียมซัลไฟด์เพราะมีขนาดเล็กและความไวแสงสูง สามารถวัดแสงได้ถูกต้องและแม่นยำ มักติดตั้งเซลล์วัดแสงที่ตัวปริซึมห้าเหลี่ยม หรือใต้ช่องกระจกสะท้อนภาพ เครื่องวัดแสงแบบ TTL มีระบบในการวัดอยู่ 3 แบบ
วัดแสงเฉพาะตรงส่วนกลาง (Center spot) เป็นการวัดแสงในเนื้อที่เล็กๆ เฉพาะส่วนที่ต้องการ ทำให้การวัดแสงถูกต้องดีมาก
แบบเฉลี่ยแสงทั่วทั้งภาพ (Full area everaging) เซลล์วัดแสงจะรับแสงสะท้อนจากวัตถุทั้งหมดแล้วเฉลี่ยปริมาณของแสง
แบบเฉลี่ยแสงแบบกลางภาพ (Center weighted) เป็นการผสมกันระหว่างวัดเฉพาะส่วนกลางกับวัดเฉลี่ยแสงทั่วทั้งภาพ ให้ผลการวัดแสงถูกต้องดีมากที่สุด


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/equipment.htm

อุปกรณ์ในการถ่ายรูป 2

สายลั่นไก(Cable release)
อุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กันไปกับขาตั้งกล้อง หรือแท่นก๊อปปี้ภาพ คือสายลั่นไก ทำหน้าที่กดชัตเตอร์แทนนิ้วมือของผู้ถ่ายภาพโดยมีเกลียวขันต่อกับปุ่มกดชัตเตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้การกดชัตเตอร์เป็นไปอย่างนิ่มนวล สายลั่นไกมีอยู่หลายแบบ เช่น สายยาง สามารถถ่ายจากที่สูงหรือที่อยู่ไกลจากกล้องได้


ที่มา:http://202.183.216.170/computer/m2fri49/g17m2fri/equipment.htm